การจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบวิเคราะห์วีดิโอ สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์

Main Article Content

กานต์ อัมพานนท์
กานต์ อัมพานนท์

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งนำเสนอกรอบแนวคิด แนวปฏิบัติในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบวิเคราะห์วีดิโอ (Active Learning Management Through Video Analysis) เพื่อพัฒนานักศึกษาวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ ให้มีทักษะการคิดชั้นสูงสอดคล้องกับศตวรรษที่ 21 โดยให้ผู้เรียนเป็นผู้มีทักษะการคิด การวิเคราะห์ การทำงานร่วมกัน และทักษะการแก้ปัญหา ซึ่งการเรียนรู้เชิงรุกเป็นวิธีการสอนรูปแบบหนึ่งที่มีความเหมาะสมกับการเรียนรู้ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจ และการนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการตื่นตัวต่อการเรียนรู้ และสร้างความกระตือรือร้นด้านการรู้คิด การเรียนรู้เชิงรุกจึงมีบทบาทช่วยให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาสูงขึ้น บทบาทของผู้สอนจะเปลี่ยนเป็นผู้ออกแบบการเรียนรู้และอำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้ ผู้เรียนจะต้องมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้และได้ลงมือปฏิบัติจริง (Learning by Doing) เพื่อช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะการคิดชั้นสูงและมีสมรรถนะที่สอดคล้องกับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปตามสังคมปัจจุบันและความก้าวหน้าในศตวรรษที่ 21 การจัดการเรียนรู้เชิงรุกยังช่วยให้ผู้เรียนเกิดทักษะด้านความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการคิดวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยี ดังนั้น การฝึกประสบการณ์ให้กับนักศึกษา คณะครุศาสตร์ เพื่อให้นักศึกษาสามารถจัดการเรียนรู้เชิงรุกที่ส่งเสริมทักษะการคิดชั้นสูงในสถานศึกษาได้ และเป็นคุณสมบัติหนึ่งของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ในปัจจุบัน การจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบวิเคราะห์วีดิโอทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในบทเรียนมากขึ้น และมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น วิเคราะห์ สังเคราะห์ หรือสะท้อนความคิดเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ศึกษา หรือค้นคว้าหาข้อมูลจากสถานการณ์ที่ได้ศึกษาจากคลิปวีดิโอ นับเป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่ต้องการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน และระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียนด้วยกัน เพี่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในกลุ่ม และเปิดมุมมองที่กว้างขึ้นตลอดจนหาแนวทางในการแก้ปัญหาที่หลากหลาย ทำให้ผู้เรียนเกิดความคิดที่ละเอียดรอบคอบ รู้จักวางแผนการปฏิบัติงาน สามารถส่งเสริมให้นักศึกษาพัฒนาศักยภาพตนเองได้ตามธรรมชาติอย่างเต็มตามศักยภาพของสมอง

Article Details

บท
Research article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.

กมลฉัตร กล่อมอิ่ม. (2559). “การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสะเต็มศึกษา สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู” ใน วารสารศึกษาศาสตร์. ปีที่ 18 (4), หน้า 336.

กานต์ อัมพานนท์. (2559). การศึกษาการจัดการศึกษาวิชาความเป็นครูในศตวรรษที่ 21 คณะครุศาสตร์ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฎภาคเหนือ. รายงานการวิจัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

กานต์ อัมพานนท์. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เชิงรุกที่ส่งเสริมทักษะการคิด สำหรับนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์. รายงานการวิจัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

ขวัญชัย ดวงทนัน. (2557). การใช้ชุดสื่อการสอนการจัดทำสื่อวีดิโอช่วยสอนเรื่อง การควบคุมคุณภาพสำหรับเป็นสื่อช่วยสอนในกระบวนวิชาการพัฒนางานด้วยระบบคุณภาพและเพิ่มผลผลิตตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคล้านนา. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (อาชีวศึกษา), มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2557). การคิดสร้างสรรค์. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: ซั่คเซสมีเดีย.

ชนาธิป พรกุล. (2559). แคทส์: รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2558). 80 นวัตกรรมการเรียนรู้ทีเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: วี พรินท์ (1991).

ทิศนา แขมมณี. (2558). ศาสตร์การสอน:องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรียา สมพืช. (2559). “การจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนด้วยกรณีศึกษา”ในวารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. ปีที่ 11 (2), หน้า 262 – 268.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2557). การสร้างบรรยากาศในการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ: แนวคิด วิธี และเทคนิคการสอน. กรุงเทพฯ:เดอะมาสเตอร์กรุ๊ปแมนเนจเมนท์.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2557). ยุทธศาสตร์การสอนตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิจารณ์ พานิช. (2558). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่21. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สรวงพร กุศลส่ง. (2558). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมยุทธวิธีการรู้คิดสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน), มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สุกัญญา งามบรรจง. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21. รายงานการวิจัย. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สุวิทย์ มูลคำ. (2558). Child Center Storyline Method: การบูรณาการหลักสูตรและการเรียน การสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ: ที .พี. พริ้นท์.

สุนิสา จันทร์เลขา. (2551). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องสื่อประสมผลิตภัณฑ์ของนักศึกษาระดับอนุปริญญาวิทยาลัยชุมชนสระแก้ว ด้วยการสอนโดยใช้สื่อวีดีทัศน์. รายงานการวิจัย. วิทยาลัยชุมชนสระแก้ว.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2552). กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 และแนวปฏิบัติ. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, กรุงเทพฯ.

Armstrong, T. (2006). Multiple Intelligences: Seven Ways to Approach Curriculum Educational Leadership. New York: Prentice-Hall.

Benjamin S. Bloom (2008). Taxonomy of Educational Objectives. Handbook II: Affective Domain. New York: Mckay.

Cratty, B.J. (2014). Active Learning. Houghton: Miffin Company.

De Bono, E. (1992). Six Thinking Hats for Schools. Cheltenham, Vic.: Hawker Brownlow Education.

Flavell, J.H. (1985). Cognitive Developmental. New Jersey: Prentice-Hall.

Gredler, M. E. (2014). Active Learning and Instruction: Theory into Practice. (3rd). New Jersey: Prentice-Hall.

John, J. Dewey. (1959). Experience and Education. New York: Macmillan.

Joyce, B., & Weil, M. (1972). Models of Teaching. Englewood Cliffs, N.J.: Prentice-Hall.

Khan, B. H. (2014). Active Learning in the Features. New York: Van Nor strand.

LikLorenzen, M. (2014). Active Learning. Singapore: McGraw–Hill.

Piaget, J. (2001). The Child's Conception of Physical Casualty. New Brunswick, N.J.: Adams Co.