การรับรู้ความกลมกลืนทางทัศนาการของหมู่บ้านจัดสรร ระหว่างสถาปนิกและกลุ่มวัยรุ่น

Main Article Content

สุพจน์ พรหมพยัคฆ์
บุญชัย ขจายเกียรติกำจร
เริงณรงค์ รัตนปรีชาเวช
กนกวรรณ พรหมพยัคฆ์

บทคัดย่อ

ความคล้ายคลึงหรือกลมกลืนทางทัศนาการของสถาปัตยกรรมที่มากเกินไปมักจะสร้างการรับรู้ถึงความซ้ำซากจำเจ และไร้เอกลักษณ์ การวิจัยนี้พยายามที่จะตรวจสอบและเปรียบเทียบการรับรู้ระหว่างสถาปนิกและวัยรุ่นทั่วไป เกี่ยวกับการรับรู้ดังกล่าวและเชื่อมโยงกับองค์ประกอบการออกแบบ ชุดภาพจำลองที่แสดงถึงตัวแปรที่เกี่ยวข้องจะถูกนำมาใช้เพื่อหาคำตอบระหว่างผู้ตอบแบบสอบถามสองกลุ่ม ได้แก่ สถาปนิกและกลุ่มวัยรุ่นที่ไม่ใช่สถาปนิก เกี่ยวกับการรับรู้ความกลมกลืนทางทัศนาการของหมู่บ้านจัดสรร ซึ่งผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า ในการสร้างรูปแบบทางทัศนาการที่กลมกลืนอย่างพอเหมาะพอดี สถาปนิกจะต้องใส่ใจกับความสอดคล้องกันของรูปแบบหน้าต่างและประตู ซึ่งจะช่วยสร้างความกลมกลืนทางทัศนาการโดยไม่มีผลข้างเคียงที่น่าเบื่อ ความสอดคล้องของลักษณะพื้นผิวและสีของผนัง จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องพิจารณาเป็นลำดับต่อมา

Article Details

How to Cite
พรหมพยัคฆ์ ส., ขจายเกียรติกำจร บ., รัตนปรีชาเวช เ., & พรหมพยัคฆ์ ก. (2024). การรับรู้ความกลมกลืนทางทัศนาการของหมู่บ้านจัดสรร ระหว่างสถาปนิกและกลุ่มวัยรุ่น. วารสารคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มทร.พระนคร, 3(2), 38–44. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JFAD/article/view/3410
บท
บทความวิจัย

References

Gifford, R. (1997). Environment phychology: Principleles and practice (2nd ed.). Boston: Allyn & Bacon.

Gifford, R., & Cheuk, N.F. (1982). The Relative Contribution of Visual and auditory cues to environmental perception. Journal of Environmental Psycology.

Grote, L., & and Wang, D. (1954). Architectural research methods. New York: Print in the United States of America.

Heimsath, C. (1977). Behavioral Architecture. New York: Mc Graw-Hill.

Horayangul, W. (1992). Environmental and Behavior. Bangkok: Chulalongkorn University.

Lang, J. (1974). Designing for Human Behavior: Architecture and The Behavioral Sciences. Pennsylvania: Lowden, Hutchinson & Ross Inc.

Nunta, J. (2003). Perception Factor of Environment on Urban Landscape: A Case Study on Phrae Municipality. Master’s Degree Thesis. Bangkok: King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang.

Relph, E. (1976). Place and Placelessness. Pion.

Spreiregen, P.D. (1965). Urban Design: The Architecture of Town and Cities. New York: Mc Graw-Hill.