การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อจับใจความสำคัญ โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง Hello Kitty สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนนาบ่อคำวิทยาคม จังหวัดกำแพงเพชร

Main Article Content

ณัฐพล แซ่ลี
พลอย แซ่ม้า
ถิรวิท ไพรมหานิยม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อจับใจความสำคัญโดยใช้เอกสารประกอบการเรียนเรื่อง Hello Kitty โดยมีนักเรียนอย่างน้อยร้อยละ 80 มีทักษะการอ่านผ่านเกณฑ์เฉลี่ย 80 และเพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อจับใจความสำคัญโดยใช้เอกสารประกอบการเรียนเรื่อง Hello Kitty กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 ที่เรียนรายวิชาภาษาอังกฤษเพิ่มเติม โรงเรียนนาบ่อคำวิทยาคม ปีการศึกษา 2562 จำนวน 27 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ และ 3. แบบแสดงความคิดเห็น วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อจับใจความสำคัญโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง Hello Kitty คิดเป็นร้อยละ 91.07 และนักเรียนที่มีคะแนนผ่านเกณฑ์คิดเป็นร้อยละ 88.88 ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือร้อยละ 80/80 2. ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อจับใจความสำคัญโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง Hello Kitty พบว่า ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
Research article

References

กมลวรรณ โคตรทอง. (2557). การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษจากนิทานอาเซียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ Storyline สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านเป้า (สำราญไชยวิทยา) จ.ชัยภูมิ. หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต.มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

กรมวิชาการ. (2542). การสังเคราะห์รูปแบบการพัฒนาศักยภาพของเด็กไทยด้านทักษะการสื่อสาร. กรุงเทพฯ : กรมฯ.

กาญจนา จันทะดวง. (2542). พฤติกรรมการสอนภาษาอังกฤษ. สกลนคร: สถาบันราชภัฏสกลนคร.

จิดาภา ฉันทานนท์. (2541). การสอนภาษาอังกฤษตามแนวคิดทฤษฎีโครงสร้างความรู้.วารสารวิชาการ, 1(11) 52-59.

สยามรัฐ ลอยพิมาย และ ชัยวัฒน์ วารี. (2557). ผลของการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา. หลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา, กรุงเทพฯ.

สมุทร เซ็นเชาวนิช. (2545). เทคนิคการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ (พิมพ์ครั้งที่ 11).กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุนันทา สุนทรประเสริฐ. (2544). การผลิตนวัตกรรมการเรียนการสอน การสร้างแบบฝึก. ชัยนาท:ชมรมพัฒนาความรู้ด้านระเบียบกฎหมาย.

สุมิตรา อังวัฒนกุล. (2537). วิธีการสอนภาษาอังกฤษ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ.

ศิริวรรณ พยาการ. (2561). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิค Learning Together (LT) เพื่อส่งเสริมการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. หลักสูตรวิทยาลัยครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต, กรุงเทพฯ.

อำไพพรรณ สวนสอน. (2559). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจสำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3. หลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร,พิษณุโลก.

Harris, A. J. and Sipay, E. D. (1979). How to Teach Reading. New York : Longman.