การประเมินหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา (5 ปี) (หลักสูตรปรับปรุง 2559) คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

Main Article Content

ชูวิทย์ กมุทธภิไชย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา (5 ปี) (หลักสูตรปรับปรุง 2559) คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะ 1) เพื่อประเมินปัจจัยเบื้องต้น โดยอาจารย์ประจำหลักสูตร บัณฑิต และนักศึกษา 2) เพื่อประเมินกระบวนการบริหารหลักสูตร โดยอาจารย์ประจำหลักสูตร บัณฑิต และนักศึกษา 3) เพื่อประเมินผลลัพธ์ของหลักสูตร โดยผู้คับบัญชา/ผู้ใช้บัณฑิต ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) มีภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด เมื่อแยกเป็นรายด้านพบว่า ด้านหลักสูตร จากความพึงพอใจของอาจารย์ประจำหลักสูตรมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด 2) ด้านกระบวนการ (Process) มีภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุดเช่นกัน และเมื่อแยกเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านข้อร้องเรียนและระบบอาจารย์ที่ปรึกษาทางวิชาการ และ 3) ด้านผลผลิต (Product) มีภาพรวมความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ข้อเสนอแนะ คือ ควรเพิ่มวิชาที่ทันสมัยสอดคล้องกับปัจจุบันและควรเพิ่มวิชาให้มีความสอดคล้องกับการการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อเข้าสู่กระบวนการการงาน คือเวลาไปสอนสอนจริงจะได้ไม่ต้องเตรียมตัวใหม่อีกรอบ อีกทั้งอยากให้เพิ่มความแน่นทางวิชาการมากขึ้น เช่น วิชาชาดก บุคคลสำคัญทางพระพุทธศาสนา สาวกสาวิกา บุคลคลสำคัญทางประวัติศาสตร์ ควรแบ่งอารยธรรมโลกเป็น อารายธรรมตะวันออกตะวันตก ในส่วนของกลุ่มวิชาพื้นฐานและวิชาชีพครู มีข้อเสนอแนะ คือ ไม่ควรมีหนึ่งหรือสองหน่วยกิต ควรเป็นสามหน่วยกิตขึ้นไป ควรมีอาจารย์ที่เป็นเจ้าของภาษาจริง ๆ ไม่ใช่เป็นเพียงชาวต่างชาติ มาสอนในหลักสูตรด้วย ข้อเสนอแนะ ในส่วนของอาจารย์ อาจารย์มีตำแหน่งทางวิชาการน้อย ควรให้อาจารย์มีตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้นครบทุกคน ภาระงานนอกเหนือจากงานสอนมีมาก เช่น การวิจัย พัฒนาตำรา บริการวิชาการ การประกันคุณภาพ และควรมีระบบ internet ที่เสถียรมากขึ้นและทั่วถึง ทั้งนี้เพื่อง่ายต่อการค้นคว้าและออกแบบการจัดการเรียนรู้ และข้อเสนอแนะจากผู้บังคับบัญชา/ผู้ใช้บัณฑิต เสนอแนะว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ยังขาดองค์ความรู้ด้านมาตรฐานและตัวชี้วัด และความรู้ด้านวิชาชีพครู นักศึกษาควรมีความรู้ในเนื้อหาวิชาเอก รอบรู้ รู้ลึก รู้กว้าง มีทักษะและเทคนิคในการสอนที่หลากหลาย ใช้สื่อ IT ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้มากขึ้น อีกทั้งควรพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้น

Article Details

บท
Research article

References

กัญจน์ชญาน์ สรรเสริญ. (2551). การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิจัยและ ประเมินผลการศึกษา (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2545). วิทยานิพนธ์ ค.ม. ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2559). หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต หลักสูตร 5ปี สาขาวิชาสังคมศึกษา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559). กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏ กำแพงเพชร.

ใจทิพย์ เชื้อรัตนพงษ์. (2539). การพัฒนาหลักสูตร หลักการและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อลีนเพลส.

โชติ เพชรชื่น. (2528). การประเมินหลักสูตร เอกสารการประชุมเรื่องการประเมินและพัฒนา หลักสูตรการศึกษาระดับปริญญาตรี. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

ทิศนา แขมมณี. (2544). รวมบทความทางการประเมินโครงการ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

นพดล โป่งอ้าย . (2549). การประเมินหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรม อุตสาหกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.

นพพร ธนะชัยขันธ์. (2555). สถิติเบื้องต้นสำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒณ์.

นิตยา กระภูฤูทธิ์. (2547). การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยี การศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาการวัดและการ ประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่8. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

บุญช่วย เจริญผล. (2545). การประเมินหลักสูตรสาขาไฟฟ้า (โครงการเงินกู้ธนาคารโลก) สถาบัน เทคโนโลยีราชมงคล. กรุงเทพฯ:สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

บุญส่ง นิลแก้ว และคณะ. (2542). เอกสารประกอบการสอนวิจัยการศึกษา. เชียงใหม่: คณะ ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ปฏิธรรม สำเนียง. (2551). การประเมินหลักสูตร การศึกษาบัณฑิต [หลักสูตร 5 ปี] มหาวิทยาลัย นเรศวร. วิทยานิพนธ์ ค.ม. ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

พัชรินทร์ ศรีสวิสดิ์. (2546). การประเมินหลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. (วิจัยและสถิติการศึกษา). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

รุจิร์ ภู่สาระ. (2546). การพัฒนาหลักสูตรตามแนวปฏิรูปการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:บุ๊คพอยท์.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2537). กระบวนการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ. กรุงเทพฯ.สุวีริยาสาส์น.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2545). “ทฤษฎีการประเมินและการตัดสินใจ”. ใน ประมวลสาระชุดวิชาการประเมินและการจัดการโครงการประเมิน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช บัณฑิตศึกษา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์.

เสริมศรี ไชยศร. (2526). ระบบหลักสูตร-การสอน. เชียงใหม่: พระสิงห์การพิมพ์. สำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: สำนักงานฯ.

สำนักมาตรฐานและประเมินผลอุดมศึกษา. (2549). มาตรฐานการอุดมศึกษาและเกณฑมาตรฐานที่ เกี่ยวข้อง. กรุงเทพฯ: สำนักงานฯ.

สุมิตร คุณานุกร. (2543). หลักสูตรและการสอน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชวนพิมพ์.

สงัด อุทรานันท์. (2532). พื้นฐานและหลักการพัฒนาหลักสูตร. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: มิตรสยาม.

Good, Carter V. (1973). Dictionary of Education. New York: McGraw-Hill Book.

Stufflebeam, Daniel L. (1973). Education Evaluation and Decision – Making. inEducational Evaluation: Theory and Practice. P. 128 – 142, Belmont,Californai, Wadsworth Publishing Company.

Stake, Robert E. (1973). The Countenance of Educational Evaluation. in Educational Evaluation: Theory and Practice. P. 170 – 217, Belmont, California, Wadsworth Publishing company.

Taba, Hilda. (1962). Curriculum Development: Theory and Practice. New York: Harcourt Brace & World.

McNeil, Joseph. (1975). The Psychology of Being Human. San Francisco. California: Canfield Press.

Saylor, J. Galen, Alexander, william M.; & Lewis, Arthur J. (1981). Curriculum Planning for Better Teacher and Learning. 4th ed. New York: Holt, Rinehart and Winston.