การพัฒนาการเรียนรู้ 12 tenses โดยการสร้างความคิดรวบยอด สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา

Main Article Content

บัณฑิต ฉัตรวิโรจน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากระบวนการสร้างความคิดรวบยอดประกอบการเรียนรู้ 12 tense สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา 2)เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังเรียน จากกระบวนการสร้างความคิดรวบยอดของนักเรียนประถมศึกษา 3)เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อกระบวนการสร้างความคิดรวบยอดประกอบการเรียนรู้ ประชากรคือนักเรียนระดับประถมศึกษา ในจังหวัดตาก สังกัดสำนักงานการศึกษาจังหวัดตาก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียนชุมชนบ้านป่ามะม่วง จำนวน 28 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multistage Stage sampling) เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย กระบวนการสร้างความคิดรวบยอด แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังเรียน แบบสังเกตความพึงพอใจ โดยใช้สถิติวิเคราะห์ดังนี้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test ผลการวิจัยเป็นดังนี้ 1. การพัฒนากระบวนการสร้างความคิดรวบยอดประกอบการเรียนรู้ 12 tenses ผลการประเมินความเหมาะสมของสื่อและเนื้อหาประกอบการจัดการเรียนรู้ ระดับความเหมาะสมในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายประเด็นส่วนใหญ่มีเนื้อหาที่เหมาะสระดับมากที่สุดเช่นกัน 2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังเรียน 12 tenses คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ความพึงพอใจของนักเรียนระดับประถมศึกษาต่อการเรียนรู้ 12 Tenses ด้วยการสร้างความคิดรวบยอด พบว่า การทำกิจกรรมร่วมกับคนอื่นได้อย่างมีความสุขและสนุกสนานและสามารถจดจำเนื้อหาที่เรียนไปได้อย่างถาวร ซึ่งสอดคล้องกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้อย่างเป็นรูปธรรม

Article Details

บท
Research article

References

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2546). การคิดเชิงมโนทัศน์. กรุงเทพฯ : บริษัท ซัคเซส มีเดีย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่7. กรงเทพฯ : สุวีริยาสาสน์.

สุรินทร์ มูลคำ. (2547). ครบเครื่องเรื่องการคิด. (พิมพ์ครั้งที่ 2). พิมพลักษณ์, กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

อัจฉรา วงศ์โสธร. (2527). การสร้างข้อสอบวัดความสามารถในการสื่อความหมายทางภาษา (Pragmatic Communicative) กับการทดลองทางภาษาระดับ Advanced ความ สอดคล้องระหว่างข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยหลักสูตรภาษาอังกฤษ และแนวโน้มในการ เรียนการสอนภาษาอังกฤษ. จุฬาลงกรณ์หมาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์หมาวิทยาลัย.

Gardner, L. (2013). Exploring Vocabulary: Language in Action. New York: Routledge.

Pazaver, A. & Wang, H. (2009). Asian Students’ Perceptions of Grammar Teaching in the ESL Classroom. The International Journal of Language Society and Culture, 27, 27-35.

Swatevacharkul, R. (2006). The Effects of Degrees of Support for Learner Independence through Web-Based Instruction and Level of General English Proficiency on English Reading Comprehension Ability of Second Year Undergraduate Learners. Degree of Doctor of Philosophy Program in English as an International Language. Chulalongkorn University. Bangkok.