แนวทางการประยุกต์งานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในโครงการออกแบบศูนย์การเรียนรู้ และออกแบบหัตถกรรมเครื่องเงินภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
โครงการศูนย์การเรียนรู้และออกแบบหัตถกรรมเครื่องเงินภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ คือ โครงการการออกแบบสถาปัตยกรรม เพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้และพัฒนาการออกแบบเครื่องเงินภาคเหนือ (เครื่องเงินล้านนา) ที่มีการผลิตในพื้นที่ 8 จังหวัด ภาคเหนือ โดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็นศูนย์รวบรวมองค์ความรู้งานหัตถกรรมเครื่องเงินของภาคเหนือ ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การออกแบบและเทคนิคการผลิต นำไปสู่การพัฒนารูปแบบงานหัตถกรรมเครื่องเงินให้มีความร่วมสมัย การออกแบบโครงการเริ่มจากศึกษาความเป็น ไปได้ของโครงการ ปัญหา และกฎหมาย มาประกอบการเลือกที่ตั้งโครงการ วิเคราะห์ผู้ใช้โครงการกับพื้นที่ใช้สอย พร้อมกับพัฒนาแนวคิดทางสถาปัตยกรรม และสุดท้ายคือ การออกแบบและนำเสนอผลงาน
เครื่องเงินภาคเหนือ (เครื่องเงินล้านนา) มีความเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมท้องถิ่น แนวความคิดในการออกแบบจึงเป็นการนำสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นภาคเหนือ (สถาปัตยกรรมล้านนา) มาประยุกต์ใช้กับผังโครงการ ตัวอาคาร และการตกแต่งอาคาร พัฒนาเป็นงานสถาปัตยกรรมร่วมสมัยที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมท้องถิ่น และในอนาคตการนำองค์ความรู้ท้องถิ่นเกี่ยวกับการจัดการสภาพแวดล้อมมาออกแบบโครงการร่วมกัน เกิดการพัฒนางานภูมิสถาปัตยกรรมและสภาพแวดล้อม ได้อีกประการหนึ่ง
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Copyright (c) 2023 : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
References
ประชาชาติธุรกิจ. (2567). วอนรัฐหนุน “เครื่องเงินไทย” สร้างงานฝีมือสู่ “ซอฟต์พาวเวอร์ [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : https://www.prachachat.net/economy/news-1483077, 1 มิถุนายน 2567.
ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2562). เชียงราย...ดินแดนแห่งวัฒนธรรมเครื่องประดับเงินชนเผ่า.[ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : https://www.thaitextile.org/th/insign/, 30 ตุลาคม 2566.
ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2564). GIT ลงพื้นที่โครงการพัฒนาเครื่องประดับภาคเหนือ. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : https://git.or.th/th/about/18/32/detail/2155/, 1 พฤษภาคม 2567.
สมาคมสถาปนิกสยาม. (2566). กฎหมายใช้บ่อย 2566. พลัสเพรส.
สุปราณี เปียวิเศษ. (2540). รายงานการวิจัย : เครื่องเงินเย้าหมู่บ้านปางควาย อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่. มติชน.
สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า. (2566). แนวทางการส่งเสริมสินค้าโอทอป (OTOP) . [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : https://tpso.go.th/document/2404-0000000002, 31 พฤษภาคม 2567.
Google Earth. (2023). Chiang Mai Map. https://www. Google .co.th/maps/. 4 JUNE 2023.
Google Earth. (2023). Wat Phra That Lampang Luang. https://www. Google .co.th/maps/. 4 JUNE 2023.
Tourhubasia.com. (2024). Old City: The Heart of Chiang Mai. https://tourhubasia.com/old-city-chiang-mai/. 3 JUNE 2023.
Mayurachat. (2021). Northern map worksheet. https://www.liveworksheets. com/w/th/ibnga naephnthiiphakhehnuuex/1640122. 17 JUNE 2023.
Konthaitour.com. (2022). Chiang Mai Gate Story. http://www. konthaitour.com /index.php?lay =show&ac=article&Id=2147524749&Ntype=34. 3 JUNE 2023.