การศึกษาผลของการพัฒนาสื่อเนื้อหาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ประกอบการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ห้องเรียนอิเล็กทรอนิกส์ รายวิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองกำแพงเพชร

Main Article Content

อมรา ศรีแก้ว
ธงชัย ช่อพฤกษา
ยุทธนา พันธ์มี

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การศึกษาผลของการพัฒนาสื่อเนื้อหาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ประกอบการจัดกระบวนการเรียนรู้ โดยใช้ห้องเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (Smart Classroom) รายวิชา ท 13101 ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองกำแพงเพชร วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนผ่านสื่อเนื้อหาบทเรียนเล็กทรอนิกส์ และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนผ่านสื่อเนื้อหาบทเรียนเล็กทรอนิกส์ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองกำแพงเพชรที่เรียน รายวิชา ท 13101 ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 โดยวิธีเลือกแบบเจาะจง ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนผ่านสื่อเนื้อหาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ รายวิชา ท 13101 ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังการเรียนมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. ระดับความพึงพอใจของนักเรียนโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองกำแพงเพชรที่มีต่อการเรียนผ่านสื่อเนื้อหาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ รายวิชา ท 13101 ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ผู้วิจัยและชุมชนได้พัฒนาขึ้นมาอยู่ในเกณฑ์ระดับมาก

Article Details

How to Cite
อมรา ศรีแก้ว, ธงชัย ช่อพฤกษา, & ยุทธนา พันธ์มี. (2022). การศึกษาผลของการพัฒนาสื่อเนื้อหาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ประกอบการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ห้องเรียนอิเล็กทรอนิกส์ รายวิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองกำแพงเพชร. วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, 2(3), 102–115. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/EJFE/article/view/829
บท
Research article

References

คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน.(2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. สำนักนายกรัฐมนตรี.

จินตวีร์ เกษมศุข. (2554).การสื่อสารกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม.กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

ทิพย์เกสร บุญอำไพ. (2540). การพัฒนาระบบการสอนเสริมทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ถนอมพร (ตันพิพัฒน์) เลาหจรัสแสง. (2545). หลักการออกแบบและการสร้างเพื่อการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์.

นงเยาว์ เอี่ยมภาคีนิวัฒน์.(2550) .การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนอินเตอร์เน็ตเรื่อง ฐานข้อมูลเบื้องต้น นครสวรรค์ : คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์.

พัชรา คะประสิทธิ์. (2546). การใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้ของนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ไพรัช ธัชยพงษ์ และ พิเชษฐ์ ดุรงคเวโรจน์.(2541). เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา. สำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาแห่งชาติ.

มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต. (2550). วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อชีวิต. กรุงเทพฯ : สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2557 จากhttp://srayaisom.dyndns.org/network/janphar/D4000107.html.

สุรางค์ โควตระกูล. (2548). จิตวิทยาการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 6) กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2550). แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพฯ : ออนไลน์.

Ellis, R. (2003). Task-based language learning and teaching. Oxford University Press, Oxford, UK (call# UniM ERC 418.007ELLI), 27.