การพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการฝึกอบรม เรื่อง การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สำหรับครูโรงเรียนอ่างศิลาพิทยาคม

Main Article Content

ธัณย์สิตา ศรีเจริญวิโรฒ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการฝึกอบรม เรื่อง การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สำหรับครูโรงเรียนอ่างศิลาพิทยาคม ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนการอบรมและหลังการอบรม จากการอบรมบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการฝึกอบรม 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของครูที่มีต่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นครูโรงเรียนอ่างศิลาพิทยาคม จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการฝึกอบรม แบบทดสอบ แบบประเมินความพึงพอใจ ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) การทดสอบหาประสิทธิภาพ 80.25/84.63 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ 2) ผลสัมฤทธิ์หลังอบรมสูงกว่าก่อนอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความพึงพอใจของครูที่มีต่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการฝึกอบรม มีความพึงพอใจในระดับดีมาก

Article Details

How to Cite
ธัณย์สิตา ศรีเจริญวิโรฒ. (2022). การพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการฝึกอบรม เรื่อง การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สำหรับครูโรงเรียนอ่างศิลาพิทยาคม. วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, 2(3), 35–43. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/EJFE/article/view/821
บท
Research article

References

ชาญ สวัสดิ์สาลี. (2550). คู่มือนักฝึกอบรมมืออาชีพ. การจัดดำเนินการฝึกอบรมอย่างมีประสิทธิผลกรุงเทพฯ สวัสดิการสำนักงาน ก.พ.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากร ศึกษาศาสตร์วิจัย, 5 (1) (มกราคม – มิถุนายน 2556), 7-20.

ชูชัย สมิทธิไกร. (2554). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พงศ์ประเสริฐ หกสุวรรณ. (2552). เทคนิคการฝึกอบรม. ชลบุรี. คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา.

เพ็ชรี รูปะวิเชตร์. (2554). การเรียนรู้ลักษณะการจัดการ. การจัดการข้ามวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ :ดวงกมลพับลิชชิ่ง.

อมรรัตน์ ชัยเสนหาญ. (2555). ได้ศึกษาวิจัย เรื่อง การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบน เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง การเขียน Mind Mapping สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. ครุศาสตร์อุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.