แนวทางการจัดนิทรรศการ “สารจากป่า สานจิตสำนึก”
Main Article Content
บทคัดย่อ
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เคยอยู่ในขั้นวิกฤตส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิต แม้แต่การทำงาน ทำกิจกรรมในลักษณะการรวมกลุ่มกัน ส่งผลไปถึงผลประโยชน์และรายได้ของผู้ประกอบการจนถึงแรงงาน ทั้งยังส่งผลกระทบต่อจิตใจผู้คนเป็นอย่างมาก แต่พบว่าทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศได้รับการฟื้นตัว พืชพันธุ์ไม้หายากกลับมาเจริญงอกงามอย่างรวดเร็ว สัตว์ป่าต่าง ๆ สามารถพบเห็นได้บ่อยครั้ง โครงการ “สารจากป่า สานจิตสำนึก” เป็นโครงการที่นำเสนอให้เห็นถึงความสำคัญของป่าและเป็นการสะท้อนประเด็นความเหลื่อมล้ำทางสังคมที่เกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรจากป่า รวมไปถึงการท่องเที่ยวเชิงนิเวศซึ่งเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้เข้าร่วมงานช่วยกันส่งเสริมการรักษาทรัพยากรป่าไม้ เพื่อสร้างความตระหนักถึงการสูญเสียทรัพยากรและกระตุ้นจิตสำนึกให้ผู้เข้าร่วมงานส่งต่อเจตนารมณ์ของโครงการต่อคนในสังคม และเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศหลังสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ภายในงานจะสอดแทรกเนื้อหาที่เป็นองค์ความรู้ต่อผู้เข้าร่วมงานอีกทั้งมีกิจกรรมให้ผู้เข้าร่วมงานได้ทำร่วมกัน และยังเป็นการช่วยเหลือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับป่าไม้ด้วยการสมทบทุนที่ได้รับจากการขายของที่ระลึก โดยความพึงพอใจของผู้เชี่ยวชาญต่อการออกแบบและรูปแบบการจัดงานนิทรรศการในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Copyright (c) 2023 : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
References
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2560). ทรัพยากรป่าไม้. สืบค้นเมื่อ 2564, พฤศจิกายน 12, เข้าถึงได้จาก: https://www.thalingchan.go.th/datacenter/
กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2019). ชีวิตวิถีใหม่. สืบค้นเมื่อ 2565 มีนาคม 06,เข้าถึงได้จาก: https://www.mhesi.go.th/index.php/content_page/item/1448-newnormal.html
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2564). ข่าวด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. สืบค้นเมื่อ 2564, พฤศจิกายน 15, เข้าถึง ได้จาก http://newweb.mnre.go.th/th/information/ list/1706
ข่าวสดออนไลน์. (2021). ข่าวปล่อยสัตว์ป่าคืนสู่ธรรมชาติ. สืบค้นเมื่อ 2564, ธันวาคม 2, เข้าถึงได้จาก: https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_6717103
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ: หน้า 117
ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก. (2019). โควิด-19. สืบค้นเมื่อ 2565 มีนาคม 06,เข้าถึงได้จาก : https://www.gj.mahidol.ac.th/main/knowledge-2/covid19is/
ศูนย์วิจัยป่าไม้. (2538). การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ. สืบค้นเมื่อ 2564, พฤศจิกายน 15, เข้าถึงได้จาก:https://www.dnp.go.th/park/sara/tour/eco.htm
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2563). การพลิกฟื้นทรัพยากรธรรมชาติและแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ. สืบค้นเมื่อ 2564, พฤศจิกายน 12, เข้าถึงได้จาก: https://tdri.or.th/2020/06/covid-19-turning-crisis-into-an-opportunity-fornatural-tourism/
สำนักการอนุรักษ์กรมป่าไม้. (2564). กฎหมายที่เกี่ยวข้อง. สืบค้นเมื่อ 2564, พฤศจิกายน 15, เข้าถึงได้จาก: https://www.forest.go.th/goods/
สำนักงานข่าวไทยรัฐออนไลน์. (2564). ข่าวการตัดไม้ทำลายป่า. สืบค้นเมื่อ 2564, ธันวาคม 2, เข้าถึงได้จาก: https://www.thairath.co.th/news/local/central/2076528
สำนักงานข่าวไทยรัฐออนไลน์. (2564). ข่าวยึดที่นายทุน. สืบค้นเมื่อ 2564, ธันวาคม 2, เข้าถึงได้จาก: https://www.thairath.co.th/news/local/south/126229
สำนักงานข่าวมติชนออนไลน์. (2021). ข่าวพบไม้หายากถูกตัด. สืบค้นเมื่อ 2564, ธันวาคม 2,เข้าถึงได้จาก: https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_2889221