สมรรถนะของผู้บริหารกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา เครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษา ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 6 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ

Main Article Content

ชริกา ไชยเดช

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะของผู้บริหารในสถานศึกษาเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษา ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 6 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ 2) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษา ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 6 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ และ3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารกับ
ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา เครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 6 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารและครูผู้สอนในสถานศึกษา เครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษา ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 6 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จำนวน 182 คน จากศูนย์การศึกษาพิเศษ 6 ศูนย์ ตามสัดส่วนประชากรในแต่ละศูนย์ โดยการเทียบสัดส่วนและใช้การสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) ด้วยวิธีการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่มีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย 1. สมรรถนะของผู้บริหารสมรรถนะของผู้บริหาร ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} =4.38) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการทำงานเป็นทีม อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} =4.43) รองลงมาคือ ด้านการพัฒนาตนเอง อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} =4.40) ด้านการบริการที่ดีอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x} =4.39) และด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ อยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x}=4.30) ตามลำดับ 2. ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของครูประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของครู ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} =4.30) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าสูงเฉลี่ยสูงสุด คือด้านคุณภาพอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} =4.34) รองลงมาคือ ด้านวิธีการอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} =4.32) ด้านต้นทุนอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x} =4.30) ด้านปริมาณอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x}=4.29) และด้านเวลาอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} =4.27) ตามลำดับ
3. ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา เครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษา ศูนย์การศึกษาพิเศษเขตการศึกษา 6 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) อยู่ระหว่าง 0.46-0.63 อยู่ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
Research article

References

ขจรศักดิ์ โฮมราช. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1. วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการบริหารการศึกษา), มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด.

ชัยณรงค์ คำภูมิหา. (2556). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25.วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต (สาขาวิชาการบริหารการศึกษา) บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ฐิติกาญจน์ คงชัยและกาญจนา บุญส่ง. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการปฏิบัติงานของครูในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา ในจังหวัดเพชรบุรี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี.

ธชวรรณ สุทธาธาร. (2556). สมรรถนะของผู้บริหารกับคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา), มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (2559). งานประกันคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

อุทัย ภักดีประยูรวงศ์. (2556). สมรรถนะผู้บริหารโรงเรียนในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20. การศึกษาอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. Minnesota: Minnesota Nest Publisthing.