แนวทางการออกแบบโครงการศูนย์ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเอ็นซีดี กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
โครงการออกแบบศูนย์ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเอ็นซีดี กรุงเทพมหานคร เป็นพื้นที่ที่สร้างกิจกรรมส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของคนทุกช่วงวัย สร้างแรงบันดาลใจให้มีชีวิตที่มีสุขภาพดีทั้งทางร่างกาย จิตใจ สังคม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยแก้ปัญหาสุขภาพที่เกิดจากพฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวันที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค NCDs และสภาพแวดล้อมยังส่งผลต่อการเกิดโรค NCDs ได้เช่นกัน อันมีฝุ่น PM2.5 เสียงที่เกินกว่า 50 เดซิเบลส่งผลต่อภาวะความดันโลหิตสูง และแสงสว่างในช่วงกลางคืนมีส่งผลต่อการเกิดโรคเบาหวาน (ที่มา : RISC Well-being,2566)
โดยมีกรอบแนวความคิดคือศึกษาโรคเอ็นซีดี ประกอบด้วยโรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ โรคถุงลมโป่งพอง โรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง และโรคอ้วนลงพุง จะได้รายละเอียดโครงการและพื้นที่ใช้สอยที่เหมาะสมอันมีส่วนส่งเสริมสุขภาพและส่วนการเรียนรู้ ต่อมาการศึกษาและวิเคราะห์ที่ตั้งโครงการบน ถ.ศรีนครินทร์ เขตสวนหลวง จ.กรุงเทพมหานคร ขนาดที่ดิน 10,167 ตารางเมตร มีเข้าถึงได้ง่ายเดินทางสะดวกใกล้แหล่งชุมชน ส่วนสาเหตุสภาพแวดล้อมนั้นสามารถแก้ปัญหาได้โดยการออกแบบสถาปัตยกรรมโดยมีการนำหลักการของมาตรฐาน WELL เป็นมาตรฐานออกแบบที่เกี่ยวกับการยกระดับสุขภาวะและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้ใช้งานอาคาร อันเป็นสิ่งที่บ่งบอกว่าโครงการออกแบบศูนย์ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเอ็นซีดี กรุงเทพมหานครแห่งนี้แตกต่างจากศูนย์ส่งเสริมสุขภาพทั่วไป
อาคารประกอบด้วยผังพื้นทั้งหมด 5 ชั้น มีส่วนส่งเสริมสุขภาพและส่วนเรียนรู้ ส่วนร้านค้าร้านอาหาร ส่วนสำนักงาน และส่วนอื่นๆ โดยอาคารออกแบบโดยใช้ระบบ Passive design เป็นหลัก มีพื้นที่เปิดโล่งตรงกลางให้อากาศถ่ายเท มีการนำแสงธรรมชาติมาใช้ในอาคารตามมาตรฐาน WELL ด้านแสง มีแสงที่ดีส่องผ่านลงมายังชั้นล่างของตัวอาคาร มีการสร้างสีเขียวและการใช้สวนแนวตั้ง ที่ออกแบบให้สามารถเป็นพื้นที่พักผ่อนผ่อนคลายในทุก ๆ ชั้น นอกจากนี้ยังมีลานกิจกรรม มีทางลาด เป็นหนึ่งในมาตรฐาน WELL ด้านการเคลื่อนไหว ให้มีพื้นที่สำหรับกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ร่างกายได้เคลื่อนไหวอย่างสม่ำเสมอ อันจะส่งผลต่อสุขภาวะที่ดีได้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Copyright (c) 2023 : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
References
กรมควบคุมโรค (2567). จำนวนและอัตราตายด้วย 5 โรคไม่ติดต่อ ปี 2561 - 2565 "New อัพเดทข้อมูล 1/11/67 [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 6 กันยายน 2567, จาก https://www.ddc.moph.go.th/ dncd/news.php?news=39911
กรมโยธาธิการและผังเมือง. (2565). กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2565, จาก: https://www.bsa.or.th.
กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2565). โรคไม่ติดต่อและหลักการควบคุมโรคไม่ติดต่อ. หลักสูตรการป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อ สำหรับผู้นำท้องถิ่น [ออนไลน์]. 2565(1), ค้นเมื่อ 6 กันยายน 2567, จาก: https://fliphtml5.com/hvpvl/mfwm/หลักสูตรการป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อ สำหรับ ผู้นำท้องถิ่น.
คเณศ นิพัทธ์ธีรนันท์. (2562). มาตรฐาน WELL Building Standard [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2567, จาก: https://thestandard.co/anil-sathorn-12.
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์. (2564). ความหมายนิยามของคำว่า โรค NCDs [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2565, จาก: https://www.bumrungrad.com/th.
ศูนย์สารสนเทศกรุงเทพมหานคร. (2565). ข้อมูลกรุงเทพมหานคร [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 23 ตุลาคม 2566, จาก: https://apps.bangkok.go.th, 23 ตุลาคม 2566.
สำนักผังเมือง. (2556). แผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามที่ได้จำแนกประเภทท้ายกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2556 [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2564, จาก: https://download.asa.or.th/03media/04law/cpa/mr56-bma-landuse.pdf.
สิงห์ อินทรชูโต (2567). NCD-less Architectural Framework. งานประชุมวิชาการด้าน NCD การออกแบบ ชุมชนเมืองน่าอยู่และยั่งยืน, 23 กุมภาพันธ์ 2567. ไอคอนสยาม.
Google Map. (2566). ค้นที่ตั้งโครงการ [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2565, จาก: https://www.google.co.th/maps/place/Linnas+Thailand/@13.7378275,100.6394319,225m/
RISC. (2566). สภาพแวดล้อมรอบตัว อีกตัวแปรที่เพิ่มแนวโน้มการเกิดโรค NCDs [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 6 กันยายน 2567, จาก: https://risc.in.th/th/knowledge.
World Health Organization. (2019). Noncommunicable diseases [ออนไลน์]. นเมื่อ 24 กันยายน 2564, จาก: https://www.who.int/publications/i/item.