สังคมแห่งการเรียนรู้ : สิ่งที่สำคัญของการศึกษาในศตวรรษที่ 21

Main Article Content

ศุภรดา สุขประเสริฐ
มาโนช สุภาพันธ์วรกุล
อังคณา อ่อนธานี

บทคัดย่อ

ปัจจุบันประเทศไทยมุ่งเน้นการยกระดับการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สนองการแก้ไขปัญหาระดับชาติ และให้เป็นไปตามสมรรถนะการเป็นพลเมืองที่ดีของโลก ซึ่งความต้องการของรูปแบบการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (Model of 21st century Outcomes and Support Systems) ในยุคของการเรียนด้วยดิจิทัล (Digital Learning) นั้น ต้องเป็นมากกว่าการเสริมสร้างผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์สำหรับศตวรรษที่ 21 และไม่เป็นเพียงผู้นำเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้พัฒนาสมรรถนะสากลของผู้ปฏิบัติงานได้เท่านั้น การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ เป็นสิ่งสำคัญที่จะส่งเสริมคุณภาพของผู้เรียนในอนาคตได้ เนื่องจากการพัฒนาบุคคลผ่านการจัดการศึกษาที่ทุกคนได้รับการเรียนรู้อย่างทั่วถึงตั้งแต่อนุบาลไปจนถึงมหาวิทยาลัยและตลอดชีวิต โดยการให้องค์ความรู้กับการเสริมทักษะ ให้มีความเชี่ยวชาญ และเป็นผู้ที่มีความคิดริเริ่มสร้างนวัตกรรมและสารสนเทศเชิงผลิตภาพ เปลี่ยนด้านผู้สอนให้มีบทบาทหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้หรือผู้ชี้แนะการเรียนรู้ เช่นเดี่ยวกับบทบาทของผู้เรียนจะกลายเป็นผู้ได้รับความรู้ ด้วยการลงมือกระทำกับความรู้เรียนเชิงรุก (Active Learning) องค์ความรู้เกิดขึ้นภายใต้กลไกลการทดลอง การปฏิบัติจริงเพื่อตอบคำถามต่าง ๆ มากขึ้น ด้วยเหตุนี้ การศึกษาที่ดีสำหรับคนยุคใหม่จะต้องเปลี่ยนรูปแบบไปอย่างสิ้นเชิง ในวงจรแห่งการเรียนรู้ในสังคมแห่งการเรียนรู้ที่มีการประสานความร่วมมือกับหลายภาคส่วนเป็น“ผู้ร่วมพัฒนาผู้เรียน (Co-Creators)” ลงไปในระบบการจัดการศึกษาที่บุคคลในสังคมสามารถเรียนรู้ได้ทุกสภาพ สามารถดำรงชีวิตอยู่ในอนาคตได้อย่างมีคุณภาพและยั่งยืนเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ที่แท้จริง

Article Details

บท
Research article

References

เลขาธิการสภาการศึกษา.สำนักงาน. (2559). การจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้าน การศึกษาของประเทศไทยโดยเวทีเศรษฐกิจโลก พ.ศ.2558-2559(World Economic Forum: WEF2015-2016). กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2554). CCPR กรอบคิดใหม่ทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธุรกิจ บัณฑิต.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์ .(2557). ทักษะแห่งอนาคตที่ 21 : ต้องก้าวให้พ้นกับดักของตะวันตก. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ .กองบรรณาธิการ. (2554,กันยายน). ยกระดับการศึกษาด้วย เทคโนโลยีก้าวนำสู่เวทีระดับโลก. ใน วารสารวิทยาจารย์.ปีที่ 11 (110), หน้า 301).

จรัส สุวรรณเวลา, (2547). สังคมความรู้ยุคที่ 2. กรุงเทพฯ : สถาบันวิทยาศาสตร์การแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดวงกมล สินเพ็ง. (2551). การพัฒนาผู้เรียนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ : การจัดการเรียนการสอนที่เน้น ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธำรง บัวศรี. (2504). ทฤษฎีหลักสูตร ภาค 2. พระนคร : มงคลการพิมพ์.

นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2525). ปากไก่และใบเรือ : ความเรียงว่าด้วยวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ต้น รัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ: อมรินทร์การพิมพ์.

พรธิดา วิเชียรปัญญา. (2547). การจัดการความรู้. กรุงเทพฯ : ธรรกมลการพิมพ์.

ราชบัณฑิตยสถาน.(2559). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2555. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ:

วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และ อธิป จิตตฤกษ์. (2554.) ทักษะแห่งอนาคตใหม่ : การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ openworld.

วิจารณ์ พานิช , (2556). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. มูลนิธิสยามกัมมาจล. กรุงเทพฯ : มหา นคร: ส.

วิจารย์ พานิจ. (2555) . วิถีการสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสตศรี- สฤษดิ์วงศ์.

สมพงษ์ จิตระดับ. (2556). หลักสูตรพื้นฐานใหม่มี 6 กลุ่มสาระ. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www.kroobannok.com/57477. 23 ตุลาคม 2556.

อรุณ เบญญคุปต์ และสุดารัตน์ อาแวแตะ. (2559, พฤศจิกายน). “ศึกษาต่อยอดและขยายผลในเรียนรู้แบบเครือข่ายโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อสุขภาวะเด็กและเยาวชนอย่างยั่งยืน: บทเรียนจากการ ปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: DPU Coolprint มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

Bellanca. J. & Brandt} R.(editors) (2010). 21st Century Skills. Rethinking How Students Learn. Bloomington, IN : Solution Tree Press.

Benjamin S. Bloom, (1997). The Developing Child. 6th ed . New York : Macmillan/ McGraw– Hill.

Canton,J (2006). The Exterme Future : The top trends that will reshape the world in the next 20 years. New York : Pengiun group.

Drucker, P.F (1995). Innovation and entrepreneurship. Boston: Butterworth-Heineman.

Global Megatrends, (2012) . Our future world: Global megatrends that will change the way we live. (online) http://citeseerx.ist.psu.edu/viewdoc/download?doi=10.1.1.476.8195&rep=rep1&type=pdf.

Partnership for 21st Century Skills. (2009). P21 Framework Definitions. (online) Available from http://www.p21.org/storage/documents/P21-Framework - Definitions.pdf. ( November 18 , 2012 ).

World Economic Forum, (2014-2015): Geneva: World Economic Forum. (online) http://www3.weforum.org/docs/WEF_Global CompetitivenessReport_2014- 15.pdf.

World Health Organization. (1994). Life skills educations in schools. Geneva : WHO.