ศึกษาอัตลักษณ์ไทหล่มเพื่อออกแบบชุดแฟร์ชั่นลำลอง

Main Article Content

ธเนศ ภิรมย์การ
นรารัตน์ เดละ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ไทหล่ม ในอำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์
2) เพื่อออกแบบชุดแฟชั่นเสื้อผ้าจากอัตลักษณ์ไทหล่ม 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อชุดแฟชั่นเสื้อผ้าจากอัตลักษณ์ไทหล่ม วิธีดำเนินการวิจัยเป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการ การวิจัยมีเป้าหมายกลุ่มประชากร คือ วัยรุ่นและวัยทำงานที่ไม่สามารถระบุจำนวนได้ชัดเจน จึงเลือกกลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มนักท่องเที่ยว โดยใช้ทฤษฎีของ Cohen (1988)  โดยใช้ค่าความเชื่อมั่นร้อยละ 95 จำนวนกลุ่มตัวแปรตาม 115 คน เพื่อคำนวณค่า Sig  ผู้วิจัยจึงเพิ่มจำนวนกลุ่มตัวอย่างเป็น 150 คน ใช้เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถามแบบกึ่งโครงสร้างในการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการออกแบบชุดแฟชั่นลำลอง เมื่อได้ข้อมูลจึงนำไปออกแบบกระบวนการออกแบบชุดแฟชั่นลำลองด้วยหลักแนวคิด Concept Generation and Selection ของ Y.-C. Liu and T. Bligh (2003) โดยทำการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือการวิจัยด้วยการพิจารณาค่าความเที่ยงตรงของแบบสอบถามที่สอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ (IOC) ผ่านตามเกณฑ์ >.50  ผลจากการวิจัย อัตลักษณ์ไทหล่มเป็นลักษณะเครื่องแต่งกายประเพณีผีตาโม่ที่มีสีสันน่าตื่นตา ออกแบบเป็นชุดแฟชั่นลำลองอัตลักษณ์ผีตาโม่ ประกอบด้วยเสื้อแขนสั้นคอกว้างเอวลอยสีพื้นเหลือง ขอบคอเสื้อตกแต่งด้วยผ้าสีขาวรูปฟันผีตาโม่ ชายเสื้อเป็นแถบสลับสีสันของริ้วเครื่องแต่งการผีตาโม่ กางเกงขาสั้นทรงเอวสูง ขาสั้นลอยเหนือเข่าผ้าสีพื้นเหลือง ขอบเอวตกแต่งด้วยเส้นริ้วสลับสี ขอบขากางเกงด้านล่างเป็นแถบสลับสีสันของริ้วเครื่องแต่งกายผีตาโม่เช่นเดียวกับเสื้อเพื่อความกลมกลืนกัน รูปแบบชุดเหมาะกับอากาศร้อนของไทย  นำชุดไปประเมินความพึงพอใจโดยมีผลวิจัยดังนี้ ค่าเฉลี่ยรวมของความพึงพอใจที่มีต่อชุดแฟชั่นเสื้อผ้าจากอัตลักษณ์ไทหล่ม อยู่ในระดับมากที่ระดับ ( = 3.97, S.D.= 0.08)

Article Details

How to Cite
ภิรมย์การ ธ., & เดละ น. (2024). ศึกษาอัตลักษณ์ไทหล่มเพื่อออกแบบชุดแฟร์ชั่นลำลอง. วารสารคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มทร.พระนคร, 3(1), 73–87. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JFAD/article/view/3357
บท
บทความวิจัย

References

ขนมจีนหล่มเก่าหลัง ม.ช.. (2565). ขนมจีนหล่มเก่าหลัง ม.ช.. Facebook. https://www.facebook.com/photo/?fbid=522427576552419&set=pb.100063555434062.-2207520000

ฉลาดชาย รมิตานนท์. (2550). อัตลักษณ์ วัฒนธรรม และการเปลี่ยนแปลง. https://wsc.soc.cmu.ac.th/womancenter/report_upload/0.21523100-1533827130.pdf

ชัยพร ภัทรวารีกุล, วิกานดา ศรีจรัสรุ่ง และสันทัด พรประเสริฐมานิต. (2549). ความพึงพอใจของผู้บริโภค. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดนัย เทียนพุฒ. (2543). นวัตกรรมการบริการลูกค้า. O.N.G

ดวงฤทัย ตี่สุข. (2023) .การศึกษาอัตลักษณ์ไทหล่มเพื่อเป็นแนวทางการออกแบบปรับปรุงพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดโพธิ์ทองน้ำครั่งแหล่งท่องเที่ยววัฒนธรรมทางวัตถุโบราณ จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 22(1), DOI : 10.14456/bei.2023.3

ทวีศักดิ์ อินทโชติ. (2561). การศึกษาอัตลักษณ์และการพัฒนาอัตลักษณ์นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน. [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต], มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

ธนกฤต ใจสุดา, ภรดี พันธุภากร และ พรภิมล พจนาพิมล. (2562). การศึกษาอัตลักษณ์เพื่อพัฒนารูปแบบเครื่องประดับเชิงพาณิชย์. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 13(1), 179-192.

บริษัทกรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุจำกัด. (2564). วิถีไทยหล่ม. ช่อง 7 HD. https://www.ch7.com/shows/detail/479821

วิศัลย์ โฆษิตานนท์. (2557). หล่มเก่า เมืองหลบ เมืองสงบ เมืองเสน่ห์ เพชรบูรณ์. องค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์และสภาวัฒนธรรม จังหวัดเพชรบูรณ์.

สมศักดิ์ ศรีสันติสุข. (2543). สังคมและวัฒนธรรมไทย: ลักษณะการเปลี่ยนแปลงและวิทยาการวิจัย. ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม. (2567, 10 มิถุนายน). ผีตาโม่ไทหล่ม. http://www.thaiculture.go.th./ผีตาโม่ไทหล่ม.

สำนักงานวัฒนธรรม. (2564). องค์ความรู้ทางวัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่น.เพชรบูรณ์. สำนักงานวัฒนธรรม จังหวัดเพชรบูรณ์ กระทรวงวัฒนธรรม. https://shorturl.asia/flP0U

Andrew Reilly. (2021). Introducing Fashion Theory: From Androgyny to Zeitgeist (2nd ed.). Bloomsbury publishing.

Jacob Cohen. (1988). Statistical Power Analysis for the Behavioral Sciences. Lawrence Erlbaum Aasscociates.

Pakamas. (2565). ไหมสุรินทร์. Facebook. https://www.facebook.com/pakamasofficial/

Tandt. (ม.ป.ป.). Jane Austen dress-ribbon heart printed lace trimmed maxi dress. Line Shopping. https://shop.line.me/@tandtbangkok/product/1005467582.

Tohns. (ม.ป.ป.). เสื้อครอปผ้าทวิสตกแต่งดอกไม้และกระดุมหัวใจ. Line Shopping. https://shop.line.me/@tohns/product/1005334729.

Y.-C. Liu a, A. Chakrabarti b,T. Bligh. (2003). Towards an ‘ideal’ approach for concept generation. Design Studies. 24(4), 341-355. https://doi.org/10.1016/S0142-694X(03)00003-6

Yan, H., et al., (2022). Toward Intelligent Design: An AI-Based Fashion Designer Using Generative Adversarial Networks Aided by Sketch and Rendering Generators. IEEE Transactions on Multimedia, 99: 1-1: https://doi.org/10.1109/TMM.2022.3146010.

Yi, Y. (1990). A Critical Review of Consumer Satisfaction. In V. A. Zeithaml (Ed.), Review of Marketing 1990 (pp. 68-123). Chicago, IL: American Marketing Association.

Yukandapang. (ม.ป.ป.). ผ้าซิ่นไทหล่ม หัวแดงตีนก่าน จ.เพชรบูรณ์ ตัดเย็บเองทุกผืน มีทั้งแบบคลุมเข่าและ แบบยาว. Shopee. https://shopee.co.th/ผ้าซิ่นไทหล่ม-หัวแดงตีนก่าน-จ.เพชรบูรณ์-✔ตัดเย็บเองทุกผืน-มีทั้งแบบคลุมเข่า-และแบบยาว✔-i.158573280.7618834171