การจำแนกประเภทนิทานพื้นบ้านจากการขับสายแปงของชาติพันธุ์ไทดำ ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

Main Article Content

นันทิพัฒน์ เพ็งแดง
นันทิพัฒน์ เพ็งแดง
อธิวัตร พวงแต้ม
สมรักษ์ คงเจริญ
สาวสุดารัตน์ สายสุจริต
สาวสุภาพร กาญจนะ,
บุญเสริม บุษยา
สาวณิชกานต์ ใจเพียร
สาวศศิธร สุมาลย์ทอง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) รวบรวมนิทานพื้นบ้านจากการขับสายแปงของชาติพันธุ์ไทดำตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร 2) จำแนกประเภทของนิทานพื้นบ้านจากการขับสายแปงของชาติพันธุ์ไทดำ ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร ผู้ให้ข้อมูลเป็นการประยุกต์ใช้เกณฑ์การคัดเลือก ผู้ให้ข้อมูลของ มนู สิงห์เรือง (2550 : 48) ดังนี้ 1. มีอายุตั้งแต่ 50 ปี ขึ้นไปทั้งเพศชายและเพศหญิง มีชาติพันธุ์เป็นชาวไทดำ มีอวัยวะที่ใช้ในการออกเสียงครบถ้วน มีความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมของตนเป็นอย่างดีสามารถเป็นแหล่งข้อมูลได้ มีความเชี่ยวชาญด้านการขับสายแปง เป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร เป็นเวลา 30 ปี จำนวน 5 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมีโครงสร้างหัวข้อที่ใช้ในการสัมภาษณ์ ระยะเวลาที่อยู่อาศัยอยู่ในตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร ความรู้เกี่ยวกับประวัติชาติพันธุ์ไทดำตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร นิทานพื้นบ้านของ ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร ที่ท่านรู้จัก ผลการวิจัยพบว่า นิทานพื้นบ้านจากการขับสายแปงของชาติพันธุ์ไทดำ ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร มีนิทานทั้งหมดจำนวน 25 เรื่อง เมื่อจำแนกประเภทของนิทาน พบว่านิทานมุขตลกมีจำนวนมากที่สุด คือ จำนวน 9 เรื่องจากนิทาน ที่พบรองลงมา คือ นิทานอธิบายเหตุ มีจำนวน 6 เรื่อง นิทานเรื่องสัตว์มีจำนวน 4 เรื่อง นิทานปรัมปรา มีจำนวน 3 เรื่อง และนิทานชีวิตมีจำนวน 2 เรื่อง

Article Details

บท
Research article

References

กิ่งแก้ว อัตถากร. (2519). คติชนวิทยา. เอกสารนิเทศการศึกษา ฉบับที่ 184. กรุงเทพมหานคร : หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมฝึกหัดครู.

กุหลาบ มัลลิกะมาส. (2518). คติชาวบ้าน. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ขวัญชนก นัยจรัญ. (2557). วิเคราะห์ภาพสะท้อนค่านิยมสังคมของไทยจากนิทานพื้นบ้าน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. ปีที่ 33 ฉบับที่ 6.

ทวีโรจน์ กล่ำกล่อมจิตต์. (2549). ขุนนางโซ่ง. ฉบับที่ 2. เพชรบุรี : เพชรภูมิการพิมพ์.

ประคอง นิมมานเหมินท์. (2551). นิทานพื้นบ้านศึกษา. ฉบับที่ 3. กรุงเทพมหานคร : โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรีชา นวมนาม. (2556). ขับสายแปงลาวโซ่ง : กรณีศึกษานางเฉลา สระทองฮ่วม หมู่บ้านหนองเทียม ตำบลสระพัฒนา อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม. ปริญญานิพนธ์ ศป.ม, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พระสมเกียรติ ติดชัย. (2550). ความเชื่อและค่านิยมจากนิทานพื้นบ้านของ อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม, มหาวิทยาลัยนเรศวร.

มนู สิงห์เรือง. (2550). ความเปลี่ยนแปลงประเพณีไทยทรงดำ:กรณีศึกษาประเพณีเสนเรือนของ ชาวไทยทรงดำบ้านหนองเต่าดำ หมู่ที่ 4 ตำบลวังอิทก อำเภอบางระกำ จังหวัด พิษณุโลก. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม, มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ.2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระ ชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. กรุงเทพมหานคร : ราชบัณฑิตยสถาน.

เรไร ไพรวรรณ์. (2551). วรรณกรรมท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

วิมล ดำศรี. (2554). นิทานพื้นบ้าน:มรดกวัฒนธรรมท้องถิ่นนครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช : มหาวิทยาราชภัฏนครศรีธรรมราช.

วินัย ชุมแสงธรรม. (2555). นิทานพื้นบ้านไทย. กรุงเทพมหานคร : พิมพ์อักษร.

วิเชียร ณ นคร. (2532). การศึกษานิทานพื้นบ้านในจังหวัดนครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช : วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช.

อัศน์เดช จารุโสภณ. (2551). เพลงขับสายแปงของลาวโซ่ง บ้านดอนมะนาว อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี. ปริญญานิพนธ์ ศศ.ม. (วัฒนธรรมศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิยาลัยมหิดล.

เอื้อมพร จรนามล. (2556). โลกทัศน์ที่ปรากฏในนิทานพื้นบ้านไทลื้อ อำเภอเชียงคำ จังหวัด พะเยา World View in Folktales of Tai Lue People in Chiang Kham District, Phayao Province .(บทความวิจัย). คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา.