การพัฒนารูปแบบการเตรียมความพร้อมของสถาบันอุดมศึกษา ในเขตจังหวัดเลยเพื่อรองรับเสรีประชาคมอาเซียน

Main Article Content

แพ็ต รมยะ
แพ็ต รมยะ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการณ์ปัจจุบันในการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับประชาคมอาเซียนของสถาบันอุดมศึกษาในเขตจังหวัดเลย และเพื่อนำเสนอรูปแบบการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการก้าวสู่เสรีประชาคมอาเซียน กลุ่มตัวอย่าง เป็นบุคลากรในสถาบันการศึกษา 5 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์เลย วิทยาลัยอาชีวศึกษาเลย และวิทยาลัยเทคนิคเลย จำนวน 322 คน สำหรับเก็บข้อมูลในเชิงปริมาณ และตัวแทนบุคลากร จำนวน 40 คน สำหรับเก็บข้อมูลในเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามการเตรียมความพร้อมของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อรองรับเสรีประชาคมอาเซียน การสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า สภาพการณ์ปัจจุบันของสถาบันอุดมศึกษา ประเด็นความพร้อมที่อยู่ในระดับยอมรับได้ ในด้านงานบริหารและงานวิชาการ ด้านความเข้มแข็งของสถาบัน ด้านภาพลักษณ์ การยอมรับ ความนิยม ความภาคภูมิใจ และด้านการส่งเสริมและฟื้นฟูเอกลักษณ์ท้องถิ่น ประเด็นความพร้อมที่อยู่ในระดับต้องปรับปรุง ได้แก่ ด้านเครือข่าย และ ด้านการจัดการงบประมาณจากผู้สนับสนุนภายนอก ส่วนประเด็นความพร้อมที่อยู่ในระดับวิกฤต ได้แก่ ด้านความเป็นสากลและความเป็นนานาชาติ และด้านการสนับสนุนจากฝ่ายการเมืองท้องถิ่นและภาคธุรกิจ ในส่วนของรูปแบบการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับเสรีประชาคมอาเซียนของสถาบันอุดมศึกษา ประกอบด้วย ประเด็นความพร้อม 3 ด้าน 15 กลยุทธ์ ได้แก่ ด้านการบริหารและวิชาการ (6 กลยุทธ์) ด้านความเข้มแข็งแห่งตน (5 กลยุทธ์) และด้านเครือข่ายสัมพันธ์ (4 กลยุทธ์) ซึ่งสถาบันอุดมศึกษาทั้ง 5 แห่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้โดยการจัดโครงการหรือกิจกรรมต่าง ๆ ให้สอดรับและสอดคล้องตามความเหมาะสมกับปริบทของสถานศึกษาของตน

Article Details

How to Cite
แพ็ต รมยะ, & แพ็ต รมยะ. (2022). การพัฒนารูปแบบการเตรียมความพร้อมของสถาบันอุดมศึกษา ในเขตจังหวัดเลยเพื่อรองรับเสรีประชาคมอาเซียน. วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, 2(3), 56–73. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/EJFE/article/view/824
บท
Research article

References

กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน. (2558). สถิติแรงงานข้ามชาติ 2558. [Online]. Available : http://www.doe.go.th/prd/Imia/statistic/param/site/131. [2558, กุมภาพันธ์.22].

กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน. (2558). อาเซียน 2025 มุ่งหน้าไปด้วยกัน: วิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน 25025 และแผนงานประชาคมอาเซียน 2016-2025 กรุงเทพฯ: บริษัท เพจเมคเกอร์จำกัด.

การอุดมศึกษา, สำนักงานคณะกรรมการ. (2554). ยุทธศาสตร์อุดมศึกษาไทยในการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ.2558. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดบางกอกบล็อก.

จัดหางานจังหวัดเลย, สำนักงาน, กรมการจัดหางาน (ม.ป.ป.). สถานการณ์แรงงานจังหวัดเลย ปี 2558. [Online]. Available :www.doe.go.th/prd/loei/news/param/site/72.pdf. [2558, มีนาคม 17].

กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ. (2556). ASEAN mini book. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ:กรมอาเซียน.

ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์. (2556). เอกสารการบรรยายพิเศษเรื่อง แนวทางปรับแผนการดำเนินงาน ในการประชุมผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา วันที่ 3 เมษายน 2556 ณ โรงแรม อะเดรียติคพาเลซ กรุงเทพฯ.

พงษ์เทพ เทพกาญจนา. (2556). เอกสารการบรรยายพิเศษเรื่อง ความเชื่อมโยงการจัดอาชีวศึกษากับการพัฒนากำลังคนของประเทศ. ในการประชุมผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา วันที่ 2 เมษายน 2556 เวลา 13.00 น. ณ โรงแรมอะเดรียติคพาเลซ กรุงเทพฯ.

วรานนท์ ปิติวรรณ. (2559.) แรงงานเผยปี 2559 คนไทยมีค่าจ้างต่อเดือนสูงสุด 45,000 บาท พบส่วนใหญ่อยู่ในภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ แนะเรียนสายอาชีพ หางานง่าย รายได้ดี. สำนักงานจัดหางานจังหวัดเลย กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน. [Online]. Available : http://www.doe.go.th/prd/loei/news. [2559,กุมภาพันธ์ 17].

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. (2552, มิถุนายน). เส้นทางการนำมหาวิทยาลัยสู่ความเป็นสากล วารสาร QA-NEWS: KMUTNB. ศูนย์ผลิตตำราเรียน, 194 (ปักษ์หลัง).

สภาการศึกษา, สำนักงานเลขาธิการ, กระทรวงศึกษาธิการ. (ม.ป.ป.). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. [Online]. Available : www.backoffice.onec.go.th/uploaed/Outstand/2017-EdPlan60-79.pdf. [2558,.สิงหาคม 9].

สมพงษ์ จิตระดับ. (2553). เตือนปรับการศึกษาเตรียมรับอีก 5 ปี เปิดเสรีอาเซียนเด็กไทย ไม่เท่าทัน. [Online]. Available : http://www.mcot.net2cfustom2cache_page2135516.html [2558, มีนาคม.30].

เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช. (2556). เอกสารการบรรยายพิเศษเรื่อง การพัฒนาอาชีวศึกษารองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในการประชุมผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา วันที่ 3 เมษายน 2556 เวลา 9.00 น. ณ โรงแรมอะเดรียติค พาเลซ กรุงเทพฯ.

สุภาพ อัจฉริยศรีพงศ์. (2556). เอกสารการบรรยายพิเศษเรื่อง การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของนักเรียน นักศึกษาอาชีวศึกษา ในการประชุมผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา วันที่ 3 เมษายน 2556 เวลา 10.30 น. ณ โรงแรมอะเดรียติค พาเลซ กรุงเทพฯ.

อนุสรณ์ แสงนิ่มนวล. (2556). เอกสารการบรรยายพิเศษเรื่อง อาชีวศึกษากับการพัฒนาประเทศ. ในการประชุมผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา วันที่ 2 เมษายน 2556 เวลา 10.30 น. โรงแรมอะเดรียติค พาเลซ กรุงเทพฯ.

Paryono, P. (2015). Approaches to Preparing TVET Teachers and Instructors in ASEAN Member Countries. TVET@Asia [Online], 5, (1-27). Available: http://www.tvet-online.asia/issue5/paryono_yvet5.pdf. [2015, November 28].

Sutraphon Tantiniranat. (2015). Some Intercultural Implications of AESAN and Thai Educational Policies for Thai Higher Education. CORERJ: Cambridge Open-Review Educational Research e-Journal. 1, (2).