การประเมินโครงการห้องสมุดมีชีวิต ของโรงเรียนศรีเทพประชาสรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูรณ์เข

Main Article Content

กุสุมา กรองทิพย์
ภูมิพิพัฒน์ รักพรมงคล

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินโครงการห้องสมุดมีชีวิต ของโรงเรียนศรีเทพประชาสรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 40 โดยประเมินปัจจัยนำเข้า ประเมินกระบวนการดำเนินงาน และประเมินผลผลิตของโครงการ และเพื่อหาแนวทางพัฒนาโครงการห้องสมุดมีชีวิต ของโรงเรียนศรีเทพประชาสรรค์ สังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 40 แหล่งข้อมูล ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ รวมทั้งสิ้น 337 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนรวม จำนวน 49 คน นักเรียน จำนวน 285 คนและผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 คน มีแบบสอบถามสำหรับผู้บริหารและครู จำนวน 30 ชุด นักเรียน จำนวน 30 ชุด รวมทั้งสิ้น 60 ชุด แบบสัมภาษณ์สำหรับผู้บริหารและครู จำนวน 30 ชุด ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการประเมินโครงการห้องสมุดมีชีวิตของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 40 แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ดังนี้ ผลการประเมินความเหมาะสมด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการสรุปโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านบุคลากรดำเนินงาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านทรัพยากรสารสนเทศ และด้านสถานที่ ตามลำดับ ผลการประเมินความเหมาะสมด้านกระบวนการดำเนินงานของโครงการสรุปโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้าน D = Do (ปฏิบัติ) มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ซึ่งผลการประเมินตามเกณฑ์ผ่านเกณฑ์ทุกข้อ ผลการประเมินความเหมาะสมด้านผลผลิตของโครงการสรุปโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ได้แก่ นักเรียนรู้จักใช้ห้องสมุดเป็นแหล่งเรียนรู้ในการค้นคว้าหาข้อมูล และได้รับประโยชน์กับการใช้ห้องสมุด รองลงมาคือนักเรียนได้รับความรู้และประโยชน์จากการเข้าร่วมโครงการ และนักเรียนได้รับการพัฒนาทักษะการคิด และเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ตามลำดับ
2. แนวทางพัฒนาการประเมินโครงการห้องสมุดมีชีวิต ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 40 แนวทางการพัฒนาด้านปัจจัยเบื้องต้น สรุปได้ดังนี้ ด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ ด้านบุคลากรดำเนินงาน ได้แก่ ควรพัฒนาครูให้มีความเข้าใจในวัตถุประสงค์ และสามารถดำเนินโครงการ ให้บรรลุเป้าหมาย ด้านทรัพยากรสารสนเทศ การพัฒนาให้มีวัสดุ อุปกรณ์ ให้มีความสอดคล้องและเพียงพอต่อการดำเนินกิจกรรม ด้านสถานที่วิเคราะห์ความพร้อมของโรงเรียนด้านอาคารสถานที่เพื่อออกแบบกิจกรรมได้อย่างเหมาะสม แนวทางการพัฒนาโครงการ ได้แก่ ด้าน P=Plan (วางแผน) ทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการผู้รับผิดชอบและจัดทำโครงสร้างบุคลากร ด้าน D = Do (ปฏิบัติ) มีกิจกรรมที่ส่งเสริมการอ่าน ด้าน C = Check(ตรวจสอบการปฏิบัติตามแผน) จัดทำแผนบูรณาการการใช้ห้องสมุด ด้าน A = Action (ปรับปรุงแก้ไข) ประเมินผลการเรียนรู้เน้นการตามสภาพจริงด้วยวิธีการที่หลากหลาย มีการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการนำเสนอผลงานที่ประสบผลสำเร็จและมีการจัดทำรายงานผลการเรียนรู้ของนักเรียน

Article Details

How to Cite
กุสุมา กรองทิพย์, & ภูมิพิพัฒน์ รักพรมงคล. (2022). การประเมินโครงการห้องสมุดมีชีวิต ของโรงเรียนศรีเทพประชาสรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูรณ์เข. วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, 5(10), 1–13. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/EJFE/article/view/925
บท
Research article

References

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). สรุปผลการดำเนินงาน 9 ปีของการปฏิรูปการศึกษา (พ.ศ. 2542-2551). กรุงเทพฯ : วี.ที.ซี. คอมมิวนิเคชั่น.

สุนันท์ อินทนิล. (2555). ห้องสมุดมีชีวิตในบริบทของ สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยทักษิณ. สงขลา : มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ปิยะธิดา วงศ์ประสิทธิ์. (2558). การประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของโรงเรียนนาบ่อคำวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41. มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร.

อำนาจ บุญทรง. (2559). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ รายวิชาคณิตศาสตร์ตามทฤษฎีการสร้างสรรค์ความรู้. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ปัญญา สุขแสน. (2559). การพัฒนาห้องสมุดมีชีวิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

Likert, R. (1967). The Human Organization: Its Management and Value. New York:McGraw- Hill Book.