ชื่อหมู่บ้านในจังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • กรรณิการ์ สุพิชญ์ สาขาวิชาภาษาไทยและการสื่อสาร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • ภาสพงศ์ ผิวพอใช้ สาขาวิชาภาษาไทยและการสื่อสาร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

ชื่อหมู่บ้าน, จังหวัดอุบลราชธานี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวการตั้งชื่อหมู่บ้านในจังหวัดอุบลราชธานี และภาพสะท้อนทางวัฒนธรรมจากชื่อหมู่บ้านโดยศึกษาจากชื่อหมู่บ้านในจังหวัดอุบลราชธานีที่มีการบันทึกอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรของทางราชการระหว่างปี พ.ศ. 2542 - ปัจจุบัน ผลการวิจัยสรุปได้ว่า แนวการตั้งชื่อหมู่บ้านในจังหวัดอุบลราชธานีมี 9 ลักษณะ ได้แก่ 1) การตั้งชื่อหมู่บ้านตามภูมิประเทศ ซึ่งพบเป็นจำนวนมากที่สุด 2) การตั้งชื่อหมู่บ้านตามชื่อพืชหรือสัตว์ พบเป็นจำนวนรองลงมา 3) การตั้งชื่อหมู่บ้านตามชื่อบุคคลสำคัญ 4) การตั้งชื่อหมู่บ้านเกี่ยวข้องกับศาสนาและตำนาน 5) การตั้งชื่อหมู่บ้านเกี่ยวข้องกับวัสดุหรือสถานที่หรือสิ่งก่อสร้าง 6) การตั้งชื่อหมู่บ้านตามการรวมกลุ่มเป็นชุมชน 7) การตั้งชื่อหมู่บ้านตามทิศทางหรือตำแหน่งของหมู่บ้าน 8) การตั้งชื่อหมู่บ้านที่มีลักษณะเฉพาะด้านพรรณนา และ 9) การตั้งชื่อหมู่บ้านตามมงคลนาม นอกจากนี้การศึกษาชื่อหมู่บ้านในจังหวัดอุบลราชธานียังพบการสะท้อนวัฒนธรรมอยู่ 4 ลักษณะ ได้แก่ 1) วัฒนธรรมการเลือกทำเลที่ตั้งหมู่บ้านซึ่งมักจะเลือกตั้งถิ่นฐานใกล้แหล่งน้ำ บริเวณพื้นที่สูง รวมถึงแหล่งที่มีต้นไม้ 2) วัฒนธรรมการประกอบอาชีพ อาทิเช่น ประมงน้ำจืดและการทำเกษตรกรรม 3) วัฒนธรรมเครือญาติ และ 4) วัฒนธรรมความเชื่อและศาสนา

References

ไพฑูรย์ ปิยะปกรณ์. (2532, กันยายน - ธันวาคม). ภูมินามของหมู่บ้านชนบทในจังหวัดชัยภูมิ. ภูมิศาสตร์. 14(3), 177-182.

น้องนุช มณีอินทร์. (2543). การปรับเปลี่ยนของชื่อหมู่บ้านในจังหวัดเชียงใหม่. [วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

ปภัสรา คำวชิรพิทักษ์. (2553, มกราคม - ธันวาคม). การศึกษาชื่อหมู่บ้านในจังหวัดชัยภูมิ. วารสารช่อพะยอม. 21, 3 - 16.

ปราณี กุลละวณิชย์. (2535). ชื่อหมู่บ้านในมณฑลกวางสีและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รุ่งอรุณ ทีฆชุณหเถียร และมะลิวัลย์ บูรณพัฒนา. (2536). ชื่อหมู่บ้านในอำเภอท่าอุเทนจังหวัดนครพนม. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.

วิบัณฑิตา ช่วยชูวงษ์. (2532). วัฒนธรรมภาษาชื่อหมู่บ้านในจังหวัดมหาสารคาม. [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ].

Thorton, T. F. (1997, Spring). Anthropological studies of native american place naming. American Indian Quarterly. 21(2), 209-228.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-10-11