รูปแบบการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างโอกาสและคุณภาพของผู้เรียน โดยใช้การเรียนรู้ทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ ของโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

สุภาภรณ์ กิตติรัชฎานนท์

บทคัดย่อ

รูปแบบการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างโอกาสและคุณภาพของผู้เรียน โดยใช้การเรียนรู้ทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ ของโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ฯศึกษาประสิทธิผลการใช้รูปแบบการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ฯและจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างโอกาสและคุณภาพของผู้เรียนโดยใช้การเรียนรู้ทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ (DLIT) ของโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีวิธีการดำเนินงาน 4 ขั้นตอนได้แก่ 1) การสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อกำหนดรูปแบบฯโดยการวิเคราะห์เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การจัดสนทนากลุ่ม จากผู้เชี่ยวชาญ ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบสนทนากลุ่มและแบบสัมภาษณ์ 2) การออกแบบและพัฒนารูปแบบฯโดยการประชุมสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญจากผู้เชี่ยวชาญ และผู้ทรงคุณวุฒิ และดำเนินการศึกษานำร่อง (pilot study) จากโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ จำนวน 6 โรงเรียนผู้ให้ข้อมูลจากผู้บริหารสถานศึกษา ครู และนักเรียนในโรงเรียนเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสนทนากลุ่มฯ และแบบประเมินความสอดคล้องของรูปแบบฯ การใช้ และหาประสิทธิผลรูปแบบการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างโอกาสและคุณภาพของผู้เรียนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นครูผู้สอน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2559 ของโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ จำนวน 44 โรงเรียน การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling) โดยใช้เครื่องมือในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสังเกตพฤติกรรมแบบประเมินผลการเรียนแบบบันทึกการสะท้อนผลการเรียนแบบประเมิน ความสามารถของครู และแบบสอบถามความคิดเห็นของครูผู้สอน 3) การรับรองรูปแบบฯเป็นการจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการส่งเสริมสนับสนุนการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างโอกาสและคุณภาพของผู้เรียน โดยจัดประชุมเสวนาผู้ทรงคุณวุฒิเครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบบันทึกรับฟังความคิดเห็นฯ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างโอกาสและคุณภาพผู้เรียนโดยใช้การเรียนรู้ทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ มี5 องค์ประกอบได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ 4) การวัดและประเมินผล และ 5) เงื่อนไขสำคัญในการนำรูปแบบไปใช้ ในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด ประสิทธิผลการใช้รูปแบบการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ฯ พบว่า พฤติกรรมการเรียนโดยใช้ DLIT ของผู้เรียนที่ในภาพรวมอยู่ในระดับดีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา ในภาพรวมทั้งระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2559 เปรียบเทียบปีการศึกษา 2558 เพิ่มขึ้นคุณภาพของผลการประเมินสมรรถนะของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาพรวมอยู่ในระดับดีเยี่ยมและผลการสะท้อนความรู้สึกของผู้เรียนต่อการเรียนโดยใช้ DLIT พบว่า ผู้เรียนมีความรู้สึกหลากหลายโดยส่วนใหญ่เป็นไปในทิศทางที่ดีต่อการเรียน มีความพึงพอใจ และมีความสุขต่อกิจกรรมการเรียนรู้ที่ครูจัดให้ผ่านสื่อ DLIT ด้านความสามารถของครูผู้สอนในการจัดการเรียนรู้ในภาพรวมอยู่ในระดับมากส่วนความคิดเห็นของครูผู้สอนที่มีต่อรูปแบบการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ในภาพรวมอยู่ในระดับมากด้านผลการรับฟังความคิดเห็นโดยผู้ใช้และผู้ทรงคุณวุฒิ หลังการใช้รูปแบบการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ฯ พบว่ามีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ในการนำไปขยายผล ส่วนข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ระดับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานควรกำหนดเป็นนโยบายให้สถานศึกษาได้ใช้ ช่องทางการจัดการเรียนรู้เพื่อเพิ่มโอกาสและคุณภาพของผู้เรียน โดยใช้การเรียนรู้ทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศในระดับสถานศึกษาควรสร้างความตระหนักให้ทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาได้เห็นความสำคัญ คุณค่า และประโยชน์ จากการนำกระบวนการเรียนรู้เพื่อเพิ่มโอกาสและคุณภาพของผู้เรียน โดยใช้การเรียนรู้ทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้

Article Details

บท
Research article

References

ณรี สุสุทธิ. (2557). การศึกษาประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรในการจัดการศึกษาของโรงเรียน ศึกษาสงเคราะห์สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.สำนักบริหารงาน การศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ.

สมเชาว์กาญจนจรัส. (2557). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนกศน.ใน สถาบันศึกษาปอเนาะจังหวัดปัตตานี. รายงานการศึกษาส่วนบุคคลหลักสูตรพัฒนานัก บริหารระดับสูงกระทรวงศึกษาธิการ (นบส.ศธ.) รุ่นที่ 4 สถาบันพัฒนาครูคณาจารย์และ บุคลากรทางการศึกษาสำนักงานปลัดกรtทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2550). วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับการ พัฒนา. ปทุมธานี : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.

วัชรี เลี่ยนบรรจง. (2560). บทบาทของผู้บริหารในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. (Online). https://www.gotoknow.org/posts/359043. 15 กรกฎาคม 2560.

อุทัย บุญประเสริฐ. (2546). การบริหารจัดการสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. กรุงเทพฯ: ศูนย์ตำราและเอกสารทางวิชาการคณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Keeves P.J. (1988). Educational research, methodology and measurement :Aninternational handbook.Oxford :Pergamon Press.

Smith, Robert Timothy. (1991). Characteristics of Effectiv School System in Georgia.Dissertion Abstracts International. (1991, January 7).