แนวทางการออกแบบที่อยู่อาศัยริมคลองสำหรับผู้มีรายได้น้อย กรณีศึกษา: ชุมชนหลักหก อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

ศรุตม์ เสนวงษ์
ศาสตรา ศรีหาภาค

บทคัดย่อ

แนวทางการออกแบบโครงการบ้านพักอาศัยริมคลองของผู้มีรายได้น้อย กรณีศึกษา: ชุมชนหลักหก อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี เป็นโครงการเพื่อนำเสนอรูปแบบสถาปัตยกรรมชุมชนของผู้มีรายได้น้อย ควบคู่ไปกับการออกแบบพื้นที่ริมคลอง มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อศึกษาพื้นที่ตั้ง สำรวจบริบท และสภาพแวดล้อมของที่ตั้งโครงการที่อยู่อาศัยริมคลองสำหรับผู้มีรายได้น้อย เพื่อกำหนดรายละเอียดโครงการและการวิเคราะห์แบ่งพื้นที่ใช้สอย และเพื่อเสนอแนะแนวทางการออกแบบพื้นที่โครงการที่อยู่อาศัยริมคลองสำหรับผู้มีรายได้น้อย วิธีการดำเนินงาน คือ ศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ ศึกษาพื้นที่ตั้งโครงการที่มีการรุกล้ำของตัวที่อยู่อาศัยในชุมชนต่างๆ ในเขตของกรุงเทพมหานคร กำหนดแนวความคิดในการออกแบบโครงการ สรุปภาพรวมของโครงการ และสุดท้ายคือ การออกแบบและนำเสนอผลงาน


โครงการนี้ได้ออกแบบออกแบบรูปแบบสถาปัตยกรรมชุมชนควบคู่ไปกับการออกแบบพื้นที่ริมคลอง รวมไปถึงการออกแบบบ้านพักอาศัยของชาวบ้านตำบลหลักหก โดยการคำนึงถึงความเป็นอยู่แต่เดิมของชาวบ้าน เช่น จำนวนผู้อยู่อาศัยรวมในบ้านหรือลักษณะขนาดของครัวเรือน การประกอบอาชีพ การออกแบบเพื่อให้มีที่อยู่อาศัยเพียงพอต่อความต้องการของชาวชุมชน โดยจำแนกประเภทของที่อยู่อาศัย ได้ 6 แบบ และการออกแบบพื้นที่สาธารณะหรือพื้นที่ส่วนกลาง ออกแบบให้เหมาะสมกับพื้นที่ของแต่ละจุด ได้แก่ พื้นที่ที่เหมาะสมกับการค้าขาย พื้นที่ลานเอนกประสงค์ และพื้นที่นันทนาการสำหรับผู้สูงอายุและเด็กสามารถใช้ได้ ทำให้เกิดปฏิสัมพันธ์กันระหว่างพื้นที่ชุมชนและคนในชุมชน


แนวทางการออกแบบโครงการบ้านพักอาศัยริมคลองของผู้มีรายได้น้อย กรณีศึกษา: ชุมชนหลักหก อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี สามารถต่อเติมภายในอนาคตได้เองหรือเป็นการพึ่งพาตนเองในกำลังทรัพย์ของตน โดยการออกแบบบ้านพักอาศัยนั้นจะใช้หลักการเว้นพื้นที่ไว้หนึ่งส่วนเพื่อสามารถให้ผู้อยู่อาศัยต่อเติมเองได้ในอนาคตรวมไปถึงการออกแบบพื้นที่กิจกรรมที่ทำให้ชาวบ้านมีปฏิสัมพันธ์กับชุมชนได้มากขึ้นเพื่อช่วยส่งเสริมทางด้านเศรษฐกิจของชุมชนรวมไปถึงมีการออกแบบที่ช่วยให้สภาพแวดล้อมของคลองและน้ำดีขึ้นเพื่อทำให้โครงการสามารถแก้ไข้ปัญหาที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อมได้ด้วยสถาปัตยกรรม

Article Details

How to Cite
เสนวงษ์ ศ., & ศรีหาภาค ศ. (2023). แนวทางการออกแบบที่อยู่อาศัยริมคลองสำหรับผู้มีรายได้น้อย กรณีศึกษา: ชุมชนหลักหก อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี. วารสารคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มทร.พระนคร, 2(2), 65–78. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JFAD/article/view/2199
บท
บทความวิจัย

References

เทศบาลตำบลหลักหก อำเภอเมืองจังหวัดปทุมธานี. (2560). ข้อมูลตำบลหลักหก. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก: https://lakhok.go.th/, 1 ตุลาคม 2565.

นิธิวดี ทองป้อง. (2558). บทความวิชาการ: "แนวทางการออกแบบและปรับปรุงภูมิทัศน์บนทางระบายน้ำเสียสาธารณะโดยวิธีการบำบัดน้ำเสียวิถีธรรมชาติด้วยระบบพืชพันธุ์อย่างมีสุนทรียภาพทางทัศนาการ". Veridian e-Journal, ปีที่ 8, ฉบับที่ 1, (มกราคม-เมษายน 2558), หน้าที่ 1402-1418.

อิสระพงศ์ หนุนภักดี. (2564). กฎกระทรวงฉบับที่ 55 (พ.ศ. 2543). [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก: http://hydrolaw.thaiwater.net/web, 25 ธันวาคม 2565.

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน). (2562). ชุมชนรายได้น้อยริมคลอง. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก: https://web.codi.or.th/index.php/, 18 พฤศจิกายน 2565.

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน). (2562). บ้านใหม่-ชีวิตใหม่ของชาวชุมชนริม

คลองลาดพร้าว-เปรมประชากร. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก: https://web.codi.or.th, 20 พฤศจิกายน 2565.

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน. (2562). การพัฒนาที่อยู่อาศัยริมคลอง. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก: https://web.codi.or.th/development_project, 22 พฤศจิกายน 2565.

Bltbangkok. (2562) นโยบายการพัฒนาคลอง 9 คลองหลักของกรุงเทพมหานคร 2560. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก: https://www.bltbangkok.com, 26 ธันวาคม 2565.