ผลการพัฒนาคู่มือการจัดประสบการณ์ด้านทักษะชีวิต สำหรับครูปฐมวัย โรงเรียนเทศบาล 3 (โรงเรียนอินทรัมพรรย์บุญประคองพิทยาคม) จังหวัดกำแพงเพชร

Main Article Content

อัฐณีญา สัจจะพัฒนกุล
อรทัย บุญเที่ยง

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการจำเป็นในการพัฒนาคู่มือ รวมทั้งการทดลองใช้และประเมินความเหมาะสมของคู่มือการจัดประสบการณ์ด้านทักษะชีวิตสำหรับครูปฐมวัย โรงเรียนเทศบาล 3 (โรงเรียนอินทรัมพรรย์บุญประคองพิทยาคม) จังหวัดกำแพงเพชร วิธีการดำเนินการวิจัยมี 6 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาความต้องการจำเป็น โดยการใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกและกระบวนการสนทนากลุ่ม(Focus Group) จากครูปฐมวัยในการสร้างเครื่องมือ จำนวน 3 คน ขั้นตอนที่ 2 พัฒนาคู่มือการจัดประสบการณ์ด้านทักษะชีวิตสำหรับครูปฐมวัย โดยศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและเอกสารที่เกี่ยวข้อง ร่างคู่มือ และตรวจสอบคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน แล้วได้ปรับปรุงคู่มือทดลองใช้ ขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้คู่มือฉบับทดลองกับครูปฐมวัย จำนวน 20 คน ขั้นตอนที่ 4 ปรับปรุงคู่มือฉบับทดลองใช้  ได้คู่มือฉบับนำไปใช้ ขั้นตอนที่ 5 การตรวจสอบยืนยันซ้ำคุณภาพคู่มือฉบับนำไปใช้กับคุณครูปฐมวัยต่างกลุ่ม จำนวน 20 คน โดยจัดอบรมครูจำนวน 3 ครั้ง       1) โรงเรียนอนุบาลราชภัฏกำแพงเพชร  2) โรงเรียนสาธิตวังยาง 3) โรงเรียนอนุบาลเมืองกำแพงเพชร (บ้านนครชุม) หลังจากนั้นตรวจสอบซ้ำอีกครั้ง ขั้นตอนที่ 6 ปรับปรุงคู่มือครั้งสุดท้าย ได้คู่มือการจัดประสบการณ์ด้านทักษะชีวิตสำหรับครูปฐมวัย ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัญหาการจัดประสบการณ์ด้านทักษะชีวิต สามารถแบ่งออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการขาดองค์ความรู้ด้านทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัย ครูปฐมวัยไม่สามารถจำแนกทักษะชีวิตในแต่ละด้านได้อีกทั้งยังไม่สามารถนิยามองค์ประกอบสำคัญของทักษะชีวิตแต่ละข้อได้อย่างชัดเจนและครอบคลุมทำให้การตีความของครูปฐมวัยผิดเพี้ยนไป ส่งผลให้รูปแบบของการจัดประสบการณ์ด้านทักษะชีวิตไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ด้านการสร้างเครื่องมือที่ทันสมัยสอดคล้องกับพัฒนาการเด็กปฐมวัย ครูปฐมวัยขาดความคิดสร้างสรรค์ในการบูรณาการทักษะชีวิตให้เข้ากับการจัดประสบการณ์ต่างๆ ที่จัดขึ้นให้กับเด็กในชั้นเรียน มักจะใช้รูปแบบเดิม และด้านการขาดพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการจัดประสบการณ์ด้านทักษะชีวิตสำหรับเด็กปฐมวัย ทำให้ไม่ว่าจะเป็นครู ผู้เรียน หรือผู้บริหารขาดการปฏิสัมพันธ์ อีกทั้งขาดโอกาสในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์ต่างๆ ทำให้การทำหน้าที่ครูเพื่อศิษย์ยังไม่ได้เป็นการทำงานเป็นกลุ่มหรือเป็นทีม 2. ครูปฐมวัยประเมินตนเองว่ามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ด้านทักษะชีวิต หลังรับการอบรมใช้คู่มือการจัดประสบการณ์ด้านทักชีวิต สำหรับครูปฐมวัยฉบับทดลองใช้สูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.01 ครูปฐมวัยมีเจตคติที่ดีต่อการจัดประสบการณ์ด้านทักษะชีวิต ครูปฐมวัยประเมินคุณภาพคู่มือฯ อยู่ในระดับดีมาก ภายหลังการอบรมใช้คู่มือฯ ครูปฐมวัยประเมินคุณภาพคู่มือฯ อยู่ในระดับดีมาก ครูปฐมวัยมีความตระหนักในการจัดประสบการณ์ด้านทักษะชีวิตอยู่ในระดับมาก 3. ผลการประเมินซ้ำคุณภาพคู่มือการจัดประสบการณ์ด้านทักษะชีวิตฉบับนำไปใช้ ซึ่งใช้กับครูปฐมวัยต่างกลุ่ม มีผลดังนี้ (1) ครูปฐมวัยที่ได้รับการอบรมใช้คู่มือฯ อยู่ในระดับดีมาก 2 ครั้ง และอีก 1 ครั้ง อยู่ในระดับดีมากที่สุด (2) ครูปฐมวัยที่ศึกษาคู่มือด้วยตนเอง ประเมินคุณภาพคู่มือฯ ว่ามีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก

Article Details

บท
Research article

References

กรณิศ ทองสะอาด. (2559). ทักษะชีวิตสำหรับเด็กปฐมวัย. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

กรมวิชาการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

จาฏุพัจน์ มงคลวัจน์. (2557). บทบาทของผู้ปกครองในการส่งเสริมทักษะชีวิตของเด็กวัยอนุบาล. http://www.edu.chula.ac.th/ojed/doc/V91/v91d0043.pdf.

จีระพันธุ์ พูลพัฒน์. (2556). การพัฒนาทักษะชีวิตสำหรับเด็กปฐมวัย. รายงานการวิจัยนำเสนอในการประชุมวิชาการครบรอบ 56 ปี แห่งการสถาปนา คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2556. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พัฒนา ชัชพงศ์. (2555). การเล่นเพื่อพัฒนา. http://www.kukai.ac.th/Thai/knowledge_ Play_to_develop.php.

พงษ์พันธ์ พงษ์โสภา. (2542). พฤติกรรมกลุ่ม. สำนักพิมพ์พัฒนศึกษา.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21. โรงพิมพ์บริษัทตถาตาพับลิเคชั่นจำกัด.

Bandura, A. (1969). Principles of behavior modification. New York: Holt, Rinehart and Winston.

Malti, T., & Latzko, B. (2010). Children's moral emotions and moral cognition:Towards an integrative perspective.New Directions for Child and Adolescent Development, 2010(129), 1-10. https://doi.org/10.1002/cd.272.

Meggitt, C., & Walker, J. (2004). An introduction to child care and education. Hodder & Stoughton, London.

National Childcare Accreditation Council. (2009). Supporting children’s development: Life skills. http://ncac.acecqa.gov.au/educator resources/pcfarticles/Life_skills_Dec09.pdf.