บทสำรวจว่าด้วยบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นท่ามกลางวิกฤตโควิด-19
คำสำคัญ:
การกระจายอำนาจ, บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, การจัดการโควิด-19บทคัดย่อ
งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 โดยอาศัยกรอบแนวคิด 2 แนวคิด คือ แนวคิดเรื่องการกระจายอำนาจ และแนวคิดเรื่องการบริหารราชการในภาวะวิกฤต โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณด้วนวิธีการเก็บข้อมูลแบบสอบถามจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 2,138 แห่ง ระหว่างเดือนมกราคม – กรกฎาคม 2563 ซึ่งเป็นระยะเวลาของการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกที่ 1 ผลการสำรวจพบว่า (1) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกที่ 1 ในระดับค่อนข้างมาก มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 69.30 โดยเทศบาลนครได้รับผลกระทบมากที่สุด มีค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 86.70 รองลงมาเป็นเทศบาลเมือง มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 72.30 องค์การบริหารส่วนจังหวัด มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 64.30 เทศบาลตำบล มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 63.60 และองค์การบริหารส่วนตำบล มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 59.50 ตามลำดับ (2) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร้อยละ 99.60 มีบทบาทมากในการจัดการวิกฤตโควิด-19 ระลอกที่ 1 และ (3) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบาทในการป้องกันการแพร่ระบาดในระดับชุมชน มีค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 71.27 รองลงมาเป็นบทบาทในการช่วยเหลือประชาชนและกลุ่มเปราะบางทางสังคม มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 59.30 และถัดมาเป็นบทบาทในการเตรียมพร้อมรับมือกับวิกฤตอื่น ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 53.34 ขณะที่การปรับตัวในการทำงานขององค์กรและการเตรียมฟื้นฟูท้องถิ่นยุคหลังโควิดกลับพบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังมีบทบาทไม่ค่อยมากนัก โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 39.59 และร้อยละ 37.10 ตามลำดับ
References
กิตติพัฒน์ แสนทวีสุข. (2560). บทบาทของระบบข้อมูลเพื่อการตัดสินใจและเครื่องชี้วัดการพัฒนาจังหวัด. วารสารเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ. 4(2), 76-84.
กองพัฒนาข้อมูลและตัวชี้วัด สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). รายงานภาวะสังคมไทยไตรมาสหนึ่งปี 2564. ภาวะสังคมไทย. 19(2), 1-18.
ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2558. (2563, 25 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 137 ตอนพิเศษ 69 ง.
คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 4/2563 เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบ และ พนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน. (2563, 25 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 137 ตอนพิเศษ 69 ง.
จิราภรณ์ ศรีแจ่ม. (2563). วันที่ไทยรู้จัก COVID-19. สืบค้น 30 สิงหาคม 2565. http://news.thaipbs.or.th/content/290347.
นภัทร ชัยธราโชติ. (2565). การบริหารจัดการภาวะวิกฤติจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19. วารสารมจร พุทธปัญญาปริทรรศน์. 7(4), 278-291.
ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วประเทศ. (2563, 25 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 137 ตอนพิเศษ 69 ง.
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม, มาตรา 38. (2534, 21 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 108 ตอน 156 ฉบับพิเศษ. น. 16.
วาสนา ยี่รงค์. (2563). การถ่ายโอนภารกิจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: ความก้าวหน้าและปัญหาอุปสรรคในการถ่ายโอน. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์. 18(2), 263-278.
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2563). ความเปราะบางของประชาชนกลุ่มเปราะบางภายใต้โควิด-19. สืบค้น 30 สิงหาคม 2565. https://tdri.or.th/2020/06/impact-of-covid19-on-vulnerable-groups/
สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2529). การศึกษาการเปลี่ยนแปลง: ความเป็นเมืองการเติบโตของเมืองและการย้ายถิ่น. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์, 26(3), 340-380.
สุรีย์พร พันพึ่ง. (2564). วิกฤติโควิด-19 กับความเป็นเมือง. วารสารประชากรและการพัฒนา, 42(1), 1-2.
อรทัย ก๊กผล และคณะ. (2564). รายงานสถานการณ์การกระจายอำนาจประจำปี พ.ศ. 2564: บทสำรวจว่าด้วยบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการจัดการวิกฤตโควิด-19 (รายงานวิจัย). สถาบันพระปกเกล้า.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.