การพัฒนาจริยธรรมของนักศึกษาสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

ผู้แต่ง

  • กัลยา ยศคำลือ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • วีรานรี ติยะบุตร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • ธีรวัฒน์ วงศ์วรัญญู คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • กุลขณิษฐ์ อดิรุจโชตติสิริ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

คำสำคัญ:

การพัฒนาจริยธรรม, จริยธรรมของนักศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการพัฒนาจริยธรรมของนักศึกษา สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย 2) ศึกษาการปฏิบัติตาม หลักจริยธรรมของนักศึกษาสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย และ 3) เปรียบเทียบการปฏิบัติตามหลักจริยธรรมของนักศึกษาฯ จำแนกตามชั้นปี เป็นวิจัย เชิงปฏิบัติการ กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ปีการศึกษา 2558 ภาคเรียนที่ 2 จำนวน 277 คนกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครซี่และ มอร์แกน เครื่องมือวิจัยเป็นการสังเกตและการสัมภาษณ์และแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .935 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบเอฟ (F–test) ถ้าพบความแตกต่างจะทำการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe)

ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาจริยธรรมของนักศึกษาสาขาวิชา รัฐประศาสนศาสตร์ มี 5 โครงการคือ (1) โครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมทำบุญ ปีใหม่ (2) โครงการจิตอาสาพัฒนาลานคน (3) โครงการจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อม (4) โครงการสืบสานประเพณีสงกรานต์ และ (5) โครงการคลินิกกฎหมายสู่ชุมชน 2) นักศึกษาสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์มีการปฏิบัติตามหลักจริยธรรม ภาพรวมอยู่ ในระดับมากคือ ด้านความกตัญญู รองลงมาด้านจิตสาธารณะและด้านความซื่อสัตย์ ตามลำดับ และ 3) นักศึกษาฯ ที่เรียนชั้นปีต่างกันมีการปฏิบัติตนตามหลักจริยธรรม ภาพรวมไม่แตกต่างกัน 

References

กระทรวงศึกษาธิการ. กรมวิชาการ. (2552). แนวทางการบริหารโรงปฏิรูปการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กัลยา ยศคำลือ. (2556, เมษายน - มิถุนายน). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษา สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. ว.บริหารท้องถิ่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 7 (2), 90-105.

กัลยา ยศคำลือ. (ผู้ถ่ายภาพ). (2559). ทำบุญปีใหม่ ปี พ.ศ. 2559 [ภาพถ่าย]. เลย : สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

กัลยา ยศคำลือ. (ผู้ถ่ายภาพ). (2559). นักศึกษารดน้ำขอพรจากอาจารย์และผู้ใหญ่ในวันสงกรานต์ [ภาพถ่าย]. เลย : สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

กัลยา ยศคำลือ. (ผู้ถ่ายภาพ). (2559). นักศึกษาจัดสถานที่ ลงทะเบียนและผู้ช่วยวิทยากรกลุ่มให้คำปรึกษากฎหมาย [ภาพถ่าย]. เลย : สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย.

กัลยา ยศคำลือ. (ผู้ถ่ายภาพ). (2559). พัฒนาลานคน ทำความสะอาดและทาสีพื้นลานคน [ภาพถ่าย]. เลย : สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย.

กัลยา ยศคำลือ. (ผู้ถ่ายภาพ). (2559). พัฒนาสิ่งแวดล้อม [ภาพถ่าย]. เลย : สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

จิราพรรณ เรืองพุทธ และอวยพร เรืองตระกูล. (2550). ศึกษาการวิเคราะห์กิจกรรมส่งเสริมการมีจิตอาสาของนักเรียนมัธยมศึกษา: การวิจัยแบบผสมวิธี. ค้นเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2559. จาก www.edu.chula.ac.th/

นิภา กู้พงษ์ศักดิ์. (2551). ศึกษาการเสริมสร้างคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ผ่านโครงการจิตอาสา. กรุงเทพฯ : ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ : สุวิริยาสาสน์.

ประยูร อาษานาม. (2547). คู่มือการวิจัยการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). ขอนแก่น : ขอนแก่นการพิมพ์.

ปริญญา จันทะเลิศ, อุรสา พรหมทา, และอนุสรณ์ ถูสินแก่น. (2557). การพัฒนานักเรียนด้านจิตสาธารณะของโรงเรียนโพนสิมอนุเคราะห์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2. กาฬสินธุ์ : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา.

พระสุวรรณ์ ปูนอ่อน, อ้อมธจิต แป้นศรี, และเทียมจันทร์ พานิชย์ผลินไชย. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ในเขตภาคเหนือตอนล่าง. ค้นเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2559. จาก http://Research.kpru.ac.th/

พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์. (2551). จุดประกาย : เปิดขอบฟ้าคุณธรรมจริยธรรมมหกรรมแห่งความดี. ว.คุณธรรม, 3(15), 1-256.

มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. (2559). คู่มือการจัดหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์บัณฑิต พ.ศ. 2559. เลย : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.

มหาวิทยาลับราชภัฏเลย. สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน. (2559). ข้อมูลนักศึกษา. ค้นเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2559. จาก http://www.lru.ac.th/

สมัย สังฆะพันธ์. (2554). การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ด้านความมีระเบียบวินัย ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียนบ้านคุ้ม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายโสธรำ เขต 1. ค้นเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2559. จาก http://www.bankhoom.com/

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). การปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2550). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิต. ค้นเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2559. จาก http://www.moe.go.th/

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. (2560). การปลูกฝังและเสริมสร้างค่านิยมไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สิรินาฎ วารินสุข, ไชยรัตน์ ปราณี, และสุพัฒนา หอมบุปผา. (2557, มกราคม - มิถุนายน). ปัจจัยสภาพแวดล้อมในโรงเรียนที่ส่งผลต่อพฤติกรรมด้านจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์. ว.วิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 4(6), 1-197.

Balderson, D. W. (2004, June). The Effects of a Personal Accountability and Personal Model on Urban Elementary Student Positive Social and Off Task Behaviors. Masters Abstracts International, 42(03), 1-216.

Krejcie, R. V. & Morgan, E. W. (1970). Educational and Psychological Measurement. N.P. : n.p.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-12-29