การประเมินหลังการเข้าอยู่อาศัยของชุมชนบ้านพักผู้มีรายได้น้อย กรณีศึกษา บ้านประชารัฐริมคลองชุมชนศาลเจ้าพ่อสมบุญ
Main Article Content
บทคัดย่อ
เดิมทีชุมชนศาลเจ้าพ่อสมบูรณ์เป็นหนึ่งในชุมชนแออัดที่รุกล้ำแนวลำคลองและทางระบายน้ำของกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันชุมชมทั้งหมดถูกรื้อย้ายและสร้างบ้านใหม่บนที่ดินของกรมธนารักษ์ การเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัยย่อมส่งผลต่อผู้ใช้อาคาร การวิจัยจึงเกิดคำถามที่ว่า “การใช้งานอาคารและสภาพแวดล้อมโดยรอบหลังจากโครงการชุมชนผู้มีรายได้น้อยแล้วเสร็จ มีความเหมาะสมกับการใช้งานและสภาพแวดล้อมกายภาพภายนอกอาคารอย่างไร” บนหลักการประเมินหลังการใช้งานอาคาร (Post-occupancy Evaluation หรือ POE) จุดประสงค์การวิจัยคือเพื่อประเมินหลังการใช้งานอาคารที่พักอาศัยของชุมชนผู้มีรายได้น้อย บ้านประชารัฐริมคลองชุมชนศาลเจ้าพ่อสมบุญ เครื่องมือการวิจัยประกอบไปด้วยแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบสอบถาม และการสัมภาษณ์เชิงลึก เก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้อยู่อาศัย จำนวน 200 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ยและการวิเคราะห์เนื้อหา การวิจัยพบว่าทัศนคติโดยรวมของผู้อยู่อาศัยเป็นไปในทางบวกต่อโครงการเนื่องจากช่วยให้มีที่อยู่อาศัยที่ได้มาตรฐาน ถูกต้องตามกฎหมาย มีเลขที่บ้านและสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ผู้อยู่อาศัยรู้สึกว่าบ้านมีความสวยงามเหมาะสมกับราคาก่อสร้าง ส่วนใหญ่ใช้เวลาในห้องนอนและห้องนั่งเล่น รู้สึกว่าพื้นที่รอบ ๆ มีขนาดความกว้างและความสูงเหมาะสม เหมาะสมกับวิถีชีวิตของชุมชน รู้สึกว่ามีความงดงามงามน่ามอง ส่วนใหญ่ใช้เวลาบริเวณริมน้ำและลานกีฬา อย่างไรก็ตามข้อเสียคือชาวบ้านมีภาระเพิ่มขึ้นจากค่าใช้จ่ายที่ต้องผ่อนบ้านทุกเดือน พื้นที่ใช้สอยภายในบ้านน้อยกว่าเดิมเนื่องจากบ้านถูกจัดสรรขนาดตามจำนวนผู้อยู่อาศัยและการอยู่ภายใต้กฎหมายอาคาร
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Copyright (c) 2023 : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
References
กองนโยบายและแผนงาน. (2561). สถิติข้อมูลชุมชนในเขตกรุงเทพมหานคร. สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง กรุงเทพมหานคร.
สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน. (2560). ถอด 11 กระบวนท่า การพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนริมคลอง ชุมชน “ศาลเจ้าพ่อสมบุญ 54”. ศูนย์ปฏิบัติการที่อยู่อาศัยชุมชนริมคลอง (ศปก.ทชค).
สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน. (2558). โครงการบ้านมั่งคง การพัฒนาที่อยู่อาศัยโดยองค์กรชุมชนและท้องถิ่น. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
มธุลีห์ โยคี และ ประพนธ์ สหพัฒนา. (2564). ความสำเร็จและความล้มเหลวของนโยบาย “โครงการพัฒนาที่ อยู่อาศัยชุมชนริมคลอง”. วารสารชุมชนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 15(4), 13-27.
เดชา สังขวรรณ และ รุ่งนภา เทพภาพ. (2553). ปัญหาคนจนเมืองในชุมชนแออัด: องค์ความรู้และกระบวนการขับเคลื่อน เปรียบเทียบประเทศไทยและประเทศเกาหลี. Thai Journal of East Asian Studies, 15(1), 39-56.
Li, P., Froese, T. M., & Brager, G. (2018). Post-occupancy evaluation: State-of-the-art analysis and state-of-the-practice review. Building and Environment, 133, 187-202.
Preiser, W. F. (1995). Post-occupancy evaluation: how to make buildings work better. Facilities, 13(11), 19-28.
Preiser, W. F., & Nasar, J. L. (2008). Assessing building performance: Its evolution from post-occupancy evaluation. International Journal of Architectural Research, 2(1), 84-99.
Preiser, W. F., White, E., & Rabinowitz, H. (2015). Post-occupancy evaluation. Routledge.
Preiser, W. F. (2001). The evolution of post-occupancy evaluation: Toward building performance and universal design evaluation. Learning from our buildings a state-of-the practice summary of post-occupancy evaluation.