ความสามารถในการอ่านคำภาษาไทยของนักศึกษาปริญญาตรี สาขาวิชาภาษาและภาษาไทยประยุกต์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
คำสำคัญ:
การอ่านคำ, ความสามารถในการอ่าน, ภาษาไทยบทคัดย่อ
การศึกษาศึกษาครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการอ่านคำ ภาษาไทยได้ถูกต้องตรงตามหลักของราชบัณฑิตยสภา กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาสาขา วิชาภาษาและภาษาไทยประยุกต์ ชั้นปีที่ 1-4 ของคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์ จำนวน 120 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็นโดยการเลือก ตัวอย่างแบบสะดวกสบาย เครื่องมือในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามการอ่านคำภาษา ไทยจำนวน 50 คำที่คัดเลือกโดยวิธีจับฉลากมาจากหนังสือ “อ่านอย่างไร เขียนอย่างไร” ของราชบัณฑิตยสภา (2557) ผลการศึกษาพบว่าร้อยละของกลุ่มตัวอย่างที่อ่านคำ ภาษาไทยถูกต้องตรงตามหลักของราชบัณฑิตยสภาตามลำดับจากมากไปน้อยมีดังนี้ ร้อยละ 69.20 สามารถอ่านคำที่มี 3 พยางค์ได้ถูกต้องร้อยละ 61.67 สามารถอ่านคำที่ มี 6 พยางค์ ร้อยละ 59.50 สามารถอ่านคำที่มี 2 พยางค์ได้ถูก ร้อยละ 54.58 สามารถ อ่านคำที่มี 5 พยางค์ได้ถูกต้องและร้อยละ 47.92 สามารถอ่านคำที่มี 4 พยางค์ได้ถูกต้อง
References
นิตยา กาญจนะวรรณ. (2554). ปัญหาการใช้ภาษา. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2557). อ่านอย่างไรและเขียนอย่างไร ฉบับราชบัณฑิตยสถาน(พิมพ์ครั้งที่ 22) กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน.
โรงเรียนวัดราชโอรส. (2559). เกร็ดภาษา. สืบค้นจาก: http://kokai.awardspace.com/branch/02romro.php
อุดม วโรตม์สิกขดิตถ์ และคนอื่น. (2543). การออกเสียงคำไทยให้ถูกต้อง. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน.
Sanook. (2559). พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย. ค้นเมื่อเดือนสิงหาคม 2559. จาก : http://dictionary.sanook.com/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.