การศึกษาผลการวิเคราะห์ความลำเอียงของแบบทดสอบ Pre O-NET ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 ด้วยวิธีการวิเคราะห์ที่แตกต่างกัน

Main Article Content

วัชราวลัย คำทะเนตร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาผลการวิเคราะห์ความลำเอียงของแบบทดสอบ Pre O-NET ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 ปี การศึกษา 2560 มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาการวิเคราะห์ความลำเอียงของข้อสอบ 2 วิธี คือ วิธีแปลงค่าความยาก และวิธีใช้ค่าอำนาจจำแนก 2) เพื่อทราบถึงจำนวนข้อสอบที่มีความลำเอียง โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ที่แตกต่างกัน และเพื่อชี้ให้เห็นถึงความลำเอียงของแบบทดสอบ Pre O-NET ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความลำเอียงของข้อสอบ 2 วิธี คือ วิธีการแปลงค่า ความยาก และการใช้ค่าอำนาจจำแนก ผลการวิจัยพบว่า
ในรายวิชาคณิตศาสตร์มีข้อสอบปรนัยจำนวน 17 ข้อ ทำโดยวิธีการแปลงค่าความยาก พบว่ามีข้อสอบที่มีความลำเอียง 10 ข้อ คิดเป็นร้อยละ 58.82 และวิธีใช้ค่าอำนาจจำแนก พบว่ามี ข้อสอบที่มีความลำเอียง 15 ข้อ คิดเป็นร้อยละ 88.24 ในรายวิชาวิทยาศาสตร์มีข้อสอบที่เป็นข้อสอบปรนัยจำนวน 22 ข้อ ทำโดยวิธีการแปลงค่าความยาก พบว่ามีข้อสอบที่มีความลำเอียง 16 ข้อ คิดเป็นร้อยละ 72.73 และวิธีใช้ค่าอำนาจจำแนก พบว่ามีข้อสอบที่มีความลำเอียง 20 ข้อ คิด
เป็นร้อยละ 90.91 ในรายวิชาภาษาไทยมีข้อสอบปรนัย 30 ข้อ ทำโดยวิธีการแปลงค่าความยาก พบว่ามีข้อสอบที่มีความลำเอียง 22 ข้อ คิดเป็นร้อยละ 73.33 และวิธีใช้ค่าอำนาจจำแนก พบว่ามี ข้อสอบที่มีความลำเอียง 24 ข้อ คิดเป็นร้อยละ 80.00 ในรายวิชาภาษาอังกฤษมีข้อสอบปรนัย 30 ข้อ ทำโดยวิธีการแปลงค่าความยาก พบว่ามีข้อสอบที่มีความลำเอียง 23 ข้อ คิดเป็นร้อยละ 76.67 และวิธีใช้ค่าอำนาจจำแนก พบว่ามีข้อสอบที่มีความลำเอียง 24 ข้อ คิดเป็นร้อยละ 80.00 จากการวิเคราะห์สรุปผลได้ว่า วิธีใช้ค่าอำนาจจำแนกสามารถบอกจำนวนข้อสอบที่มี ความลำเอียงได้มากกว่าวิธีการแปลงค่าความยาก

Article Details

How to Cite
วัชราวลัย คำทะเนตร. (2022). การศึกษาผลการวิเคราะห์ความลำเอียงของแบบทดสอบ Pre O-NET ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 ด้วยวิธีการวิเคราะห์ที่แตกต่างกัน. วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, 4(7), 68–76. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/EJFE/article/view/870
บท
Research article

References

จิตสุดา ธราพร. (2539). การเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ความลำเอียงของข้อสอบจากแบบทดสอบโจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และแบบทดสอบความเข้าใจทางภาษา.วิทยานิพนธ์ปริญญาการ ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต(วัดผลการศึกษา), มหาวิทยาศรีนครินทรวิโรฒ.

ชิตเมธา ทาสมบูรณ์. (2539). การวิเคราะห์ความลำเอียงของข้อสอบจากแบบสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในกลุ่มวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (วัดและประเมินผลการศึกษา), มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ประเสริฐ จันต๊ะไพร. (2546). การวิเคราะห์ความลำเอียงของข้อสอบตามทฤษฎีคลาสิคอล 5 วิธี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การวัดผลการศึกษา), มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุนันท์ สีพาย. (2558). เอกสารประกอบการสอนวิทยาการวิจัย. ชัยภูมิ. สถานบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎชัยภูมิ.

สุภาภรณ์ แดงเพ็ง. (2553). การเปรียบเทียบความลำเอียงของแบบทดสอบคณิตศาสตร์ในการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับท้องถิ่น ในชั้นประถมศึกษาปี ที่ 5 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปัตตานี เขต 2 ระหว่างวิธีแมนเทล-แฮนส์เซลและโค้งลักษณะข้อสอบ 3 พารามิเตอร์. ปริญญานิพนธ์ศึกษาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต(การวัดผลและการวิจัยการศึกษา), มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สุรศักดิ์ อมรรัตนศักดิ์. (2550). ความลำเอียงของข้อสอบ. ใน วารสารรามคำแหง, ปีที่ 24 (ฉบับที่4),74-78.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ.2560. กระทรวงศึกษาธิการ : [ม.ป.ท].

สำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน. [ม.ป.ป.]. แนวทางการใช้ข้อสอบ Pre O-NET ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. [ม.ป.ท.: ม.ป.พ.].

Ruder, L.M., & other. (1980). A Monte Carlo Comrarison of Seven Biased Item Detection Technigues. Journal of Educational Measrement, 80 (17),1-10.