โครงการศึกษาอัตลักษณ์ผ้าทอพื้นเมืองสกลนครสู่การออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ผ้าทอย้อมคราม แบรนด์เฮือนใบคราม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาอัตลักษณ์ผ้าทอพื้นเมืองสกลนคร สู่การออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ผ้าทอย้อมครามแบรนด์ เฮือนใบคราม มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ผ้าทอพื้นเมืองเมืองสกลนคร (2) เพื่อออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ผ้าทอย้อมคราม แบรนด์เฮือนใบคราม จากอัตลักษณ์ผ้าทอพื้นเมืองสกลนคร จากผลิตภัณฑ์ผ้าทอย้อมครามแบรนด์เฮือนใบครามจำนวน 4 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ผ้าซิ่น ผ้าคลุมไหล่ เสื้อ และกระเป๋าถือ โดยดำเนินการศึกษาเริ่มจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง พบข้อมูลอัตลักษณ์ผ้าทอพื้นเมืองสกลนคร การสื่อสารอัตลักษณ์จังหวัดสกลนครผ่านผ้าทอย้อมครามธรรมชาติ วัฒนธรรม และการท่องเที่ยว ประกอบด้วย (1) การสื่อสารหลักธรรมผ่านผ้าทอย้อมคราม สามารถแสดงอารมณ์ ความคิด ความเชื่อ พบองค์ประกอบปัจจัย คือ ลายสีและดีไซน์ สี การวางลาย วัฒนธรรมและประเพณี พิธีกรรมและสมาธิ การสร้างสรรค์ ความสันติสุขและสมดุล สามารถสร้างบทบาทหน้าที่ของบรรจภัณฑ์ในด้านการสื่อสารและการบ่งชี้ การสะท้อนภาพลักษณ์ การเข้าถึงตลาดเป้าหมาย และการช่วยส่งเสริมการจำหน่าย (2) การสื่อสารผ่านธรรมชาติของผลิตภัณฑ์ และเรื่องเล่าต่างๆ พบองค์ประกอบปัจจัย คือ สัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม การสื่อสารความหมาย ความรู้สึกและอารมณ์ การสื่อสารท้องถิ่น ประวัติศาสตร์ การสื่อสารการเคลื่อนไหว การสื่อสารศิลปะ สามารถสร้างบทบาทหน้าที่ของบรรจภัณฑ์ ด้านสร้างความรู้จัก สร้างความเข้าใจที่ดี สร้างภาพพจน์ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และกระตุ้นให้ตัดสินใจซื้อ (3) การสื่อสารผ่านวัฒนธรรมท้องถิ่น ผ้าย้อมครามสกลนคร เป็นภูมิปัญญาที่มีการบอกเล่ากันมาอย่างยาวนาน และไม่เคยได้รับการบันทึกด้วยลายลักษณ์อักษร แต่เป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้ผ่านการบอกเล่าและลงมือปฎิบัติ เป็นการเรียนรู้และใช้ประสบการณ์ร่วมกัน เป็นทุนทางวัฒนธรรมที่บ่มเพาะร่วมกัน และใช้เครื่องมือแบบประเมินความพึงพอใจ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 80 คน เป็นนักท่องเที่ยวในเขตบริเวณร้านเฮือนใบคราม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากผลการศึกษาสามารถวิเคราะห์ผลการประเมินความพึงพอใจในคะแนนเฉลี่ยรวมทั้ง 4 ผลิตภัณฑ์ อยู่ในระดับดี ที่ค่าเฉลี่ย 3.60 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) คือ 0.47 หากแยกตามผลิตภัณฑ์ พบว่าบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์กระเป๋าถือ ได้รับผลการประเมินในระดับดี ที่ค่าเฉลี่ย 3.95 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) คือ 0.46 บรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์เสื้อ ได้รับผลการประเมินในระดับดี ที่ค่าเฉลี่ย 3.83 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) คือ 0.40 บรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์ผ้าซิ่น ได้รับผลการประเมินในระดับดี ที่ค่าเฉลี่ย 3.36 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) คือ 0.49 และบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์ผ้าคลุมไหล่ ได้รับผลการประเมินในระดับดี ที่ค่าเฉลี่ย 3.29 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) คือ 0.55
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Copyright (c) 2023 : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
References
จิรภัทร เริ่มศรี. (2565). การสื่อสารอัตลักษณ์จังหวัดสกลนครผ่านผ้าทอย้อมครามธรรมชาติ. วารสาร มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี, 12(1)
ฉลาดชาย รมิตานนท์. (2550). แนวคิดในการศึกษาอัตลักษณ์ความเป็นไทย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
ชัยรัตน์ อัศวางกูร. (2550). ออกแบบให้โดนใจ คู่มือการออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับผู้ประกอบการและนักออกแบบ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ทั้งฮั่วชินการพิมพ์
ปุ่น คงเจริญเกียรติและสมพร คงเจริญเกียรติ. (2542). บรรจุภัณฑ์อาหาร. กรุงเทพมหานคร. แพคเมทส์.
มยุรี ภาคลำเจียก. (2558). รอบรู้บรรจุภัณฑ์. กรุงเทพฯ: จินดาสาส์นการพิมพ์
ลินดา งามขึม. (2558). ชีวิตและอัตลักษณ์ของนางฟ้าชุดเขียว, ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาพัฒนามนุษย์และสังคม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
สำนักงานจังหวัดสกลนคร กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด. (2559). ร่างแผนพัฒนาจังหวัดสกลนคร 4 ปี พ.ศ.2561 – 2564. สกลนคร. 74-227.
อรอุษา บัวบาน และบุหงา ชัยสุวรรณ. (2565). กระบวนการสร้างอัตลักษณ์และการสื่อสารอัตลักษณ์ของผู้หญิงที่แต่งกายด้วยผ้าไทยทอมือบนสื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ก. Journal of Modern Learning Development, 7(11)
Likert, Rensis. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. Attitude Theory and Measurement. Fishbeic, Martin, Ed. New York: Wiley & Son.
Petticrew, M., Roberts, H. (2006). Systematic reviews in the social sciences: a practical guide. oxford: Blackwell.
Taro Yamane. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: New York: Harper & Row.