ผลการพัฒนาทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ โดยใช้บทบาทสมมุติสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู

Main Article Content

อนุสิษฐ์ พันธ์กล่ำ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้บทบาทสมมุติของนักศึกษาวิชาชีพครู 2) เพื่อศึกษาพัฒนาการทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบระหว่างและหลังการจัดการเรียนรู้การจัดการเรียนรู้โดยใช้บทบาทสมมุติของนักศึกษาวิชาชีพครู กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาโปรแกรมวิชาภาษาอังกฤษชั้นปีที่ 1 รหัส 5911206 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาการพูดสื่อสารภาษาอังกฤษ รหัสวิชา 1211102 ปีการศึกษาที่ 2/2559 จำนวน 27 คน ได้มาจากการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ คู่มือการจัดกิจกรรมบทบาทสมมติ แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ แบบประเมินความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่มีต่อจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้บทบาทสมมุติ ผลการวิจัยพบว่า การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้บทบาทสมมุติของนักศึกษาวิชาชีพครู สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และพัฒนาการด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบของนักศึกษาวิชาชีพครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
อนุสิษฐ์ พันธ์กล่ำ. (2022). ผลการพัฒนาทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ โดยใช้บทบาทสมมุติสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู. วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, 2(4), 77–89. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/EJFE/article/view/838
บท
Research article

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรตามหลกัสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ปาริชาติ วลัยเสถียร. (2543). กระบวนการและเทคนิคการทางานของนักพัฒนา. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

พจนันท์ ไวทยานนท์. (2541). ผลของการใช้บทบาทสมมติที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. โรงเรียนวัดสุวรรณารัญญิกาวาส จังหวัดชลบุรี. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (จิตวิทยาการศึกษา). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่าย เอกสาร.

พงษ์พันธ์ พงษ์โสภา. (2542). พฤติกรรมกลุ่ม. กรุงเพทพฯ. วิสิทธิ์พัฒนา.

พัฒนาวดี อนุสรณ์เทวินทร์. (2542). การใช้กลุ่มสัมพันธ์เพื่อพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนลุมพุก อำเภอคาเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร. รายงานการศึกษา ค้นคว้าอิสระ. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

มาเรียม นิลพันธ์. (2553). วิธีวิจัยทางการศึกษา. นครปฐม : โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วรวรรณินี ราชสงฆ์. (2541). การเปรียบเทียบผลการใช้เทคนิคแม่แบบและเทคนิคการใช้บทบาท สมมติที่มีผลต่อการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมด้านความซื่อสัตย์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6. โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ จังหวัดพัทลุง. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (จิตวิทยาการแนะแนว). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.

วัชรี เกษพิชัยณรงค์ (2553). การเรียนรู้เชิงรุกและเทคนิคการจัดการเรียนการสอนที่เน้นการเรียนเชิง รุก.สืบค้นจากhttp://qa.bu.ac.th/cop/index.php/component/phocadownload/category/1-km-cop-teaching?download=18:active-learning.

วิจิตร อาวะกุล. (2542). เทคนิคมนุษยสัมพันธ์. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2550). กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปีฉบับ ที่ 2 พ.ศ. 2551-2565. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.

สำนักมาตรฐานและคุณภาพอุดมศึกษา. (2557). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษา ฉบับปีการศึกษา 2557. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.

Brown, Douglas. (2001). Teaching by Principles. 2nd ed. San Francisco: San Francisco State University.

Ladousse, Gillian. (1997). Role Play. Oxford : Oxford University Press.

Ments, Van Morry. (1986). The Effective Use of Role Play : Practical Techniques for Improving Larning. Londom : Kogan Page.