บทบาทวัดในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ : กรณีศึกษา วัดในตำบลหัวเขา อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • พระกิตติพงษ์ มะกรูดอินทร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

บทคัดย่อ

             บทความวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์การศึกษาวิจัยดังนี้คือ 1) เพื่อศึกษาบทบาทวัดในตำบลหัวเขา อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี กับการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ 2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของวัดในตำบลหัวเขา อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี และ 3) เพื่อศึกษาเสนอแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของวัดในตำบลหัวเขา อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ
มีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างจากภาคสนามร่วมกับข้อมูลเอกสารที่ศึกษา
ใช้การวิเคราะห์แบบอุปนัย และนำเสนอข้อมูลด้วยวิธีการเขียนพรรณนา โดยการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 16 รูป/คน เป็นตัวแทนวัด 2 วัด และผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกับกิจกรรมของทางวัด

ผลการศึกษาพบว่า 1. บทบาทวัดในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ กรณีศึกษา วัดในตำบล
หัวเขา อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี มีบทบาทอยู่ด้วยกัน 5 บทบาท มี 1) บทบาท
ผู้เผยแผ่ศาสนธรรม ในการดำเนินงานปฏิบัติศาสนกิจ ประกอบกิจกรรมส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ 2) บทบาทการสร้างเสริมสุขภาพอนามัย มีการดำเนินงานรณรงค์ในมีการออกกำลังกายในผู้สูงอายุ ใช้หอกระจ่ายข่าววัดในการให้ความรู้เกี่ยวการดูแลสุขภาพ และการดูแลผู้สูงอายุ
3) บทบาทการสร้างเสริมอาชีพ มีการสนับสนุนในการจัดอบรมการสร้างเสริมอาชีพในผู้สูงอายุ
และการสนับสนุนการสร้างผลิตภัณฑ์ชุมชนโดยใช้ภูมิปัญญาจากผู้สูงอายุ 4) บทบาทการศึกษาสงเคราะห์
มีการมอบทุนให้กับโรงเรียน และให้หยิบยืมใช้สถานที่ในการศึกษาเรียนรู้การสร้างอาชีพจากภูมิปัญญาผู้สูงอายุ และ 5) บทบาทสาธารณสงเคราะห์ มีการดำเนินงานบูรณะปฏิสังขรณ์อารามวัด
โดยให้ความสำคัญในการรองรับผู้สูงอายุ คนพิการ ในการเข้าร่วมประกอบศาสนกิจในวันสำคัญทางศาสนา และเทศกาลสำคัญ ให้การสงเคราะห์ช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ป่วยติดเตียง ติดบ้าน และผู้สูงอายุที่มีฐานะทางเศรษฐกิจในครอบครัวต่ำ 2. ด้านปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน พบว่า มีปัญหาด้านการประสานงานระหว่างวัดกับชุมชน ในการร่วมดำเนินกิจกรรม เพราะเหตุด้วยภาระงานของคนในชุมชน รวมถึงผู้สูงอายุ จึงไม่ได้รับความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมของทางวัดได้อย่างเต็มที่
ขาดการประสานงานจากหน่วยงานภายนอก ไม่ได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานรัฐหรือส่วนอื่น
ที่เกี่ยวข้อง ในการกระจ่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนจากความรู้ภูมิปัญญาจากผู้สูงอายุ ในการสร้างเสริมอาชีพที่วัดมีการดำเนินร่วมกับ โรงเรียน และชุมชน 3. เสนอแนวทางการดำเนินงานการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ควรมีการติดต่อประสานงานขอความร่วมมือจากหน่วยงานรัฐ หรือส่วนอื่นที่เกี่ยวข้อง ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการสร้างเสริมอาชีพ โดยใช้ภูมิปัญญาจากผู้สูงอายุ หรือภูมิปัญญาท้องถิ่น ผลักดันให้ผลิตภัณฑ์ชุมชนสามารถกระจายออกไปสู่วงกว้าง เพื่อสร้างรายได้ให้คนในชุมชน และผู้สูงอายุ ที่เป็นการให้ผู้สูงอายุได้ตระหนักเห็นคุณค่าในตนเอง

 

References

คณะกรรมการปฏิรูประบบรองรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย. (2558). สรุปข้อเสนอการปฏิรูประบบเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ. สืบค้น 28 กันยายน 2566

จาก https://dl.parliament.go.th/backoffice/viewer2300/web/previewer.php

โครงการจัดทำโปรแกรมสำเร็จรูปในการสำรวจสุขภาพจิตในพื้นที่ . (2545). เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย. สืบค้น 28 กันยายน 2566

จาก https://dmh.go.th/test/download/files/whoqol.pdf

ดํารงค์ศักดิ มีสุนทร. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างวัดกับชุมชน กรณีศึกษา วัดนามสมมุติกับชุมชนนามสมมติจังหวัดกาญจนบุรี (ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการพัฒนาสังคม). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ประสิทธิ์ สระทอง. (2560). บทบาทของวัดที่มีต่อสังคมในการก้าวเดินในศตวรรษที่ 21. วารสารศิลปกร สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(1), 936-951.

พระครูสังฆรักษ์ทรงพรรณ ชยทตฺโตและคณะ. (2560). บทบาทวัดในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ กรณีศึกษาวัดหลวงพ่อสดธรรมกายราม อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2), 735-751.

พระธรรมปิฎก ป.อ.ประยุตโต. (2541). กฐินสู่ธรรม (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพฯ: บริษัท สหธรรมิก จำกัด.

มนัญา ภู่แก้ว. (2546). รัฐสภา. สืบค้น 28 กันยายน 2566 จากhttps://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/elaw_parcy/ewt_dl_link.php?nid=1536

มูลนิธิวัดหลวงพ่อไร่ขิง. (2561). คู่มือการปฏิบัติงาน หน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล (พิมพ์ครั้งที่1). ราชบุรี: เมืองราชการพิมพ์.

อุบลวรรณ ภวกานันท์ และคณะ. (2562). บทบาทของ“วัด ” ในการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุ ดำเนินชีวิตแบบอิสระและสามารถที่จะให้คุณค่ากับครอบครัวและสังคม. วารสารศิลปกร สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 12(2) 1223-1237.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-29