การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างความสามารถตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริมทักษะการสื่อสารในสังคมออนไลน์ สำหรับนักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร

Main Article Content

ศุภรดา สุขประเสริฐ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างความสามารถตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมทักษะการสื่อสารในสังคมออนไลน์ (Social Media) สำหรับนักศึกษาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนา (Research and Development)กลุ่มทดลองได้แก่ นักศึกษาสาขาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร ชั้นปีที่ 2 ลงทะเบียนเรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ หลักสูตรเสริมสร้างและเอกสารประกอบหลักสูตรและเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบทดสอบความรู้ แบบประเมินทักษะ และแบบวัดเจตคติ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการสร้างและตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นมี 8 องค์ประกอบ พบว่าหลักสูตรมีความเหมาะสมและสอดคล้องอยู่ในระดับมาก ผลการทดลองนำร่อง (Pilot Study) พบว่ามีความเหมาะสมสามารถนำไปพัฒนาได้ 2) ผลการทดลองใช้หลักสูตรพบว่า คือ 2.1) นักศึกษามีความรู้การสื่อสารในสังคมออนไลน์หลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2) นักศึกษามีผลการประเมินการทักษะการสื่อสารในสังคมออนไลน์ หลังการพัฒนาสูงกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 70 2.3) นักศึกษามีเจตคติต่อทักษะการสื่อสารในสังคมออนไลน์ หลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนา 3) ผลการประเมินความคิดเห็นต่อหลักสูตรเสริมสร้างความสามารถตามหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมทักษะการสื่อสารในสังคมออนไลน์ (Social Media) สำหรับนักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
Research article

References

กนกอร ปราชญ์นคร. (2550). การพัฒนาหลักสูตรอบรมเสริมสร้างสมรรถนะข้าราชการประจำศูนย์. ปฏิบัติการต่อสู้เอาชนะยาเสพติดจังหวัด. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. 2546. การคิดเชิงบูรณาการ. กรุงเทพฯ : บริษัทซัคเซส มีเดีย.

เขมณัฏฐ์ มิ่งศิริธรรม. (2557). Social media สื่อสร้างสรรค์เพื่อการศึกษา. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม2559, จากhttp://www.ejournal.su.ac.th/upload/556.pdf.

คันศร คงยืน. (2552). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสรรถนะหัวหน้าศูนย์บ่มเพาะอาชีวศึกษาในวิทยาลัย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.วิทยานิพนธ์ ศษ.ด., มหาวิทยาลัยวงษ์เชาวลิตกุล, นครราชสีมา.

ณัฐพล บัวอุไร. (2555). ผลการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ตามทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง วิชาการสร้างงานสื่อผสม เรื่องคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการลำลูกกา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการวิจัยและประเมินทางการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ธนะวัฒน์ วรรณประภา. (2560) .สื่อสังคมออนไลน์กับการศึกษา.นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

มนต์นัทธ์ เลิศเกียรติดารงค์. (2553). การวิเคราะห์และการพัฒนาการออกแบบแผ่นป้ายโฆษณาบนอินเทอร์เน็ต (การค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

วารีรัตน์ แก้วอุไร และคณะ. (2554). รายงานการวิจัยการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในรายวิชาชีพครู กลุ่มมหาวิทยาลัยภาคเหนือ. พิษณุโลก: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วิจิตร อาวะกุล. (2540). การฝึกอบรม. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สงัด อุทรานันท์. (2532). พื้นฐานและหลักการพัฒนาหลักสูตร (พิมพ์ครั้งที่3). กรุงเทพฯ: มิตรสยาม.

สุวัฒน์ วิวัฒนานนท์ . (2560). การพัฒนาทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความโดยใช้รูปแบบพหุระดับ ระดับโรงเรียน ห้องเรียน และนักเรียน . วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยบูรพา ปีที่ 17 ฉบับที่ 3 (ก.ค.-ก.ย. 2557) หน้า 46-61.

แสงเดือน ผ่องพุฒ. (2556). สื่อสังคมออนไลน์: แนวทางการนำมาประยุกต์ใช้. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม2559, จาก http://library.senate.go.th/document/Ext6685/668599.pdf.

อุทุมพร หล่อสมฤดี. (2545). รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรโรงเรียน. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Lionberger, H. F. (1960). Adoption ofNew Ideas and Practices. Ames, IA: Iowa State University.

Solis, B. (2016). The conversation prism. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2559, จาก https://conversationprism.com/.

Taba, Hilda. (1962). Curriculum development : theory and practice. New York: Harcout Brace and world.