นโยบายด้านที่อยู่อาศัยในเมืองที่มีความสามารถในการแข่งขันสูง: กรณีศึกษา ลอนดอน และนิวยอร์ก

Main Article Content

มนต์ธัช มะกล่ำทอง
เมธัส มะกล่ำทอง
ชาณา ลีบำรุง

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์นโยบายและการดำเนินงานด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัยในเมืองที่มีความสามารถการแข่งขันสูงได้แก่ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร และนครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา โดยการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้การรวบรวมเอกสารร่วมกับการสำรวจ สังเกต และถ่ายภาพโครงการในเมืองกรณีศึกษาโดยคณะผู้วิจัยและทำการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัยเพื่อสอบทานความถูกต้องของข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า นโยบายด้านที่อยู่อาศัยของเมืองที่ทั้งสองเมืองมีประเด็นร่วมกัน คือ การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายให้มีความคล่องตัวและยืดหยุ่นเพื่อให้สามารถดำเนินการพัฒนาโรงการที่อยู่อาศัยราคาถูกได้สะดวกขึ้น การสร้างความร่วมมือในทุกระดับทั้งชุมชน ภาครัฐ เอกชน และองค์กรการกุศล การคำนึงถึงกลุ่มเปราะบางทางสังคม ได้แก่ ผู้สูงอายุ คนไร้บ้าน และผู้พิการ ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และการสร้างความหลากหลายในย่านด้วยการผสมผสานกลุ่มรายได้ในแต่ละโครงการ ซึ่งนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของเมืองในด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชากร อันเป็นรากฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ รวมทั้งเป็นความรับผิดชอบโดยตรงของภาครัฐที่จะจัดหาที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมให้กับทุกคนในเมืองนั้น ๆ ซึ่งจะกลายเป็นแรงผลักดันทีช่วยสนับสนุนให้เมืองมีขีดความสามารถในการแข่งขันที่สูงขึ้น

Article Details

How to Cite
มะกล่ำทอง ม., มะกล่ำทอง เ., & ลีบำรุง ช. (2024). นโยบายด้านที่อยู่อาศัยในเมืองที่มีความสามารถในการแข่งขันสูง: กรณีศึกษา ลอนดอน และนิวยอร์ก. วารสารคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มทร.พระนคร, 3(1), 9–26. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JFAD/article/view/2447
บท
บทความวิจัย

References

American Planning Association (APA). (2006). Planning and Urban Design Standard. New York: Wiley.

City of New York. (2012). Housing New York: a five-borough, ten-year plan. New York: The City of New York.

Greater London Authority. (2017). The mayor’s vision for a diverse and inclusive city. London: Greater London Authority.

Lozanovska, M. (2019). Migrant housing: Architecture, Dwelling, Migration. New York: Routledge.

Marom, N. & Carmon, N. (2015). Affordable housing plans in London and New York: between marketplace and social mix. Housing Studies, 30(7), 993-1015. DOI: 10.1080/02673037.2014.1000832

Panitchpakdi, K., et al. (2020). Consistency of Housing Development in Bangkok Suburbs and Habitat III: Case Study of Thanyaburi District, Pathum Thani Province. Sub-project no.1 under the “Knowledge Management of Housing Anthropology in Thailand (Phase 1), Chulalongkorn University. Funded by Thailand Science Research and Innovation Fund.

Turok, I. (2004). Cities, Regions and Competitiveness. Regional Studies, 38(9), 1069-1083.

UN-HABITAT. (2015). Enhancing the Competitiveness of Cities. Urban Economy Branch, Discussion Paper #4, October 2015.

UN-Habitat. (2016) The New Urban Agenda, available at: http://habitat3.org/the-new-urban-agenda. Accessed Sep. 2023.

United Nations (UN). (2017). The Sustainable Development Goals Report 2017. New York: United Nations, available at: https://www.un.org/development/desa/ publications/sdg-report-2017.html. Accessed Sep. 2023.

Vale, L.J., Shamsuddin, S., Gray, A. & Bertumen, K. (2014). What affordable housing should afford: housing for resilient cities. Cityscape: A Journal of Policy Development and Research, 16(2), 21-50.

Whitehead, C. & Goering, J. (2021) Local affordable housing dynamics in two global cities: patterns and possible lessons? International Journal of Urban Sciences, 25(sup1), 241-265. DOI: 10.1080/12265934.2020.1828147