การศึกษาสภาพและแนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนคลองลานวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพ และแนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนคลองลานวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41 โดยมีประชากร และแหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนโรงเรียนคลองลานวิทยา จำนวน 79 คน แหล่งข้อมูลการศึกษาดูงานโรงเรียนที่มีการปฏิบัติที่ดี (Best Practice) จำนวน 3 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็น แบบสอบถาม และ แบบสัมภาษณ์ มีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า สภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนคลองลานวิทยาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 41 โดยรวมและรายด้าน มีการดำเนินการอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย คือ ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล รองลงมาคือ ด้านการส่งเสริมนักเรียน ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา ด้านการคัดกรองนักเรียน และด้านการส่งต่อนักเรียน แนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนคลองลานวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 41 ได้แก่ โรงเรียนต้องขอความร่วมมือจากครูที่ปรึกษาในการดูแลนักเรียนอย่างใกล้ชิด ให้ความเอาใจใส่และเป็นกันเองกับนักเรียน โรงเรียนควรตั้งทีมประสานงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนคัดเลือกเครื่องมือที่ใช้ในการคัดกรองนักเรียน โรงเรียนควรจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับความต้องการของนักเรียนและมีการประเมินผลการจัดกิจกรรมทุกครั้ง เพื่อนำไปพัฒนาในครั้งต่อไป โรงเรียน ควรจัดกิจกรรมเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา และมีการประเมินผลการจัดกิจกรรมทุกครั้ง เพื่อนำไปพัฒนาในครั้งต่อไป และ โรงเรียนควรส่งต่อนักเรียนที่มีปัญหาให้กับฝ่ายที่รับผิดชอบ ครูแนะแนว ครูฝ่ายปกครอง ดำเนินการช่วยเหลืออย่างมีขั้นตอนและคอยติดตามอยู่เสมอ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
CC Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0
References
กรมสามัญศึกษา. (2544). การประกันคุณภาพระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.
กรมสุขภาพจิต. (2546). คู่มือการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ช่วงชั้นที่ 3 -ช่วงชั้นที่ 4 (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6). กรุงเทพฯ : สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
จุรีรัตน์ มีพันธ์. (2553). การศึกษาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนเอกชนในเขตพื้นที่การศึกษาลำพูน เขต 1. ครุศาสตรมหาบัณฑิต.
ณัฐภูมิ อินชัยวงศ์. (2552). บทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในเขตอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่. ครุศาสตรมหาบัณฑิต.
บรรทม รวมมิตร. (2553). การศึกษาสภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนเวียงแก่นวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต.
ประยูร อัครบวร. (2552). การสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วม (Network Building and Participatory). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประเสริฐ สวนจันทร์. (2553). การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยอง เขต 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต.
ประภูศักดิ์ บัวติ๊บ. (2552). การมีส่วนร่วมในการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนภูซางวิทยาคมอำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา. ครุศาสตรมหาบัณฑิต.
เพ็ญศรี นิตยา. (2552). สภาพและปัญหาการดำเนิน ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 4. ครุศาสตรมหาบัณฑิต.
วีระพงษ์ วันทา. (2555). การศึกษาผลการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของข้าราชการครู ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 (อุบลราชธานี – อำนาจเจริญ) .ครุศาสตรมหาบัณฑิต.
สุเนตร ทองคำพงษ์. (2557). รูปแบบการจัดการศึกษาสำหรับแม่วัยรุ่นในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. การศึกษาดุษฎีบัณฑิต.
สุวัฒน์ แก้วหนองฮี. (2555). การพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียน สามัคคีศึกษาอำเภอชุมพลบุรี จ.สุรินทร์. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต.
สมศักดิ์ วรรณศิริ. (2550). การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนที่เปิดสอนใน ระดับช่วงชั้นที่ 3 – 4 สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 1.
อรทัย มังคลาด. (2552). การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 24 อำเภอจุนจังหวัดพะเยา. ครุศาสตรมหาบัณฑิต.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน. (2546). คู่มือการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และแก้วิกฤตสังคม. กรุงเทพฯ : ชวนพิมพ์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไข เพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ.2545 .กรุงเทพฯ : 2546. WWW.yongkon.ac.th/care2559/file/syshelp.doc กรอบความคิดระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน.