การพัฒนาชุดฝึกทักษะการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิค TBLร่วมกับ เทคนิค KWL Plus ที่ส่งผลต่อทักษะการอ่านและการเขียน เจตคติ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

วงค์เดือน คุณพิภาค

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาชุดฝึกทักษะการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยเทคนิค TBL ร่วมกับเทคนิค KWL Plus อย่างมีประสิทธิผล 2) เปรียบเทียบทักษะการอ่านและการเขียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เจตคติระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 4) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และ 5) เปรียบเทียบทักษะการอ่านและการเขียน เจตคติและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างความสุขในการเรียนต่างกัน (สูง ปานกลาง และต่ำ) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนชุมชนดงมะไฟเจริญศิลป์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 จำนวนนักเรียน 22 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ชุดฝึกทักษะการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยเทคนิค TBL ร่วมกับเทคนิค KWL Plus 2) แบบทดสอบวัดทักษะการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษ 3) แบบสอบถามเจตคติที่มีต่อวิชาภาษาอังกฤษ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 5) แบบสอบถามความสุขในการเรียน มี สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีประสิทธิผล (Effectiveness Index : E.I.) สถิติทดสอบค่าที (t–test for Dependent Samples) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (ANOVA) การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมพหุคูณแบบทางเดียว (MANCOVA) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมแบบทางเดียว (ANCOVA) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ดัชนีประสิทธิผลของชุดฝึกทักษะการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิค TBL ร่วมกับเทคนิค KWL Plus ที่มีต่อทักษะการอ่านและการเขียน เจตคติและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีค่าเท่ากับ 0.62 คิดเป็นร้อยละ 62 2. ทักษะการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยชุดฝึกทักษะการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิค TBLร่วมกับเทคนิค KWL Plus หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ษโดยใช้เทคนิค TBL ร่วมกับเทคนิค KWL Plus หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยชุดฝึกทักษะการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิค TBL ร่วมกับเทคนิค KWL Plus หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5. ทักษะการอ่านและการเขียน เจตคติและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีความสุขในการเรียนแตกต่างกัน หลังได้รับการสอนที่เรียนด้วยชุดฝึกทักษะการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิค TBL ร่วมกับเทคนิค KWL Plus มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
Research article

References

กาญจนา แก้วสี. (2555). การสอนการจัดการเรียนรู้แบบเน้นงานปฏิบัติเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนคลองบางพรหม. วิทยานิพนธ์ ค.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

จรัสศรี พาเทพ. (2558). การเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและเจตคติต่อการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างการเรียนรู้ด้วยเทคนิค TBL และเทคนิค KWL PLUS. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

จิตรลดา คนยืน. (2550). การใช้กลวิธีการสอนแบบ KWL Plus เพื่อพัฒนาการสอนการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ ค.ม. อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

จิราพร ประพัศรานนท์ และคณะ. (2556). การพัฒนาการเรียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบเน้นงานปฏิบัติ (Task-based learning)ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. ใน วารสารการศึกษาและพัฒนาสังคม, 10(1), 186.

นิรมล วรมัด. (2551). การพัฒนาการเรียนภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบเน้นงานปฏิบัติ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

มยุรี ธานี. (2551). การพัฒนาชุดฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ ค.ม.อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

นภาพร แก้วแสง. (2558). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการสอนอ่านแบบ K-W-L Plus เรื่อง All Around Us กับวิธีสอนปกติ. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เพียงพิศ เล็กน้อย. (2559). รายงานผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะภาษาอังกฤษ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3.เข้าถึงได้จาก http://www.donsakwit.ac.th/joomla/.(9 พฤษภาคม 2561).

มนภรณ์ ใจรอบรู้. (2551). การพัฒนาผลการเรียนรู้ด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWL-PLUS. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เยาวภา ดาศรี. (2560). รายงานผลการพัฒนาชุดฝึกทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารเรื่อง My Lifestyle กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านสายตรี. เข้าถึงได้จาก http://webboard.guru.sanook.com/forum/?topic=490105. (9 พฤษภาคม 2561).

โรงเรียนชุมชนดงมะไฟเจริญศิลป์. (2559). รายงานการปฏิบัติงาน (SAR) ประจำปี 2559.สกลนคร: โรงเรียนชุมชนดงมะไฟเจริญศิลป์.

ลัดดา พลหาญ. (2550). การสร้างแบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ในรายวิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ ค.ม. ฉะเชิงเทรา: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

ลัดดา หวังภาษิต. (2556). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ภาษาอังกฤษที่เสริมสร้างความสุขในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาโรงเรียนสาธิต สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์, 24(3), 139-142.

วิเชียร อินทรสมพันธ์. (2550). คุณภาพชีวิตของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

วิพารุณี ซ่อนเจริญ. (2555). การพัฒนาทักษะทางไวยากรณ์ภาษาอังกฤษโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียน ของนักเรียนชั้น ปวช.1แผนกวิชาช่างซ่อมบำรุง วิทยาลัยการอาชีพฝาง. เชียงใหม่: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษากระทรวงศึกษาธิการ.

สมเกียรติ อ่อนวิมล. (2555) .บันทึกอาเซียน. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก http://www.mfa.go.th/business/ (12 พฤศจิกายน 2560).

สายทิพย์ แก้วอินทร์. (2548). การเรียนรู้อย่างมีความสุขกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ศึกษาศาสตร์). วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุภัทรา ราชายนต์. (2551). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบเน้นงานปฏิบัติที่มีต่อความสามารถด้านการเขียนภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์. สารนิพนธ์ ศศ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อารยา เครือศิริ. (2551). การพัฒนาชุดฝึกทักษะการเขียนตามโครงสร้างไวยากรณ์ในประโยค สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

Carr, E. and D. Ogle. (1987). K-W-L Plus: A strategy for Comprehension and Summarization. Journal of Reading, 30, 626-631.