โครงการศึกษาและออกแบบชุดกระถางต้นไม้ เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์จากตำบลบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

ธัญลักษณ์ โพธิ์เตี้ย
ศศิประภา เวชศิลป์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์ความเป็นมาของศิลปวัฒนธรรมลวดลายเครื่องปั้นดินเผาของตำบลบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี 2) เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ชุดกระถางต้นไม้ เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์จากตำบลบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ปลูกต้นไม้ที่มีต่อผลิตภัณฑ์ชุดกระถางต้นไม้ เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์จากตำบลบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี


          การดำเนินการวิจัยโดยศึกษาข้อมูลด้านลวดลายเครื่องปั้นดินเผาของตำบลบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี รวมถึงหลักการด้านการออกแบบให้เหลือจำนวน 3 รูปแบบ ซึ่งประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านการออกแบบเซรามิก จำนวน 3 ท่าน และประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 51 คน โดยประเมินค่าข้อมูลในรูปแบบ Rating Scale


          ผลการวิจัยพบว่า ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและผู้บริโภค เห็นว่ากระถางต้นไม้รูปแบบที่ 2 มีความเหมาะสมต่อการนำไปใช้งานมากที่สุดและแสดงถึงเอกลักษณ์ศิลปะบ้านเชียงที่แสดงถึงลวดลายก้นหอย และผลความพึงพอใจของผู้บริโภคพบว่าผลิตภัณฑ์รูปแบบที่ 2 ด้านผลิตภัณฑ์มีความเหมาะสมมากที่สุด (𝑥̅= 4.65, S.D.= 0.55) ด้านราคามีความเหมาะสมมากที่สุด (𝑥̅= 4.63, S.D.= 0.57) ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายมีความเหมาะสมมากที่สุด (𝑥̅= 4.57, S.D.= 0.53)  และด้านการส่งเสริมการตลาดมีความเหมาะสมมากที่สุด (𝑥̅= 4.56, S.D.= 0.58)

Article Details

How to Cite
โพธิ์เตี้ย ธ. ., & เวชศิลป์ ศ. (2023). โครงการศึกษาและออกแบบชุดกระถางต้นไม้ เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์จากตำบลบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี. วารสารคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มทร.พระนคร, 2(1), 69–84. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JFAD/article/view/1743
บท
บทความวิจัย

References

Pattarat. (2563). เทรนด์ “ปลูกต้นไม้” มาแรง! ร้านขายดีเท่าตัว ผลจากคนอยู่บ้าน-กระแสแต่งห้องสไตล์ เกาหลี. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : https://positioningmag.com/1280265 19 เมษายน 2565.

กิ่งแก้ว ผกานนท์. (ม.ป.ป.). ศิลปวัฒนธรรมบ้านเชียง. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก: https://www.kroobannok.com/tag-ศิลปวัฒนธรรมบ้านเชียง.html, 24 เมษายน 2565.

ธนิก เลิศชาญฤทธ์. (2560). ภาชนะดินเผายุคก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มิวเซียมเพรส

ประโยชน์ของไม้กระถาง. (2555). [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก :https://www.thaikasetsart.com/ประโยชน์ของไม้กระถาง/

ประสิทธิ์ พวงบุตร. (2564). การออกแบบและพัฒนาเครื่องปั้นดินเผาโดยใช้อัตลักษณ์บ้านเชียงเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด : กรณีร้านแม็ก-แบงค์แฮนเมด จังหวัดอุดรธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ปีที่ 23 ฉบับที่ 1. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : https://so03.tcithaijo. org/index.php/jhssrru/article/251606/172011, 30 เมษายน 2565.

พจนก กาญจกจันทร. (2559). บ้านเชียงปฐมบทโบราณคดีไทย. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : https://museum.socanth.tu.ac.th/wp-content/uploads/2017/09/banching.final.pdf, 1 พฤษภาคม 2565.

มานะ เอี่ยมบัว และผู้แต่งคนอื่น ๆ. (2556). การออกแบบและพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาในเขตจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. โรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ คณะวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต: ม.ป.ท.

วิลภา กาลวิเศษ. (2554). การพัฒนาลวดลายเพื่องานออกแบบจากอิทธิพลศิลปกรรมบ้านเชียง. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-EJournal/article/download/6979/6027, 25 มีนาคม 2565.

สุขุมาล เล็กสวัสดิ์. (2542). การออกแบบและการตกแต่งเครื่องปั้นดินเผา. กรุงเทพฯ: อักษรโสภณ.

สุทัศน์ จันบัวลา และคณะ. (2559). โครงการวิจัยการออกแบบและพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าเครื่องปั้นดินเผาประเภทของที่ระลึก วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ผลิตเครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : http://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/front/end/Info/item./dc:58445, 18 เมษายน 2565.