รำตงกะเหรี่ยงโปว์
คำสำคัญ:
รำตง, กะเหรี่ยงโปว์บทคัดย่อ
วิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) ศึกษาประวัติความเป็นมา วิถีชีวิตประเพณี และวัฒนธรรม ของชาติพันธุ์กะเหรี่ยงโปว์บ้านกองม่องทะ 2) วิเคราะห์องค์ประกอบ และกระบวนท่ารำตง ผู้หย่องเห้บ้านกองม่องทะ จังหวัดกาญจนบุรี ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากเอกสาร ตำรา งานวิจัย และการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ผลการศึกษาพบว่า ชาวกะเหรี่ยงโปว์บ้านกองม่องทะอพยพมาจากประเทศพม่ามาทางด่านเจดีย์สามองค์เข้ามาอาศัยอยู่ในบ้านกองม่องทะมีวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย ปฏิบัติตนถูกต้องตามขนบธรรมเนียมประเพณี และความเชื่อเรื่องพิธีกรรม ประเพณีและพิธีกรรมเกี่ยวข้องกับการแสดงพื้นบ้านเรียกว่า รำตง วิเคราะห์องค์ประกอบ และกระบวนท่ารำตงผู้หย่องเห้ พบว่า การแสดงรำตงผู้หย่องเห้ ประกอบไปด้วย ช่วงที่ 1 การไหว้ครูช่วงที่ 2 และ 3 เข้าสู่การแสดง ทำนองและบทเพลงร้องเป็นภาษากะเหรี่ยงมี 15 เพลง เป็นการปฏิบัติท่ารำหมู่แสดงให้เห็นถึงความพร้อมเพรียงมีลักษณะโครงสร้างท่ารำโดยใช้สรีระในร่างกาย ได้แก่ ไหล่ ศีรษะ แขน มือ ขา และเท้า เพื่อสอดคล้องกับกระบวนท่ารำแม่บทกะเหรี่ยงโปว์ ซึ่งนำมาใช้ในการแสดงรำตงผู้หย่องเห้ปรากฏท่ารำทั้งหมด 7 ท่ารำ มีท่ารับบ่งบอกถึงการเริ่มต้นการแสดงและจบการแสดง โดยท่ารำที่ปรากฎงดงามตามลักษณะเฉพาะของชาวกะเหรี่ยงโปว์บ้านกองม่องทะ
References
เกิดศิริ นาคกร. (2563). การกดไหล่. กรุงเทพฯ: สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
เกิดศิริ นาคกร. (2563). การกระดกเท้า. กรุงเทพฯ: สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
เกิดศิริ นาคกร. (2563). การก้าวข้าง. กรุงเทพฯ: สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
เกิดศิริ นาคกร. (2563). การก้าวเท้า. กรุงเทพฯ: สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
เกิดศิริ นาคกร. (2563). การเขย่งเท้า. กรุงเทพฯ: สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
เกิดศิริ นาคกร. (2563). การจีบมือ. กรุงเทพฯ: สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
เกิดศิริ นาคกร. (2563). การตั้งวงบน. กรุงเทพฯ: สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
เกิดศิริ นาคกร. (2563). การตั้งวงบัวบาน. กรุงเทพฯ: สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
เกิดศิริ นาคกร. (2563). การเตะเท้า. กรุงเทพฯ: สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
เกิดศิริ นาคกร. (2563). การยกเท้า. กรุงเทพฯ: สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
เกิดศิริ นาคกร. (2563). การย่ำเท้า. กรุงเทพฯ: สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
เกิดศิริ นาคกร. (2563). การเอียงศีรษะ. กรุงเทพฯ: สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
เกิดศิริ นาคกร. (2563). ท่ารับลักษณะที่ 1. กรุงเทพฯ: สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
เกิดศิริ นาคกร. (2563). ท่ารับลักษณะที่ 2. กรุงเทพฯ: สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
เกิดศิริ นาคกร. (2563). ท่ารับลักษณะที่ 3. กรุงเทพฯ: สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
เกิดศิริ นาคกร. (2563). ท่ารับลักษณะที่ 4. กรุงเทพฯ: สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
เกิดศิริ นาคกร. (2563). ท่ารำแม่บทกะเหรี่ยงโปว์ที่ปรากฏในการแสดงรำตงผู้หย่องเห้. กรุงเทพฯ: สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
เกิดศิริ นาคกร. (2563). ฝึกซ้อมการแสดงรำตงผู้หย่องเห้ก่อนบันทึกวีดิโอและบันทึกภาพท่ารำ. กรุงเทพฯ: สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
ณัฐกานต์ บุญศิริ. (2548). การแสดงพื้นบ้านของชาวกะเหรี่ยง:กรณีศึกษารำตงบ้านใหม่พัฒนาอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี.[วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].
ไพบูลย์ ช่วยบำรุงวงค์. กำนันบ้านกองม่องทะ. (สัมภาษณ์, 24 เมษายน 2562).
มณฑล คงแถวทอง. (2538). ชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงในจังหวัดกาญจนบุรี. กาญจนบุรี: ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏกาญจนบุรี.
ยศ สันตสมบัติ. (2537). มนุษย์กับวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วิชุดา เจียมเจิม. (2554) การศึกษาดนตรีกะเหรี่ยงบ้านป่าละอู ตำบลห้วยสัตว์ใหม่ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. [ปริญญานิพนธ์ศิลปกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ].
สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2547). หลักการแสดงนาฏยศิลป์ปริทรรศน์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุริยา รัตนกุล และสมทรง บุรุษพัฒน์. (2538). สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงสะกอ. นครปฐม: สำนักงานวิจัยภาษาและวัฒนธรรม.
สมชาย ศรีสุข. (2556). ประวัติ ชาติพันธุ์ ชนเผ่า กะเหรี่ยง จังหวัดกาญจนบุรี. ม.ท.ป.: ม.ป.พ.
สังคีต จันทนะโพธิ. (2542). คนภูเขาชาวกะเหรี่ยง. นนทบุรี: ธารบัวแก้ว.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.