ศรัทธา 4 กับการพัฒนาจิตวิญญาณความเป็นครู : นิยามองค์ประกอบ และการประยุกต์ใช้

Main Article Content

มนตรี หลินภู
พระฟูตระกูล พุทธรักขิโต (หลินภู)

บทคัดย่อ

บทความวิชาการฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอนิยาม องค์ประกอบจิตวิญญาณความเป็นครูและหลักศรัทธา 4 ในพระพุทธศาสนารวมถึงการประยุกต์ใช้เพื่อบ่มเพาะความรัก ความศรัทธาในวิชาชีพครูซึ่งถือเป็นเป้าหมายสำคัญในการพัฒนาจิตวิญญาณความเป็นครู หากครูมีความรักและเชื่อมั่นในอาชีพครูแล้วจะทำให้เป็นบุคคลที่ทุ่มเท เสียสละ มุ่งมั่นเพื่อพัฒนาตนเอง วิชาชีพรวมถึงพัฒนาผู้เรียนทั้งด้านวิชาการและวิชาชีวิต รู้จักใช้ชีวิตให้เป็นแบบอย่างกับคนอื่น ประพฤติตนสมกับสังคมยกย่องให้เกียรติ การเข้าถึงจิตวิญญาณความเป็นครูจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องอาศัยความรักความศรัทธา การประยุกต์หลักศรัทธา 4 ประการ ในทางพระพุทธศาสนามาใช้บ่มเพาะเพื่อให้นักศึกษาครู ครูฝึกหัดหรือครูประจำการได้ใช้เป็นแนวทางในพัฒนาตนเองจะช่วยให้จิตวิญญาณของครูสูงส่ง ประกอบด้วย 1) เชื่อมั่นว่าทุกการกระทำ (กัมมสัทธา) โดยเจตนาจะทำให้เกิดผลตามมา ครูจึงต้องตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ของตัวเองอย่างเต็มกำลังความสามารถเพราะทุกการกระทำจะไม่ไร้ผล 2) เชื่อมั่นในผลของการกระทำ (วิปากสัทธา) ทุกผลลัพธ์ย่อมเกิดจากสาเหตุ ใช่ความบังเอิญไม่ ครูจึงต้องเชื่อมั่นว่าหากทำด้วยความมุ่งมั่นย่อมนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ต้องการได้ 3) เชื่อมั่นว่าแต่ละคนมีการกระทำเป็นของตัวเอง (กัมมัสสกตาสัทธา) ตัวเราทำอะไรไว้ ย่อมได้รับผลนั้น ไม่มีใครรับผลกรรมแทนได้ ครูจึงต้องเชื่อในการกระทำของตัวเอง มุ่งพัฒนาตนเองเชิงบวกทั้งทักษะ พฤติกรรม การคิด และเจตคติ และ 4) เชื่อมั่นว่าหากตั้งใจทำ สักวันหนึ่งต้องบรรลุเป้าหมาย (ตถาโพธิสัทธา) กล่าวคือ เข้าถึงความเป็นครูที่ประกอบด้วยความรัก ความเมตตาและความยุติธรรม    

Article Details

บท
Academic article

References

กาญจนา คุณารักษ์ (2561). สู่ความเป็นครูมืออาชีพ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 7(2), 1-7.

กัญภร เอี่ยมพญา นิวัตต์ น้อยมณี อภิชาต อนุกูลเวช และ ดาวประกาย ระโส. (2564). จิตวิญญาณครูในศตวรรษที่ 21. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์, 8(2), 398-409.

กิตติชัย สุธาสิโนบล. (2564). ครูมืออาชีพ จิตวิญญาณแห่งศาสตร์และศิลป์ของความเป็นครู. กรุงเทพฯ:คอมเมอร์.

ชุติมา ธรรมรักษา. (2566, กรกฎาคม 2). ครูพันธุ์ใหม่ในยุคปฏิรูปการศึกษา. [Online]. Available : https://www.bu.ac.th/knowledgecenter/executive_journal/oct_dec_06/oct_dec _06/Executive%20Journal_112-115.pdf. [2566, กรกฎาคม 2].

นิวัตต์ น้อยมณี และ กัญภร เอี่ยมพญา. (2560). จิตวิญญาณครู. นนทบุรี:21 เซ็นจูรี่.ปริยาภรณ์ ตั้งคุณานันต์. (2561). ความเป็นครูมืออาชีพ. กรุงเทพฯ:มีน เซอร์วิส ซัพพลาย.

พระครูวินัยวรชัด ปยุตโต. (2560). การสร้างศรัทธาในพระพุทธศาสนา. วารสารคณะรัฐศาสตร์และรัฐ ประศาศนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 2(1), 83-100.

พระครูสังฆรักษ์จักรกฤษณ์ ภูริปัญโญ พระครูโสภณพุทธิศาสตร์ พระครูโอภาสนนทกิตติ์ สมศักดิ์ บุญปู่ และ พีรวัฒน์ ชัยสุข. (2562). จิตวิญญาณความเป็นครูมืออาชีพ. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(1), 31-37.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 34). กรุงเทพฯ:มูลนิธิการศึกษาเพื่อสันติภาพ.

พระมหาตุ๋ย ขันติธัมโม(คำหน่อ) และ พระสมุห์พุฒิพงษ์ พุทธิวังโส(กล่ำทวี). (2564). บทบาทครูในศตวรรษที่ 21 ครูผู้สร้างคน. วารสารภาวนาสารปริทัศน์, 1(3), 13-26.

พระอธิการสมพร อนาลโย พระสุวิจักษ์ โชติวโร และ อิสรพงษ์ ไกรสินธุ์. (2562). วิเคราะห์ศรัทธาในระบบความเชื่อจากคำสอนของพระพุทธศาสนา. วารสารนัมฎองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์, 6(1), 91-103.

ภาวิดา มหาวงศ์ พาสนา จุลรัตน์ อนุ เจริญวงศ์ระยับ และ ช่อลัดดา ขวัญเมือง. (2562). การพัฒนาแบบวัดจิตวิญญาณความเป็นครูของนักศึกษาวิชาชีพครูมหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารหาดใหญ่วิชาการ, 17(2), 201-220.

มนตรี หลินภู. (2566). จิตวิทยาเพื่อการเรียนรู้. กำแพงเพชร:ครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

มลิวัลย์ สมศักดิ์ นิตยารัตน์ คงนาลึก ทิพวรรณ ทองขุนดำ และ รพีพรรณ อักษราวดีวัฒน์. (2561). องค์ประกอบและตัวชี้วัดจิตวิญญาณความเป็นครูของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 11(1), 51-58.

รักษิต สุทธิพงษ์. (2563). จิตวิญญาณและอุดมการณ์ความเป็นครู. กรุงเทพฯ:ดีเซมเบอรี่.

ราชกิจจานุเบกษา. (2556). ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. 2556. เล่ม 130,ตอนพิเศษ 130 ง, 72-74.

ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย. (2560). สูตินรีแพทย์สัมพันธ์ มาตรฐานและจริยธรรมเพื่อสุขภาวะของสตรี. ปีที่ 26 ฉบับที่ 2 กุมภาพันธ์ 2560.

รุ้งลาวัณย์ จันทรัตนา. (2566). คุณลักษณะสำคัญและรูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะครูนักพัฒนา. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 18(2), 131-141.

วัลนิกา ฉลากบาง. (2559). จิตวิญญาณความเป็นครู: คุณลักษณะสำคัญของครูมืออาชีพ. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 6(2), 123-128.

หิน เหล็ก ไฟ. (2566, กรกฎาคม 2). ศรัทธา. [Online]. Available : https://dekgenius.com/lyrics/thaisong/thailyricsonline-id-2677.htm.[2566, กรกฎาคม 2]

อนุสรณ์ จันทร์ประทักษ์ และ จันทร์เพ็ญ ภูโสภา. (2563). การเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นครูด้านความรักและศรัทธาในวิชาชีพครูสำหรับนักศึกษาครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 17(1), 543-555.

Madelo, Nelia Quisay. (2015). The Influence of spirituality of Teachers and Moral Values of Students on the 21st century skills development of students. International Journal of Novel Research in Education and Learning, 2(4), 22-61.