การใช้สื่อนิทานเพื่อยกระดับการเรียนการสอนภาษาไทยของโรงเรียน หนองบัวราษฎร์บำรุง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร

Main Article Content

จิรัฎฐ์ เพ็งแดง
กษมา สุรเดชา
รุ่งณภา บุญยิ้ม

บทคัดย่อ

ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้นักเรียนโรงเรียนหนองบัวราษฎร์บำรุง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4–6 จำนวน 33 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ 1. ชุดนิทานพื้นบ้านเพื่อยกระดับการเรียนการสอนภาษาไทยสำหรับ โรงเรียนหนองบัวราษฎร์บำรุงนำมาจากการวิจัยเรื่องการจำแนกนิทานพื้นบ้านไทดำจากการขับสายแปงของชาติพันธุ์ไทดำ ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร ของจิรัฎฐ์ เพ็งแดงและคณะ (2560) จำนวน 25 เรื่อง 2. แบบทดสอบความรู้เรื่องการจับใจความสำคัญจากนิทานพื้นบ้านไทดำ 3. แบบประเมินความพึงพอใจการจัดกิจกรรม การใช้สื่อนิทานเพื่อยกระดับการเรียนการสอนภาษาไทยของโรงเรียนหนองบัวราษฎร์บำรุง ผลการวิจัยพบว่า นิทานพื้นบ้านชาวไทดำทั้ง 25 นี้เรื่องสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนภาษาไทยของนักเรียนในระดับชัน ป. 4 - 6 ได้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยเรื่องการจับใจความสำคัญโดยใช้นิทานเป็นสื่อก่อนเรียน มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.96 และหลังเรียน มีค่าเฉลี่ย 7.06 และนักเรียนมีความพึงพอใจโดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.66 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.35 ส่วนความพึงพอใจในด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ สามารถอธิบายเนื้อหาได้ชัดเจนและตรงประเด็น อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.61 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.63 และส่วนความพึงพอใจในด้านกระบวนการ/ขั้นตอนการให้บริการ การถ่ายทอดความรู้ของวิทยากรมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.52 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.45

Article Details

How to Cite
จิรัฎฐ์ เพ็งแดง, กษมา สุรเดชา, & รุ่งณภา บุญยิ้ม. (2022). การใช้สื่อนิทานเพื่อยกระดับการเรียนการสอนภาษาไทยของโรงเรียน หนองบัวราษฎร์บำรุง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, 5(10), 14–23. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/EJFE/article/view/926
บท
Research article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสารการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยตามหลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด: กรุงเทพมหานคร.

กรรณิการ์ มโนวงค์. (2558). การพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6ที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน โรงเรียนปรินส์รอยแยลล์วิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่. รายงานผลงานวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนปรินส์รอยแยลล์วิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่: เชียงใหม่.

จุไรรัตน์ ลักษณะศิริและบาหยัน อิ่มสำราญ. (2547). การใช้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ : พี.เพรส.

จิรัฎฐ์ เพ็งแดงและคณะ ฯ (2560) . นิทานพื้นบ้านจากการขับสายแปงของชาติพันธุ์ไทดำ ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร. โปรแกรมวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์.

อรินทร เหล่าทอง (2561). การใช้นิทานเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่อง การสร้างคำ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2 โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) 4 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร.

Somprayoon, W. (2001). Teaching Thai in elementary level. Journal, 4 (11), 55.(in Thai).

Khuhapinant, C. (1999). Reading Techniques. Bangkok: Sinrapabannakarn.(in Thai).