การศึกษาและพัฒนากระเป๋าจากเข่งปลาทู จังหวัดสมุทรสงคราม
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนากระเป๋าจากเข่งปลาทู จังหวัดสมุทรสงคราม และเพื่อหาความพึงพอใจของกระเป๋าจากเข่งปลาทู จังหวัดสมุทรสงคราม ผู้วิจัยจึงศึกษาข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์ และได้ทำการออกแบบและพัฒนากระเป๋าจากเข่งปลาทู จังหวัดสมุทรสงคราม โดยนำกระบวนการขึ้นรูปมาช่วยในการออกแบบเพื่อให้ผลิตภัณฑ์กระเป๋าจากเข่งปลาทูยังคงรูปทรงลวดลายให้มีเอกลักษณ์ ให้มีความสวยงามและเหมาะสมกับการใช้งานเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับวัสดุโดยนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความร่วมสมัยมากขึ้น โดยกลุ่มประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลคือกลุ่มที่มีความชื่นชอบในงานจักสานช่วงอายุตั้งแต่ 27-37 ปี จำนวน 50 คน และขั้นตอนที่สอง คือแบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อผลิตภัณฑ์กระเป๋าจากเข่งปลาทู จังหวัดสมุทรสงคราม จากกลุ่มตัวอย่างเพศหญิงที่มีอายุ ตั้งแต่ 27-37 จำนวน 30 คน ที่ได้มาจากการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง
ผลการศึกษาหาแนวทางในการออกแบบและพัฒนากระเป๋าจากเข่งปลาทู จังหวัดสมุทรสงคราม ได้จัดทำแบบสอบถามประเมินพฤติกรรมการใช้งาน โดยมีกลุ่มตัวอย่างอายุตั้งแต่ 27-37 ปี จำนวน 50 คน ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 76.00 มีโอกาสในการใช้งานกระเป๋าในชีวิตประจำวันทั่วไปมากที่สุด ประเภทของกระเป๋ามี 3 ประเภท ที่ได้รับความนิยมจากการทำแบบสอบถามมากที่สุดคือ กระเป๋าสะพายข้าง (Crossbody Bag) คิดเป็นร้อยละ 25.21 กระเป๋าคล้องไหล่ (Shoulder Bag) คิดเป็น
ร้อยละ 22.69 กระเป๋าคล้องมือ (Wrist Bag) คิดเป็นร้อยละ 21.85 ในด้านความเห็นด้านการออกแบบมีความต้องการเน้นไปทางด้านดีไซน์เป็นหลัก คิดเป็นร้อยละ 27.27 และการศึกษาเกี่ยวกับการประเมินความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์กระเป๋าจากเข่งปลาทู จังหวัดสมุทรสงคราม จากกลุ่มตัวอย่างเพศหญิง ที่มีอายุตั้งแต่ 27-37 ปี จำนวน 30 คน โดยผู้วิจัยได้นำข้อมูลมาใช้สถิติวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานได้ข้อมูลสถิติดังนี้ มากที่สุดคือด้านความสวยงามของลวดลาย (𝑥̅ = 4.53, S.D. = 0.50) รองลงมาคือด้านความสวยงามของรูปทรง (𝑥̅ = 4.47, S.D. = 0.62) ด้านความพึงพอใจในผลิตภัณฑ์ (𝑥̅ = 4.47, S.D. = 0.56) ด้านความแข็งแรง/ทนทาน (𝑥̅ = 4.43, S.D. = 0.56) และด้านประโยชน์ใช้สอย (𝑥̅ = 4.40, S.D. = 0.80)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Copyright (c) 2023 : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
References
ประทักษ์ คูณทอง. (2560). การศึกษาลวดลายหัตถกรรมเครื่องจักสานพื้นบ้านท้องถิ่น เพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบและพัฒนาลวดลายบนเครื่องเรือน. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองสมุทรสงคราม. (2563). ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสมุทรสงคราม[ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 6 ธันวาคม 2565, จาก: https://district.cdd.go.th/muangsamut/about-us/ประวัติความเป็นมา/
สำนักวิจัยเศรษฐกิจและผลิตผลป่าไม้ กรมป่าไม้. (2547). การจักรสานผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่. ห้างหุ้นส่วนจำกัด อักษรสยามการพิมพ์, กรุงเทพฯ.
Campus star.com. (2564). ชื่อเรียกของกระเป๋า แต่ละแบบ[ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2566, จาก: https://lifestyle.campus-star.com/trendy/58012.html
MRG Online. (2557). ปลาทูแม่กลอง หน้างอคอหัก[ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2566, จาก: https://mgronline.com/travel/detail/9570000142002
VITSOE Design Dleter Rams. (2566). The power of good design[online]. Jan 15, 2023,Available: https://www.vitsoe.com/us/about/good-design