การออกแบบและพัฒนากระเป๋าเก็บอุปกรณ์ตัดผมวินเทจสำหรับพกพา

Main Article Content

สรยุทธ แสนสีจันทร์
สาธิต เหล่าวัฒนพงษ์

บทคัดย่อ

การออกแบบและพัฒนากระเป๋าเก็บอุปกรณ์ตัดผมวินเทจสำหรับพกพามีวัตถุประสงค์คือ ออกแบบและพัฒนารวมถึงประเมินความพึงพอใจกระเป๋าเก็บอุปกรณ์ตัดผมวินเทจสำหรับพกพา โดยมีกลุ่มประชากรคือช่างตัดผมวินเทจในจังหวัดกรุงเทพมหานครและกลุ่มตัวอย่างสุ่มแบบเจาะจง คือ ช่างตัดผมวินเทจใน เขตพระโขนงจำนวน 7 คน เขตคลองเตยจำนวน 14 คน เขตปทุมวันจำนวน 9 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 30 คน ผลการวิจัยพบว่าวัสดุที่ใช้ในการออกแบบกระเป๋าเก็บอุปกรณ์ตัดผมวินเทจสำหรับพกพาคือหนัง Full Grain ได้คะแนนการวิเคราะห์ทั้งหมด 35 คะแนน และผลการประเมินความพึงพอใจมากที่สุดคือด้านการออกแบบค่าเฉลี่ย 4.43 อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาด้านการการใช้งานค่าเฉลี่ย 4.03 อยู่ในระดับมาก และน้อยที่สุดด้านความปลอดภัยค่าเฉลี่ย 3.83 อยู่ในระดับมาก โดยสรุปภาพรวมทั้ง 3 ด้านค่าเฉลี่ย 4.10 อยู่ในระดับมาก

Article Details

How to Cite
แสนสีจันทร์ ส. ., & เหล่าวัฒนพงษ์ ส. (2022). การออกแบบและพัฒนากระเป๋าเก็บอุปกรณ์ตัดผมวินเทจสำหรับพกพา. วารสารคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มทร.พระนคร, 1(2), 21–30. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JFAD/article/view/1264
บท
บทความวิจัย

References

นวลน้อย บุญวงษ์. (2539) หลักการออกแบบ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บาเบอร์ชอป. (มปป.) ข้อมูลเกี่ยวกับช่างตัดผม. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2563 จาก https://www.lesjeuxdecoiffure.com.

มูฟเวอร์. (2560) ข้อมูลเกี่ยวกับทรงผมวินเทจที่เป็นที่นิยม. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2563 จาก https://mover.in.th/m-article/vintage-hairstyle

อำนาจ วังจีน. (2548). สถิติทั่วไป. กรุงเทพฯ: ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา ฝ่ายเทคโนโลยี.

Aspelund, Kari. (1988). The Design Process. New York: Fairchild Publications, Inc. 2006. Verlag/Bangert Publications.