การพัฒนาแบบวัดทักษะในศตวรรษที่ 21 ด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา

Main Article Content

ปณิชา ชัยกุลภัทรโชติ
ปกรณ์ ประจันบาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างและตรวจสอบคุณภาพด้านความตรง อำนาจจำแนก และความเที่ยงของแบบวัดทักษะในศตวรรษที่ 21 ด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม และเพื่อสร้างเกณฑ์ปกติ (Norm) สำหรับการประเมินทักษะในศตวรรษที่ 21 ด้านการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 จำนวน 359 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่สร้างเป็นแบบมาตรประมาณค่า (rating scale) 3 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าความตรง ค่าอำนาจจำแนก ค่าความเที่ยง และค่าคะแนนมาตรฐานทีแบบการแจกแจงปกติ (Normal Distribution T – Score) และคะแนนมาตรฐานซี (Z - Score) ผลการวิจัยพบว่า แบบวัดที่พัฒนาขึ้นมีลักษณะเป็นแบบมาตรประมาณค่า 3 ระดับ จำแนกเป็น 3 องค์ประกอบได้แก่ ด้านความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม จำนวน 11 ข้อ ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา จำนวน 5 ข้อ ด้านการสื่อสารและการร่วมมือจำนวน 9 ข้อ รวม 25 ข้อ มีความตรงเชิงเนื้อหา มีค่า IOC ระหว่าง 0.56 – 0.78 มีอำนาจจำแนกตามเกณฑ์โดยมีค่าระหว่าง 0.32 ถึง 0.76 จากการวิเคราะห์ความตรงเชิงโครงสร้างพบว่าน้ำหนักองค์ประกอบของข้อคำถามทั้ง 3 องค์ประกอบมีค่าดังนี้ ด้านความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม มีค่าระหว่าง 0.225 – 0.412 ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและแก้ปัญหามีค่าระหว่าง 0.454 – 0.543 และด้านการสื่อสารและความร่วมมือมีค่าระหว่าง 0.313 – 0.443 ผลการวิเคราะห์ค่าความเที่ยง มีค่า 0.904 ซึ่งมีค่าอยู่ในระดับสูง แสดงว่าแบบวัดที่สร้างขึ้นมีข้อคำถาม 25 ข้อ คะแนนเต็ม 50 คะแนน คะแนนดิบระหว่าง 11.0 ถึง 47.0 คะแนน มีคะแนนเฉลี่ย 30.13 คะแนน และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 8.228 คะแนน คิดเป็นคะแนนมาตรฐานทีแบบการแจกแจงปกติ (Normal Distribution T – Score) ระหว่าง 26.75 ถึง 70.50 และคะแนนมาตรฐานซี (Z - Score) ระหว่าง -2.33 ถึง 2.05 เกณฑ์การประเมินผล แบ่งเป็น 4 ระดับ ได้แก่ ระดับดีมาก เมื่อมีคะแนน 37 คะแนนขึ้นไป ระดับดี เมื่อมีคะแนนระหว่าง 32 – 36 คะแนน ระดับพอใช้ เมื่อมีคะแนนระหว่าง 25 – 31 คะแนน และระดับปรับปรุง เมื่อมีคะแนน 24 ลงไปคะแนน

Article Details

บท
Research article

References

ทิศนา แขมมณี.(2555). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ทีมีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปกรณ์ ประจันบาน และ อนุชา กอนพ่วง. (2559). การวิจัยและพัฒนาแบบวัดทักษะในศตวรรษที่ 21 ด้านการรู้เท่าทันสื่อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 18(1), หน้า 144 – 154.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวรรณา ใจกล้า และจตุภูมิ เขตจัตุรัส. (2562). การพัฒนาชุดเครื่องมือประเมินทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ตามแนวคิดการประเมินที่ใช้การปฏิบัติเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย.[Online]. Available : https://app.gs.kku.ac.th/gs/th/publicationfile/item/20th-ngrc-2019/HMO30/HMO30.pdf [5 กรกฎาคม 2563]

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 – 2564. ม.ป.ท.

ไสว ฟักขาว. (ม.ป.ป.). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills). [Online]. Available : https://web.chandra.ac.th/blog/wp-content/uploads/2015/ทักษะแห่งศตวรรษที่-21-พับ.pdf. [30 มิถุนายน 2563].

Kay, K. (2010). 21st Century Skills: Why the Matter, What they are, and How We Get There. In Bellanca, J. & Brandt, R. (Eds.), 21st Century Skills: Rethinking How Students Learn. Bloomington, In: Solution Tree Press.

Martin, J. (2010). The Meaning of the 21st Century. Bangkok. L. T. P. The Partnership for 21st Century Skill. (2009). Framework for 21st Century Learning. Retrieved June 5, 2015, from http://21st Century skill. Org/index.php.

Partnership for 21st Century Skills (2011). Framework for 21st Century Learning. [Online]. Available : http://www.p21.org/storage/documents/1.__p21_framework_2-pager.pdf. [30 มิถุนายน 2563].