ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบจิ๊กซอว์ (Jigsaw) ร่วมกับการใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ในบทเรียนเรื่องความสัมพันธ์และฟังก์ชัน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

อนุพงศ์ สุขเกษม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน โดยการเปรียบเทียบก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้และเปรียบเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 โดยการใช้การจัดการเรียนรู้แบบจิ๊กซอว์ร่วมกับการใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ และแบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติพื้นฐานได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าเฉลี่ยด้วยสถิติทีแบบไม่อิสระ การทดสอบเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้วยสถิติทดสอบของวิลค็อกซัน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำด้วยการทดสอบไฟรด์แมน และการทดสอบเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยกับเกณฑ์ด้วยการทดสอบที


ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน หลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
Research article

References

ชมนาด เชื้อสุวรรณทวี. (2561). การเรียนการสอนคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชุติกาญจน์ เปียงใจ. (2562). การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์เพื่อส่งเสิรมทักษะการทำงานกลุ่ม ในสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. (คณิตศาสตร์ศึกษา). เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.เบญจพร รอดอาวุธ. (ม.ป.ป.). เทคนิคการสอนแบบเติมเต็ม (Jigsaw). วารสารการจัดการความรู้. ฉบับพิเศษ. 21-25.

พระพันธวัฒน์ ธมฺมวฑฺฒโน. (2565). การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem,-based Learning). วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์ 7(1). 967-976.

วีรพล แสงปัญญา. (2562). จิตวิทยาการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วีระสิทธิ์ มาตอำพร. (2563). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับแนวคิดการศึกษาชั้นเรียน (Lesson study) เรื่องการประยุกต์ร้อยละ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ วท.ม. (คณิตศาสตร์ศึกษา). มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ศศิธร แม้นสงวน. (2560). โครงงานและกิจกรรมคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน. กรุงเทพฯ : กลุ่มส่งเสริมนวัตกรรมการเรียนรู้ของครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

อรจิรา พลราชม. (2563). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง สมการและการแก้สมการ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (วิจัยและประเมินผลการศึกษา). มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

อัมพร ม้าคนอง. (2559). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์: การพัฒนาเพื่อพัฒนาการ. กรุงเทพฯ : ศูนย์ตำราและเอกสารทางวิชาการ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Dhull, P. and Verma, G. (2019). Jigsaw teaching technique for teaching science. International journal of research and analytical reviews. 6(2). 809-815.

Ernest, P. (2015). The Social Outcomes of Learning Mathematics: Standard, Unintended or Visionary. International Journal of Education in Mathematics, Science and Technology. 3(3). 187-192.

Graaff, E, D. and Kolmos, A. (2003). Characteristics of Problem-Based Learning. Int. J. Engng Ed. 19(5). 657-662.

Karthikayan, C. (2021). Problem Based Learning. From https://www.researchgate.net/publication/355631018_Problem_Based_Learning [5 February 2024].

Khan, L, A. (2015). What is Mathematics – an Overview. International Journal of Mathematics and Computation Science. 1(3). 98-101.

Polya, G. (1985). How to solve it. NJ: Princeton University Press.