การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียง ศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลนครนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ประจักษ์ ทรัพย์มณี สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  • มุทิตา มุสิการยกูล สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วมของประชาชน, การดูแลผู้สูงอายุ, ผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียง

บทคัดย่อ

เทศบาลนครนครราชสีมาจำเป็นต้องสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนสำหรับเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุติดเตียงที่นับเป็นปัญหาของชุมชนทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม อีกทั้งมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต การศึกษานี้จึงต้องการวิเคราะห์หาปัจจัยในการทำให้ภาคประชาชนในพื้นที่สนใจเข้ามามีส่วนร่วมด้วยจิตอาสา และได้รับการพัฒนาความรู้เรื่องการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียงเพื่อนำไปปฏิบัติได้ในระยะยาว วิธีการศึกษาได้หาความสัมพันธ์เชิงเหตุผล พบว่ามีกลุ่มปัจจัยที่สำคัญ 3 อย่าง คือ 1) การมีส่วนร่วม และภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง 2) การจัดการความรู้ และ 3) การให้บริการทางการแพทย์ ซึ่งหากใช้เพียงปัจจัยสุดท้ายจะส่งผลได้พอสมควรทั้งประสิทธิผลความพอใจที่จะมีส่วนร่วมและประสิทธิภาพการจัดการพัฒนาความรู้ ส่วนการใช้ปัจจัยแรกจะส่งผลอย่างมากต่อประสิทธิภาพในการพัฒนาความรู้ แต่ไม่มีผลกับประสิทธิผลความพอใจที่จะมีส่วนร่วม และหากใช้ปัจจัยที่สองจะส่งผลพอสมควรต่อประสิทธิภาพในการพัฒนาความรู้ แต่ไม่มีผลกับประสิทธิผลความพอใจที่จะมีส่วนร่วมเช่นกัน ผลการศึกษานี้จึงนำไปสู่ข้อเสนอแนะว่าในระยะแรกของนโยบายควรเริ่มต้นที่ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงพร้อมกับสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน และในการนำนโยบายไปปฏิบัติควรให้การสนับสนุนด้านการให้บริการทางการแพทย์ขั้นพื้นฐานตามความต้องการของชุมชน หลังจากนั้นจึงใช้นโยบายด้านจัดการความรู้เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ภายในชุมชน และการถ่ายทอดประสบการณ์กลับสู่หน่วยงาน

References

จุฑาทิพย์ งอยจันทร์ศรี และอรสา กงตาล. (2555). การพัฒนาการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องสำหรับผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านติดเตียงในชุมชนเขตเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์. ใน Graduate Research Conference 2012. มหาวิทยาลัยขอนแก่น: MMO14. ค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2558 จาก : http://gsbooks.gs.kku.ac.th/55/cdgrc13/files/mmo14.pdf

ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์. (2552). องค์การแห่งความรู้ : จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพ : โรงพิมพ์แซทโฟร์ พริ้นติง.

เทศบาลนครนครราชสีมา. กองวิชาการและแผนงาน. งานวิเคราะห์นโยบายและแผน. (2558). แผนพัฒนาเทศบาลนครนครราชสีมา พ.ศ.2558-2560. นครราชสีมา : ม.ป.พ.

ธนวรรธ ตั้งสินทรัพย์ศิริ. (2550). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพ : ธนธัชการพิมพ์.

ปิยนุช สมสมัย. (2553). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการสร้างพื้นที่สาธารณะ กรณีศึกษา ชุมชนโฟรโมสต์เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร. รายงานการค้นคว้าอิสระ หลักสูตรภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศตวรรษ ศรีพรหม, วรพจน์ พรหมสัตยพรต และดนัย ธีวันดา. (2557, มกราคม - เมษายน). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาตำบลต้นแบบด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. ว.วิชากาสถาบันการพลศึกษา. 6, 143-162.

สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโดยชุมชน/ท้องถิ่น. เอกสารประกอบการประชุมสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติครั้งที่ 19/2555, วันที่ 11ตุลาคม 2555. ค้นเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2558. จาก : http://www.nesac.go.th/web/index.php?-mod=news_detail&id=265&tb=tblnews project

สันติ หอมโชคทวี. (2554). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศการศึกษาในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2558). แผนยุทธศาสตร์การดำเนินงานระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพื่งพิง พ.ศ. 2557-2561. ค้นเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2558. จาก : http://shi.or.th/upload/DownloadA7

Bass, B. M. (1997, February). Does the Transactional-Transformational Leadership Paradigm Transcend Organizational and National Boundaries? American Psychologist. 52 (2), 130-139.

Burns, J. M. (1987) Leadership. New York : Harper & Row.

Cohen, J.M. and Uphoff, N.T. (1997) Rural Development Participation: Concepts and Measures for Project Design Implementation and Evaluation. Center for International Studies. Rural Development Committee. Monograph no.2. Ithaca : Cornell University.

Kish, L. (1965). Survey Sampling. New York : John Wiley.

Maslow, A. (1954). Motivation and Personality. New York : Harper.

Narins, P. (1994). How to Determine Appropriate Survey Sample Size. Retrieved 17 June 2015, From : https://www.msu.edu/course/aec/874/pages/IVNarins.1994.TheFinitePopulationCorrection.pdf

Nonaka, I & Hirotaka Takeuchi. (1995). The Knowledge Creating Company : How Japanese Companies Create the Dynamics of Innovation. New York : Oxford University Press.

WHO/UNICEF. (1978). Primary Health Care in Report of the International Conference on Primary Health Care. Alma-Ata, USSR. Geneva : World Health Organization.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-12-21