ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์และ ความฉลาดทางจิตวิญญาณกับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41 จังหวัดพิจิตร

Main Article Content

กองแก้ว เมทา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความฉลาดทางอารมณ์ความฉลาดทาง จิตวิญญาณ และประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41 จังหวัดพิจิตร 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์และความฉลาดทางจิตวิญญาณกับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41 จังหวัดพิจิตร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41 จังหวัดพิจิตร จำนวน 284 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า 1. ระดับความฉลาดทางอารมณ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ความฉลาดทางจิตวิญญาณโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์กับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครู โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และความฉลาดทางจิตวิญญาณกับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครู โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
Research article

References

กร ศิริโชควัฒนา. (2551). E.Q.บริหารอารมณ์อย่างฉลาด. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : ซิซินี อินเตอร์เนชั่นแนล.

กรมสุขภาพจิต. (2543). คู่มือความฉลาดทางอารมณ์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กัณณ์ วีระกรพานิช. (2559). ปัจจัยเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ โดยความฉลาดทางจิตวิญญาณของบุคลากรในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เป็น ตัวแปรส่งผ่าน. วิทยานิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ ภาควิชามนุษยศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

เทอดศักดิ์ เดชคง. (2546). ความฉลาดทางอารมณ์ จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่สอง. กรุงเทพฯ : มติชน.

ธีระศักดิ์ กำบรรณารักษ์. (2551). ชนะชีวิตคิดอย่างอัจฉริยะ. กรุงเทพฯ : บิสซี่เดย์.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และนักรบ หมี้แสน. (2560). ความเป็นครูและการพัฒนาครูมืออาชีพ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ราชกิจจานุเบกษา. (2556). ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ.2556. เล่มที่ 130 ตอนพิเศษ 130 ง วันที่ 4 ตุลาคม 2556.

วิเชียร ไชยบัง. (2562). จิตศึกษา พัฒนาภายใน. พิมพ์ครั้งที่ 7. บุรีรัมย์ : โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา.

วีระวัฒน์ ปันนิตามัย. (2551). เชาวน์อารมณ์ (EQ) : ดัชนีเพื่อความสุขและความสำเร็จของชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). คู่มือการปฏิบัติงานข้าราชการครู. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.

อรุณี นิลสาระคู. (2551). การศึกษาความสัมพันธ์ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับผลการปฏิบัติงานของครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต โปรแกรมวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

Bar-On, R. (1997). Emotional Quotient Inventory: A Measure of Emotional Intelligence. Toronto : Multi-Health System.

Emmons RA, Crumpler CA. (2000). Gratitude as human strength: Appraising the evidence. Journal of Social and Clinical Psychology.

Lam, L.T., and Kirby, S. L. (2002). “Is Emotional Intelligence and Advantage? An Exploration Of The Impact of Emotional and General Intelligence on Individual Performance”. Journal of Social Psychology.

Rashvand, Omid & Bahrevar, Elham. (2013). A Study of the Relationship among Spiritual intelligence, Organizational Citizenship Behavior and Turnover Intentions. International Journal of Research in Organizational Behavior and Human Resource Management, Vol. 1, No. 2.

Salovey, D. and Mayer, J.D. (1990). “Emotional Intelligence”. Imagination, Congnition and Personality. New York : Basic Books.