การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้ชุดกิจกรรมปฏิบัติการทดลอง เรื่อง การแยกสาร

Main Article Content

ปราณี เลิศแก้ว
ธิดารัตน์ พรหมมา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 4 ข้อ คือ 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมปฏิบัติการทดลองกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การแยกสาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่ใช้ชุดกิจกรรมปฏิบัติการทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดกำแพงเพชร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 138 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดกิจกรรมปฏิบัติการทดลอง เรื่อง การแยกสาร แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า


  1. ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมปฏิบัติการทดลอง เรื่อง การแยกสาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เท่ากับ 79.75/77.75 เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 70/70 ที่ตั้งไว้

  2. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมปฏิบัติการทดลอง เรื่อง การแยกสาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมปฏิบัติการทดลอง


  3. เรื่อง การแยกสาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05




  4. ความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมปฏิบัติการทดลอง เรื่อง การแยกสาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.45, S.D. = 0.69)



Article Details

บท
Research article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กิตติชัย ปัญญารมย์. (2549). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4 MAT เรื่อง ป่าชุมชนเพื่อส่งเสริมเจตคติต่อการอนุรักษ์ป่าชุมชนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ ค.ม. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ชนินันท์ พฤกษ์ประมูล. (2557). การประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์. สุทธิปริทัศน์. 28(86), 352-364.

พิมพ์ขวัญ สังข์ทอง และปิยาภรณ์ พุ่มแก้ว. (2563). การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้ชุดกิจกรรมปฏิบัติการทดลองเรื่อง สมบัติของธาตุและสารประกอบ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. 14(2), 12-28.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2544). การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ: แนวคิด วิธีและเทคนิคการสอน. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ.

ทิศนา แขมมณี. (2543). ชุดกิจกรรมการเรียนการสอนและการฝึกทักษะกระบวนการกลุ่มชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาประถมศึกษา คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

ประเสริฐ สำเภารอด. (2552). ชุดการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. สารนิพนธ์การศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). คู่มือการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

Gunawan, Ahmad Harjono, Hermansyah and Lovy Herayanti. (2019). Guided Inquiry Model Through Virtual Laboratory to Enhance STtudents’ Science Process Skills on Heat Concept. Cakrawala Pendidikan. 38(2). 259-268.

Irwanto, Anip Dwi S., Eli R., and Anti K.P. (2019). Using Inquiry-Based Laboratory Instruction to Improve Critical Thinking and Scientific Process Skills among Preservice Elementary Teacher. Eurasian Journal of Educational Research. 80. 151-170.

Koksal Ela Ayse & Berberoglu Giray. (2012). The Effect of Guided-Inquiry Instruction on 6th Grade Turkish Students' Achievement, Science Process Skills, and Attitudes Toward Science. International Journal of Science Education. 36(1). 66-78.

Wanpen, W., & and Pornchai, P. (2016). A Comparison to the learning Achievement between Lecture and Learning Recitation Methods in a General Chemistry Course of the Students, Engineering Faculty, Siam University. APHEIT Conference 2016, 59. [In Thai]