การพัฒนาบทเรียน e-learning รายวิชานวัตกรรม และเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา คณะครุศาสตร์

Main Article Content

ภคมน ตะอูบ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียน e-learning รายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยบทเรียน e-learning และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อบทเรียนหรือการเรียนด้วยบทเรียน e-learning เครื่องมือการวิจัยประกอบ ด้วยระบบ KPRU LMS e-learning วิธีการดำเนินวิจัยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi experimental research) แบบ One group Pretest-Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบทดสอบระหว่างเรียน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์และแบบสอบถามความพึงพอใจ กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาดนตรีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ในภาคเรียนที่ 1 ปี
การศึกษา 2559 จำนวน 42 คน วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาค่าประสิทธิภาพบทเรียนเปรียบเทียบความแตกต่างด้วย Paired t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) บทเรียน e-learning มีประสิทธิภาพ 80.80/85.90 ตามเกณฑ์ ที่ตั้งไว้คือ 80/80 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยคะแนนการทดสอบเฉลี่ยก่อนเรียนและคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน พบว่า ผู้เรียนมีคะแนนสอบเฉลี่ยหลังเรียนแตกต่างจากคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความพึงพอใจของนักศึกษาที่ใช้บทเรียนที่สร้างขึ้นมีความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 3.77 S.D.=0.82)

Article Details

บท
Research article

References

กิดานันท์ มลิทอง. (2548). ไอซีทีเพื่อการศึกษา.กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัดอรุณการพิมพ์.

เก้า จันทรเกษม และคณะ. (2551). การพัฒนาบทเรียนแบบ E – learning วิชาหลักการและเทคนิคการพยาบาลกรณีศึกษา : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท.[ออนไลน์].เข้าได้จาก http://61.7.221.148/manage/ResearchDetail.php?Research_code=147.

จินตวีร์ มั่นสกุล. (2551). รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบอีเลิร์นนิงในระดับอุดมศึกษา. วารสารครุศาสตร์ปีที่ 37 ฉบับที่ 3.

จินตวีร์ คล้ายสังข์. (2553). โครงการวิจัยรูปแบบเว็บไซต์และรูปแบบบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ที่เหมาะสมสำหรับการเรียนการสอนแบบอีเลิร์นนิงในระดับอุดมศึกษา. สำนักคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

จินตวีร์ คล้ายสังข์ และประกอบ กรณีกิจ. (2552). Pedagogy-based Hybrid Learning: จากแนวคิดสู่ปฏิบัติ.วารสารครุศาสตร์ปีที่ 38 ฉบับที่ 1 (กรกฎาคม 2552). หน้า 93-108.

ถนอมพร (ตันพิพัฒน์) เลาหจรัสแสง. (2545). Design e-learning : หลักการออกแบบและการสร้างเว็บเพื่อการเรียนการสอน. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ประยูร ไชยบุตร. (2547). การสร้างนวัตกรรม e-learning เรื่องระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์. [ออนไลน์].เข้าได้จาก http://dcms.thailis.or.th/tdc.

ภัทร์นฤน เจริญลาภ. (2552). การพัฒนาบทเรียน e-learning ชุดวิชาการพัฒนาศักยภาพระบบบริการพยาบาล ระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.[ออนไลน์]. เข้าได้จากhttp://dcms.thailis.or.th/tdc.

มนต์ชัย เทียนทอง. (2547). เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา (ECT) ปีที่ 1, ฉบับที่ 1 (พ.ค.- ส.ค.2547) หน้า 3-11.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ คณะรัฐมนตรีและราชกิจจาอุเบกขา.