แนวทางออกแบบสถาปัตยกรรมและพัฒนาพื้นที่ ภายใต้บริบทการอนุรักษ์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน : โครงการแหล่งเรียนรู้และพัฒนาพื้นที่สวนสร้างสรรค์ มรดกโรงงานมักกะสัน

Main Article Content

ธีระพงษ์ ชัยสงค์
ปรียานุช คำสนอง

บทคัดย่อ

โครงการแหล่งเรียนรู้และพัฒนาพื้นที่สวนสร้างสรรค์ มรดกโรงงานมักกะสัน คือ โครงการออกแบบสถาปัตยกรรม ในพื้นที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์เกี่ยวข้องกับการรถไฟแห่งประเทศไทย ภายใต้แนวความคิดการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมในสังคมร่วมสมัยและการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน ในศตวรรษที่ 21 ที่เน้นการสร้างสมดุลในระบบนิเวศ ลดการใช้ทรัพยากรและเป็นการนำสถาปัตยกรรมเก่ามาใช้ประโยชน์ในรูปแบบที่แตกต่างจากในอดีต เพื่อสร้างพื้นที่เรียนรู้และนันทนาการร่วมกันในสังคม


          การออกแบบโครงการเริ่มจากการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ ด้านนโยบายการจัดการพัฒนาพื้นที่และการอนุรักษ์สถาปัตยกรรม ศึกษารวบรวมข้อมูลสถาปัตยกรรม สภาพแวดล้อมและการใช้สอยพื้นที่  กิจกรรม ดำเนินการออกแบบกิจกรรมของโครงการใหม่ กำหนดรายละเอียดโครงการ การออกแบบสถาปัตยกรรมและนำเสนอผลงาน แนวความคิดเรื่องการออกแบบสถาปัตยกรรมและพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืน เป็นแนวความคิดที่สามารถประยุกต์ใช้ได้ในการออกแบบและจัดการสถาปัตยกรรม ได้เกือบทุกพื้นที่ ขึ้นอยู่กับบริบทของสังคม เศรษฐกิจและความต้องการของผู้ใช้โครงการ

Article Details

How to Cite
ชัยสงค์ ธ., & คำสนอง ป. (2024). แนวทางออกแบบสถาปัตยกรรมและพัฒนาพื้นที่ ภายใต้บริบทการอนุรักษ์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน : โครงการแหล่งเรียนรู้และพัฒนาพื้นที่สวนสร้างสรรค์ มรดกโรงงานมักกะสัน. วารสารคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มทร.พระนคร, 3(2), 61–77. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JFAD/article/view/4177
บท
บทความวิจัย

References

กรุงเทพธุรกิจ. (2565, 9 ธันวาคม). เปิดแผน 'มักกะสัน' 4.2 หมื่นล้าน พัฒนา 140 ไร่ สร้างเกตเวย์ EEC. https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1042118

การรถไฟแห่งประเทศไทย. (2564). 111 ปี โรงงานมักกะสัน. กรุงเทพฯ : การรถไฟแห่งประเทศไทย.

การรถไฟแห่งประเทศไทย. (2567, 26 มิถุนายน). 26 มิถุนายน ครบรอบ 114 ปี “โรงงานมักกะสัน” ต้นกำเนิดแห่งความก้าวหน้าของกิจการรถไฟในปัจจุบัน. https://www. railway.co.th/NewsAnd Events/NewsdetailSRT?value1=0049613716F4864B9ED01F76DB703841020000004106B45DAA30A1C997521717D978801122B8D14D0201285542709D208A1123D767294BCA9B49F517CD57522175EA5A09&value2=0049613716F4864B9ED01F76DB70384102000000246693BE66782A7EDAA326998397BA1125764091E365107EBEAC4D33CA07013A

เกษม จันทร์แก้ว และคณะ. (ม.ป.ป.). การศึกษาวิจัยโปรงการปรับปรุงบึงมักกะสัน. https://web.ku.ac.th/nk40/kasem1.html

พีรยา บุญประสงค์. (2565). การออกแบบโครงการเพื่อการปรับเปลี่ยนการใช้สอยในอาคารเก่า = Brief for changing of use of old buildings. นครปฐม : สาละพิมพการ.

สมาคมสถาปนิกสยาม. (2566). กฎหมายใช้บ่อย 2566. พลัสเพรส. หน้า 22.

หะริน สัจเดย์. (2565, 27 มีนาคม). การเปลี่ยนผ่านเมืองยั่งยืนในบริบทสังคมไทย:Transformative Towards Sustainable City in Thai Context. งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. https://op.mahidol.ac.th/ga/posttoday-57/

Google Earth. (2567). มักกะสัน. https://earth.google.com/web/search/มักกะสัน

POST TODAY. (2567, 21 กรกฎาคม). City Design: สรุป TOD มักกะสัน EEC Gateway ต้นแบบเมืองอัจฉริยะใจกลางกรุงเทพฯ. https://www.posttoday.com/smart-city/711379

PrimeStreet ADVISORY. (2564, 16 กันยายน). โครงการงานจ้างที่ปรึกษาจัดทำแผน วิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2566 – 2570 (แผนฟื้นฟูการรถไฟแห่งประเทศไทย) แผนวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2560 – 2565 และแผนปฏิบัติการ ประจำปี 2565. https://www.railway.co.th/RailwayMiddleFile/PlanIMG/120/132890411384210865_SRTStrategic_Plan_2565 .pdf