ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคะแนนพัฒนาการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือ กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสุรธรรมพิทักษ์ ปีการศึกษา 2567 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนทั้งสิ้น 39 คน เป็นกลุ่มทดลอง ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) ชุดกิจกรรมแนะแนว โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อพัฒนาการคิดแก้ปัญหา 7 กิจกรรม 2) เครื่องมือแบบวัดการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test ผลการวิจัย พบว่า หลังจากใช้ชุดกิจกรรมแนะแนว โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือ นักเรียนมีคะแนนการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สูงกว่าก่อนการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
CC Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0
References
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.
จตุรพร ลิ้มมั่นจริง. (2554). วิธีการสอนแนะแนว (METHODS OF GUIDANCE TEACHING). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
จริยาภรณ์ สวัสดิ์พูน. (2562). ผลการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคโคออปโคออปโดยใช้เครื่องมือการจัดการงานที่มีต่อความมุ่งมั่นในการทำงานสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. ปริญญานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จิตรลดา บูรณะไชย และปวีณา อ่อนใจเอื้อ. (2564, กันยายน-ธันวาคม). การศึกษาผลของกิจกรรมแนะแนว โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อพัฒนาการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนจันทร์หุ่นบำเพ็ญ. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 15 (3), 1-12.
ญาณี เพชรแอน. (2557). การศึกษากระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เรื่อง อาหารกับสุขภาพ รายวิชาสุขศึกษาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต. สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เบญจมาภรณ์ จันทร และกิตติ รัตนราษี. (2566, มกราคม-มิถุนายน). การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ด้วยการเล่าเรื่องดิจิทัล. วารสารนิเทศศาสตร์และนวัตกรรม นิด้า, 10 (1), 1-18.
ประจักษ์ ปฏิทัศน์. (2562). การคิดเชิงระบบและความคิดสร้างสรรค์ (SYSTEMATIC AND CREATIVE THINKING). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระมหาชนินทร์ ลิขสิทธิ์พันธุ์. (2566, มกราคม-มิถุนายน). การพัฒนาระบบการสอนตามแนวคิดการ เรียนแบบร่วมมือเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนพุทธศตวรรษที่ 21 ของกลุ่มสาระสังคมศึกษาและวัฒนธรรม. วารสารสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม, 4 (1), 73-82.
พาสนา จุลรัตน์. (2563). จิตวิทยาการรู้คิด (COGNITIVE PSYCHOLOGY). จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย: กรุงเทพฯ.
ภัทรวดี มีแก้ว. (2562, กรกฎาคม-ธันวาคม). ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดทฤษฎีของทอแรนซ์ที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ในอาชีพอิสระของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านกาเกาะระโยง จังหวัดสุรินทร์. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ, 12(2), 155-163.
ภารดี กำภู ณ อยุธยา. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กที่มีความสามารถพิเศษ ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6. ปริญญานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต.สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาศักยภาพมนุษย์, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เรวดี ศรีสุข. (2562, มกราคม-มิถุนายน). การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Co-operative learning) ในการออกแบบการจัดการเรียนการสอน. วารสารวิทยาพยาบาล บรมราชชนนี สุพรรณบุรี, 2 (1), 5-16.
สุรจักษ์ พิริยะเชิดชูชัย และลาวัณย์ ดุลยชาติ. (2566, มกราคม-มิถุนายน). การส่งเสริมทักษะศตวรรษที่ 21 (4Cs) ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน. วารสารวิชการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ, 9(1), 113-128.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ และสมาคมแนะแนวแห่งประเทศไทย. (2559). บริการแนะแนวและเครื่องมือทางจิตวิทยา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.
___________. (2559). หลักการบริการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.
อรณิชชา ทศตา และกชพร ใจอดทน. ( 2563, กรกฎาคม-ธันวาคม). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์ ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีวิทยาลัยนครราชสีมา. วารสารวิชาการสมาคม สถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.),26 (2). 65-78.
Johnson, D.W. ; & Johnson, R.T. (1994). Learning Together and Alone: Cooperative and Individualistic Learning. 4th ed. New Jersey: Prentice Hall.