ผลของการการจัดการเรียนรู้โดยใช้งานเป็นฐาน เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างรูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

ปนิดา สุมุลละ
วรรณธิดา ยลวิลาศ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสามารถในการปฏิบัติงานเป็นฐาน 2) เปรียบเทียบผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้งานเป็นฐานและ 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้งานเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยนี้คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/5 จำนวน 22 คน ของโรงเรียนหนองกุงศรีวิทยาคาร อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างรูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ 2) แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างรูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ 3) แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติงาน และ 4) แบบสอบถามความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้งานเป็นฐาน ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์โดยใช้สถิติหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยผลการเรียนรู้เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างรูปเรขาคณิตสองมิติและ สามมิติหลังจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการปฏิบัติงานในภาพรวมอยู่ในระดับสูง และมีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้งานเป็นฐานในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}= 3.92, S.D. = 0.45)

Article Details

How to Cite
สุมุลละ ป., & ยลวิลาศ ว. (2024). ผลของการการจัดการเรียนรู้โดยใช้งานเป็นฐาน เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างรูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 3(1), 62–72. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jeduyru/article/view/2987
บท
บทความวิจัย

References

กชพรรณ เขมเกื้อกู และ ปริญญภาษ สีทอง. (2563). การพัฒนาหลักสูตรเสริมการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 10(1), 109-122.

ทิศนา แขมมณี. (2564). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหวิทยาลัย.

นัฐพร คุ้มวงค์. (2562). การศึกษาระดับความคิดทางเรขาคณิต เรื่อง รูปเรขาคณิตสามมิติกับการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

นริศรา ธรรมนันตา และ ดวงหทัย กาศวิบูลย์. (2563). ความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในชั้นเรียนที่ใช้การเรียนรู้ที่เน้นปัญหาเป็นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา, 31(3), 81-98.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ยุพิน พิพิธกุล. (2530). การสอนคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โรงเรียนเพรักษมาตาวิทยา. (2562). การยกระดับผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนโรงเรียนเพรักษมาตาวิทยา โดยใช้กระบวนการนิเทศภายในแบบผสมผสาน (Mixed Roles) (รายงานการวิจัย). ระยอง: โรงเรียนเพรักษมาตาวิทยา.

ศุภกิตติ ช่อไสว และ ชมนาด เชื้อสุวรรณทวี. (2566). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์และพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค TAI ร่วมกับการใช้สื่อมัลติมีเดีย. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 10(4), 71-84.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2551). ทักษะ/กระบวนการทางคณิตสาสตร์. กรุงเทพฯ: ส เจริญการพิมพ์.

สิริพร ทิพย์คง. (2545). หลักสตรและการสอนคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: พัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.).

สุวภัทร แกล้วกล้า. (2554). ปัจจัยที่ส่งผลต่อปัญหาการเรียนของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 โรงเรียนวัดเมธังกราวาส (เทศรัฐราษฎร์นุกูล) จังหวัดแพร่. สารนิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Hartt, M., Hosseini, H., & Mostafapour, M. (2020). Game on: Exploring the effectiveness of game-based learning. Planning Practice & Research, 35(5), 589-604.

Guo, P., Saab, N., Post, L. S., & Admiraal, W. (2020). A review of project-based learning in higher education: Student outcomes and measures. International Journal of Educational Research, 102, 1-13.

J. Josiek1, S. Ekström & A.A.C. Sander. (2024) Impact of main-sequence mass loss on the appearance, structure and evolution of Wolf-Rayet stars (Research Reports). Astronomisches Rechen-Institut: Universität Heidelberg.

Raelin, J. (1997). A model of work-based learning. Organization Science, 8(6), 563-578.