การออกแบบห้องอเนกประสงค์ที่เคลื่อนย้ายได้ ติดตั้งอย่างรวดเร็วเพื่อประสิทธิภาพสำนักงานยุคใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปัญหาของสำนักงานองค์กรในปัจจุบันที่ต้องเช่าพื้นที่ในอาคารสำนักงาน ได้แก่ความยากลำบากในการย้ายหรือปรับเปลี่ยนพื้นที่ตามความต้องการขององค์กร ทั้งในกรณีที่องค์กรขยายตัวหรือลดขนาด อีกทั้งการตกแต่งภายในที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้มีความยุ่งยากและต้องใช้งบประมาณสูง การขนส่งและการขนย้ายวัสดุทำได้ยากและเสี่ยงต่อความเสียหาย การลงทุนในธุรกิจสำนักงานให้เช่าก็มีแนวโน้มลดลงในช่วงปี 2566-2568 โดยลดลง 84% ซึ่งสะท้อนถึงข้อจำกัดทั้งในด้านการลงทุน พื้นที่ในการก่อสร้าง และเวลาในการเคลื่อนย้ายวัสดุตกแต่งและเครื่องเรือน
การออกแบบห้องอเนกประสงค์ที่สามารถเคลื่อนย้ายได้และใช้เวลาติดตั้งน้อย โดยมุ่งเน้นการตกแต่งพื้นที่ให้เกิดบรรยากาศสำนักงานในเชิงบวกผ่านการจัดวางศิลปะแห่งการออกแบบ ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า การปรับพื้นที่ให้โปร่งและใช้วัสดุที่ช่วยเก็บเสียง เช่น แผ่น Acoustic Wall & Ceiling ทำให้เกิดบรรยากาศที่เหมือนยืนอยู่ใต้ร่มเงาไม้ และลดการรบกวนเสียงได้ บทความนี้เสนอแนะการออกแบบเชิงต้นแบบสำหรับการตกแต่งที่สามารถถอดประกอบและเคลื่อนย้ายได้ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาการตกแต่งและการใช้งานแบบตายตัว พร้อมทั้งสร้างบรรยากาศเชิงบวกในพื้นที่ที่เรียบง่าย เพื่อตอบโจทย์การตกแต่งสำนักงานในอนาคต.
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Copyright (c) 2023 : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
References
ชญานิศ เนื้อน่วม. (2022). การพัฒนาเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพแบบชงจากสมุนไพรอินทรีย์ จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารการเกษตรราชภัฏ, 21(2), 47-56.
ณธัชพงศ์ พิสิษนุพงศ์. (2561). แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในการทํางาน กิลเมอร์ (Gilmer, 1967) สภาพแวดล้อมในการทํางานที่มีความสัมพันธ์ต่อการสร้างความผูกพัน องค์กรของข้าราชการและบุคลากร สํานักงานเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารธุรกิจ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง ปี ที่1 ฉบับที่1 มกราคม - เมษายน 2561, หน้า 18-19.
นราธร สายเส็ง.(2560). ธรรมชาติกับมุมมองเชิงพื้นที่ Human nature and Spatial Perspective. ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 เดือนม.ค. – เม.ย. 60,641
วัฒนะ จูฑะวิภาต.(2551). ศิลปะการออกแบบตกแต่งภายใน. สำนักพิมพ์. กรุงเทพฯ : วิทยพัฒน์
สำนักงานให้เช่าในกรุงเทพฯ และปริมณฑล. (2567, 29 พฤษภาคม). แนวโน้มธุรกิจ 2566-2568 สำนักงานให้เช่าในกรุงเทพฯ และปริมณฑล.https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/real-estate/commercial-buildings-in-bmr/io/office-building-in-bmr-2023-2025
Aiofresh. (2019). งานวิจัยว่าใบมินท์สร้างความสดชื่น. www.aiofresh.com
Gilmer, M. E. (1987). The Impact of Space Planning on Employee Productivity. Journal of Environmental Psychology, 7(3), 235-250.
Monica Arellano. (2559, 27 พฤศจิกายน). On the Dislocation of the Body in Architecture: Le Corbusier's Modulor. https://www.archdaily.com/902597/on-the-dislocation-of-the-body-in-architecture-le-corbusiers-modulor
Smith, J. (2010). Dynamic Space: Exploring the Relationship Between Space and User Needs. Architectural Press.
Time-saver. (2001). Time-Saver Standards for Interior Design and Space Planning. New York: McGraw-Hill.