ผลของการจัดกิจกรรมการใช้นิทานประกอบผังกราฟิกที่มีต่อ การคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย

Main Article Content

จุฑาทิพย์ โอบอ้อม
พัทธนันท์ วงษ์วิชยุตม์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการใช้นิทานประกอบผังกราฟิก กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาล 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนวัดฤกษ์หร่ายสามัคคี จังหวัดกำแพงเพชร จำนวนทั้งสิ้น 23 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบไปด้วยกิจกรรมการใช้นิทานประกอบผังกราฟิกที่มีต่อการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย แบบทดสอบการคิดวิเคราะห์สำหรับเด็กปฐมวัย แบบสังเกตพฤติกรรมการคิดวิเคราะห์สำหรับเด็กปฐมวัย แบบสัมภาษณ์การคิดวิเคราะห์สำหรับเด็กปฐมวัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า กิจกรรมการใช้นิทานประกอบผังกราฟิกที่มีต่อการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย คะแนนเฉลี่ยของการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย มีคะแนนเฉลี่ยก่อนการทดลองเท่ากับ 17.48 คะแนน และหลังการทดลองเท่ากับ 34.82 คะแนน การคิดวิเคราะห์สำหรับเด็กปฐมวัยหลังการทดลองรายด้าน ทุกด้านมีค่าคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น โดยด้านที่เพิ่มมากที่สุด คือ ด้านการจัดกลุ่ม คะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 4.52 รองลงมาด้านการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ คะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 4.47 และด้านที่คะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นน้อยที่สุด คือ ด้านการเปรียบเทียบ คะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 4.04 และผลจากสังเกตพฤติกรรม ผลการสัมภาษณ์ พบว่า กิจกรรมการใช้นิทานประกอบผังกราฟิกที่มีต่อการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยสามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของเนื้อเรื่องที่ได้จากนิทานไปสู่การปฏิบัติในชีวิตประจำวัน

Article Details

How to Cite
จุฑาทิพย์ โอบอ้อม, & พัทธนันท์ วงษ์วิชยุตม์. (2022). ผลของการจัดกิจกรรมการใช้นิทานประกอบผังกราฟิกที่มีต่อ การคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย. วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, 6(12), 15–23. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/EJFE/article/view/954
บท
Research article

References

กนกรัตน์ ศิริมาลกุล และสิริมา ภิญโญอนันตพงษ์. (2557). “ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับ การจัดกิจกรรมการเล่านิทานประกอบการใช้แผนผังมโนทัศน์” ใน วารสารวิชาการ บัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต. ปีที่ 10 (2), หน้า 321-328.

ปรีดา ปัญญาจันทร์ และชีวัน วิสาสะ. (2537). เล่านิทานอย่างไรให้สนุก. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แพรวเพื่อนเด็ก.

พรรณทิพา มีสาวงษ์. (2554). ผลของการจัดกิจกรรมการเล่านิทานประกอบการใช้คำถามที่มีต่อทักษะการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วรนาท รักสกุลไทย และคณะ. (2561). การใช้ผังกราฟฟิก (Graphic Organizer) เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ แฮปปี้ เลิร์นนิ่ง.

วิมวิภา วิบูลชาติ และปิยะนันท์ หิรัณย์ชโลทร. (2560). “ผลของการจัดกิจกรรมการใช้คำถามประกอบผังกราฟิกที่มีต่อการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย” ใน วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์. ปีที่ 32 (2), หน้า 104-109.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 (สำหรับเด็กอายุ 3-6 ปี). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์. (2553). การวัดและประเมินแนวใหม่ : เด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ : บริษัท สำนักพิมพ์ดอกหญ้าวิชาการ จำกัด.