การพัฒนาชุดฝึกทักษะวิชาการคิดและการตัดสินใจ เรื่องการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นที่เน้นการบูรณาการ สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
คำสำคัญ:
การพัฒนาชุดฝึกทักษะวิชาการคิดและการตัดสินใจ, การวิเคราะห์ข้อมูลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาชุดฝึกทักษะวิชาการคิดและการตัดสินใจ เรื่องการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นที่เน้นการบูรณาการ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักศึกษาที่สอนด้วยชุดพัฒนาฝึกทักษะวิชาการคิด และการตัดสินใจ เรื่องการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นที่เน้นการบูรณาการ และเพื่อศึกษา ความพึงพอใจในการเรียนด้วยชุดฝึกทักษะวิชาการคิดและการตัดสินใจ เรื่องการวิเคราะห์ ข้อมูลเบื้องต้นที่เน้นการบูรณาการ สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี ที่ศึกษาวิชาการคิดและการตัดสินใจ จำนวน 50 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็น แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยมี ความยากง่าย ระหว่าง 0.28-0.77 มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.21-0.88 ข้อสอบมีความเชื่อมั่น 0.78 และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียน เป็นแบบมาตราส่วน ประมาณค่า มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.87 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) ประสิทธิภาพ ของผลลัพธ์ได้จากคะแนนเฉลี่ยการทดสอบหลังเรียน (E2) และการทดสอบแบบที กรณี กลุ่มตัวอย่างมีความสัมพันธ์กัน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ชุดฝึกทักษะวิชาการคิดและการตัดสินใจ เรื่องการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้อง ต้นที่เน้นการบูรณาการที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) เท่ากับ 84.16 และประสิทธิภาพของผลลัพธ์ที่ได้จากคะแนนเฉลี่ยการทดสอบหลังเรียน (E 2 ) เท่ากับ 83.10 หรือ E 1 /E 2 เท่ากับ 84.16/83.10 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ 80/80
2. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของ นักศึกษา ที่สอนด้วยชุดฝึกทักษะวิชาการคิดและการตัดสินใจ เรื่องการวิเคราะห์ข้อมูล เบื้องต้นที่เน้นการบูรณาการมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นั่นคือ คะแนนเฉลี่ยหลังเรียน สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน
3. ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อชุดฝึกทักษะวิชาการคิดและการตัดสินใจ เรื่องการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นที่เน้นการบูรณาการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
References
กีรติ สายสิงห์. (2551). การพัฒนาชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องเลขยกกำลัง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
จักรพงษ์ ทองสิงห์. (2549). การพัฒนาชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องการบวกและการลบจำนวนเต็ม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
ชาญวิทย์ กรวยทอง. (2547). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้เทคนิคการฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาเรื่อง การคำนวณและการบวก การลบ การคูณ และการหาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
นิธิพงศ์ อนุรักษ์พงศธร. (2554). รายงานวิจัยเรื่องการพัฒนาการเรียนรู้เรื่องการวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลางและการวัดการกระจาย รายวิชาสถิติธุรกิจ (ศศ0406) สำหรับนักศึกษา สาขาวิชาการจัดการทั่วไป โดยการใช้สื่อมัลติมิเดีย. กรุงเทพฯ : สำนักบริหารงานวิทยาลัยชุมชน ส�านักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
เปรื่อง กิจรัตน์ภร. (2555). การศึกษาการเตรียมความพร้อมของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ในการเข้าร่วมประชาคมอาเซี่ยนปี พ.ศ. 2558. ค้นเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2555 จาก http://www.lib.hcu.ac.th/asean/Quick_Reference_Gu
พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547. (2547). ราชกิจจานุเบกษา. 121(ตอนพิเศษ 23 ก), 1-24.
รุ่งฤดี ศิริบุรี. (2551). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์เรื่องสถิติชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อภิรักษ์ จงวงษ์. (2549). การพัฒนากระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์ โดยใช้แบบฝึกทักษะกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. การค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อารมณ์ เข็มเพ็ชร์. (2552). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ เรื่องการบวก การลบ การคูณและการหารสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.